“ไทยพับลิกาสัมภาษณ์มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์เรื่องการศึกษาไทย” http://thaipublica.org/2014/10/prasert-thaissf-education-reform/ ตอนที่ 4

สนทนาเรื่องนักเรียนทุกวัน หลักสูตรต้องการให้นักเรียนเรียนรู้อะไร เราจะออกแบบการเรียนการสอนให้นักเรียนรู้ด้วยตนเองได้อย่างไร ที่ออกแบบและทดลองทำไปแล้ว นักเรียนได้รู้สิ่งที่ต้องจริงหรือเปล่า และนักเรียนได้เพิ่มพูนความสามารถในการเรียนรู้และการใช้ชีวิตจริงหรือไม่

“ไทยพับลิกาสัมภาษณ์มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์เรื่องการศึกษาไทย” http://thaipublica.org/2014/10/prasert-thaissf-education-reform/ ตอนที่ 3

research on project อย่าทำโครงการเปล่าๆ ทำวิจัยคู่ไป พิสูจน์ให้คนภายนอกเห็น พิสูจน์ให้คนอื่นเห็น ว่าเด็กที่อยู่กับไอที “ดี” เพราะคนกลัวเรื่องนี้กลัวเล่นเกม กลัวนั่นนี่ ซึ่งคือมันก็จริง เราไปตามร้านอาหารจะพบภาพพ่อแม่ก้มหน้าเขี่ย และเด็กมีแท็บเล็ตก็ก้มหน้าเขี่ย เราพบเด็กนิ่งๆ เพราะแท็บเล็ต เต็มไปหมด มันก็ไม่ดีหรอก

ทักษะในศตวรรษที่ 21

เด็กไทยควรกล้าตั้งข้อสงสัย ตั้งคำถาม ใฝ่เรียนรู้ สามารถเรียนรู้ได้จากทุกที่ทุกเวลา สามารถทำงานเป็นทีม มีความคิดสร้างสรรค์ และมีนวัตกรรม ในขณะเดียวกันรู้จุดหมายของชีวิต มีแรงบันดาลใจและรู้จักวางแผน

ทักษะแห่งศตวรรษที่21

การพูดออกไปและการตั้งคำถามเป็นเรื่องเสียมารยาทสำหรับเด็กไทยอย่างไม่มีข้อสงสัยและเป็นปัญหาระดับชาติ เป็นต้นเหตุที่จะฉุดรั้งและดึงคุณภาพของเด็กไทยดิ่งเหวลงไปเรื่อยๆเพราะไม่กล้าคิดอะไรเลย การไม่คิดย่อมทำให้ไม่มีทางจะมีจินตนาการตั้งแต่แรก