“ไทยพับลิกาสัมภาษณ์มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์เรื่องการศึกษาไทย” http://thaipublica.org/2014/10/prasert-thaissf-education-reform/ ตอนที่ 4

สนทนาเรื่องนักเรียนทุกวัน หลักสูตรต้องการให้นักเรียนเรียนรู้อะไร เราจะออกแบบการเรียนการสอนให้นักเรียนรู้ด้วยตนเองได้อย่างไร ที่ออกแบบและทดลองทำไปแล้ว นักเรียนได้รู้สิ่งที่ต้องจริงหรือเปล่า และนักเรียนได้เพิ่มพูนความสามารถในการเรียนรู้และการใช้ชีวิตจริงหรือไม่ ถามตนเองว่าครูยังสามารถทำอะไรให้ดีกว่าเดิมได้อีก นี่คือการพูดคุยแบบ AAR”

“เรามีประสบการณ์ในการทำงานทั้งในโรงพยาบาล โรงเรียน ในเรือนจำ ในบริษัทเอกชน ว่าทำอย่างไรให้คนคนหนึ่งซึ่งถูกครอบงานด้วยงานประจำ จนโงหัวไม่ขึ้นกลายเป็น story teller ที่ดี แล้วส่วนคนอื่นก็เป็น listener ที่ดี ขอเพียงทำ 2 อย่างนี้ได้เขาก็ถูกปลดปล่อยระดับหนึ่งแล้ว ที่จริงที่ทำมันมีความหมายเช่นนี้เองจากงานที่งานประจำแสนน่าเบื่อ”

“ของเราก็คือว่าครูไทยจำนวนมากรวมทั้งบุคลากรในราชการ ไม่เห็นคุณค่าของงานที่ตนเองทำ เพราะฉะนั้นการที่เขาได้มีโอกาสเป็น story teller ที่ดีและเป็น listener ที่ดีและผ่านกระบวนการ reflection ที่เหมาะสม สิ่งที่เกิดทันทีคือเขาจะเห็นคุณค่าของงานที่ทำ เห็นคุณค่าของตนเองก่อนที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนกระบวนทัศน์ ยกตัวอย่าง โรงพยาบาล เขาค้นพบคำตอบเองว่า การดูแลคนไข้ที่ดีไม่ได้แปลว่าทำให้คนไข้หายป่วย เพราะความจริงแล้วโรคตั้งหลายชนิดคุณไม่มีวันจะหายป่วยหรอกชาตินี้ แต่การดูแลผู้ป่วยที่ดีคือการทำให้ผู้ป่วยมีความสุขกับโรคที่มีอยู่ ซึ่งวิธีเปลี่ยน มันเปลี่ยนจากการที่เขาได้เป็น story teller ที่ดีกับ listener ที่ดี มันไม่ได้เกิดจากการมานั่งบอก นั่งสอน นั่ง training มันทำไม่ได้”

เพราะฉะนั้นครูก็เหมือนกัน ครูต้องเปลี่ยนกระบวนทัศน์ ครูตื่นเช้ามามีหน้าที่อะไรมันต้องถูกเปลี่ยนกระบวนทัศน์แล้ว ซึ่งมันเปลี่ยนด้วยการนั่งบอกก็ไม่ได้ มันต้องการกระบวนการ AAR ที่ดี ทำ PBL มาก่อน ทำดี-ไม่ดี อย่ากลัว ทำไปเถอะเดี๋ยวเรามา AAR กันมาฝึกเป็น story teller และ listener กันฝึก reflection กัน เขาก็จะกลับไปปรับปรุงตัวเอง โดยที่เราไม่ต้องบอก

ไทยพับลิก้า : หลักสูตรต้องปรับด้วยไหม

ผมก็ตอบเร็วๆ ว่าไม่จำเป็น การเปลี่ยนหลักสูตรโดยไม่เปลี่ยนกระบวนทัศน์ ค่าเท่าเดิม หลักสูตรมันคืออะไรที่ผมเข้าใจว่ามันคือ knowledge มันอยู่ในหมวด knowledge จะดีเลิศยังไง ก็แล้วไง เพราะ IT & learning skill ที่สำคัญก็คือว่า เด็กเสพแล้วไม่เชื่อ เด็กตั้งคำถาม ต่อให้ตอบได้ ก็ไม่มีความจำเป็นว่าคำตอบนั้น “ถูก” อาจจะตั้งคำถามซ้ำ learning curve ก็จะไป

ไทยพับลิก้า : กระบวนทัศน์สำคัญที่มองว่าต้องเปลี่ยน/ปลดปล่อย ครู เด็ก มันอยู่ตรงไหน

กระบวนทัศน์สำคัญที่ 1 ครูและนักเรียนเรียนรู้ด้วยกัน เพราะกระบวนทัศน์ที่มีอยู่ทุกวันนี้คือครูรู้มากกว่านักเรียน ดังนั้นนำไปสู่การที่ต้องมีหลักสูตรมีคู่มือครู เพราะว่าหลักสูตรและคู่มือครูมันอยู่กระบวนทัศน์ประเภทที่ว่าครูต้องรู้มากกว่านักเรียน แต่กระบวนทัศน์ใหม่ที่เราจะทำงานงานนี้ ครูไม่จำเป็นต้องรู้มากกว่านักเรียน ที่จริงแล้วครูนักเรียนเรียนรู้ไปด้วยกัน

ครูมีหน้าที่อื่น แต่ไม่ได้มีหน้าที่ให้ knowledge ครูมีหน้าที่เป็นผู้นำกระบวนการ (facilitator) ให้ skill ของเด็กเดินหน้า หน้าที่ครูเปลี่ยนจากการโค้ช ครูไม่จำเป็นต้องรู้มากกว่านักเรียน

กระบวนทัศน์ที่ 2 การศึกษาไม่มอบ knowledge การศึกษามุ่งพัฒนา skill

กระบวนทัศน์ที่ 3 กระบวนการหาคำตอบ สำคัญกว่าคำตอบ โลกนี้มันไม่มีอะไรเป็นคำตอบเดียวอีกแล้ว 200 ปีก่อนมันอาจเคยมี โลกนี้มีคำตอบเดียว แต่โลกนี้ที่มีไอทีเข้ามาไม่มีอะไรเป็นคำตอบเดียวอีกแล้ว แต่ว่ากระบวนการหาคำตอบต่างหากที่สำคัญกว่า เด็กไทยจะต้องถูกฝึกให้มีทักษะในการหาคำตอบ หาเสร็จก็ยังไม่เชื่ออีกต่างหาก ตั้งคำถามและหาใหม่ นี่คือ spiral เป็นการหมุนวนของการเรียนรู้ กระบวนทัศน์นี้ใหญ่มาก ที่สำคัญครูไทย การศึกษาไทย ติดอยู่ตรงมันต้องมีคำตอบ แม้กระทั่งครูที่ใช้ PBL จำนวนมาก ก็ยังคิดว่า PBL นั้นมีคำตอบ แต่เราก็พยายามทำให้เห็นว่า PBL ใดๆ มันก็ไม่มีคำตอบอยู่ดี เช่น แก้ปัญหารถติดหน้าโรงเรียนตัวเอง ก็ไม่มีคำตอบที่ถูกต้อง แก้ปัญหาร้านเกมรอบโรงเรียน ก็ไม่มีคำตอบที่ถูกต้อง วิธีรักษาความสะอาดของชายหาดก็ไม่มีคำตอบที่ถูกต้อง

หลักๆ ก็ 3 อันนี้ ใหญ่สุด ครูและนักเรียนเท่ากัน เพราะเท่ากันมันถึงจะเรียนรู้ด้วยกัน คำว่าเท่ากัน equality กระบวนทัศน์ที่ 1 เป็นความเท่ากันในเชิงอะไร คือยังไงสังคมไทยนักเรียนก็ต้องเคารพครู แต่มันเท่ากันในเชิงความเป็นมนุษย์ นี่คือกระบวนทัศน์ที่ระหว่างเราทำงานเราก็เรียนรู้ด้วยกันกับภาคีที่เราทำ เมื่อครูกับนักเรียนเท่ากัน ในแง่ความเป็นมนุษย์เขาจึงสามารถถูกปลดปล่อยพร้อมๆ กัน

กระบวนทัศน์ที่ 2 น่าจะเข้าใจง่าย คือไม่มอบ knowledge

กระบวนทัศน์ที่ 3 ยังยากอยู่ คนไทยชอบคิดว่าอะไรมันมีคำตอบเสมอ แต่ความจริงมันไม่มี แต่อยู่ที่กระบวนการหาคำตอบ มีวลีที่ผมใช้กับพวกครูเสมอว่าเราต้องพาลูกๆ เราเรียนรู้ปีศาจ มันห้ามไม่ได้แล้ว 100 ปีก่อนอาจจะห้ามไม่ให้ปีศาจโผล่ได้ แต่ตอนนี้มันห้ามไม่ได้

ไทยพับลิก้า : คนพูดถึงปฏิรูปการศึกษา คุณหมอนิยามตรงนี้ว่าอะไรดี

พูดสั้นๆ ของเราก็คือเด็กไทยต้องเรียนรู้ด้วยตนเองทุกที่ทุกเวลา แต่อย่างว่า พูดประโยคนี้ไปก็ฟังไม่ค่อยรู้เรื่อง แต่ความหมายของประโยคนี้มันถูกไง เด็กไทยควรเรียนรู้ด้วยตนเองทุกที่ทุก เรียนรู้ไม่ได้แปลว่ารู้เยอะ แปลว่าเรียนรู้ คำสั้นก็คือ เด็กไทยต้องเรียนรู้ด้วยตนเองทุกที่ทุกเวลา

ให้ผมพูดว่าปฏิรูปการศึกษาไทยความหมายคืออะไรก็ไม่ได้ แต่มีประโยคหนึ่งที่ผมชอบใช้ เราต้องถอนรากถอนโคนการศึกษาที่เป็นอยู่ คือการปฏิรูปมิใช่การเปลี่ยนอะไรเล็กๆ น้อยๆ เช่น เปลี่ยนหลักสูตร เปลี่ยนคู่มือครู แต่ต้องใช้คำนี้ ถอนรากถอนโคน เปลี่ยนอะไรทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อให้เกิด new paradigm กระบวนทัศน์ใหม่