“ไทยพับลิกาสัมภาษณ์มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์เรื่องการศึกษาไทย” http://thaipublica.org/2014/10/prasert-thaissf-education-reform/ ตอนที่ 3

research on project อย่าทำโครงการเปล่าๆ ทำวิจัยคู่ไป พิสูจน์ให้คนภายนอกเห็น พิสูจน์ให้คนอื่นเห็น ว่าเด็กที่อยู่กับไอที “ดี” เพราะคนกลัวเรื่องนี้กลัวเล่นเกม กลัวนั่นนี่ ซึ่งคือมันก็จริง เราไปตามร้านอาหารจะพบภาพพ่อแม่ก้มหน้าเขี่ย และเด็กมีแท็บเล็ตก็ก้มหน้าเขี่ย เราพบเด็กนิ่งๆ เพราะแท็บเล็ต เต็มไปหมด มันก็ไม่ดีหรอก ฝรั่งก็เป็น เมืองนอกก็เป็น มันก็ไม่ดี

ผมว่าเรามีสิทธิ์แซงโลกได้ เพราะคนก็โดนไอทีโจมตีเหมือนกันหมด เด็กทุกบ้านทั่วโลก แต่เราจะทำให้เห็นว่าเครื่องมือนี้ใช้กระตุ้นสมองได้ ผมใช้คำนี้ ถามว่ากระตุ้นทำไม เพื่อให้มีทักษะการเรียนรู้และทักษะการใช้ชีวิตที่ดี วันนี้ก็ชัดแล้วว่าทักษะการเรียนรู้แปลว่าอะไร สร้างได้อย่างเป็นขั้นเป็นตอน ไม่ใช่สักแต่พาเด็กไปทำกิจกรรมแล้วบอกเด็ก learning แล้ว หรือไม่ใช่ว่าเข้าวัดแล้วทักษะการใช้ชีวิตดี ไม่ได้แปลว่าทำอะไรดีๆ แล้ว life skill ดี ดังนั้น “life” แปลว่าอะไรก็ต้องทำให้ชัด

ไทยพับลิก้า : ผลที่ได้จากโครงการ

ทางมูลนิธิได้พิมพ์เขียวในการสร้างโรงเรียนต้นแบบที่ค่อนข้างครบถ้วน ถ้าโรงเรียน X ของประเทศไทยอยากเป็นโรงเรียน 21st century skill ก็กรุณาทำตามพิมพ์เขียวต่อไปนี้ เริ่มตั้งแต่โครงสร้างโรงเรียน กระบวนการเรียนการสอน วิธีประเมินผล… นี่คือ output

ส่วน outcome ที่สำคัญก็คือบุคลากรของโรงเรียนที่ร่วมโครงการ รวมทั้งผู้บริหาร จากที่สังเกตเปลี่ยนไปมาก แต่ถามว่าพิสูจน์ได้อย่างไร by story ซึ่งตรงนี้ ผมก็ยอมรับว่าเป็นจุดอ่อน เพราะ by story พิสูจน์ให้คนภายนอกฟังยาก แต่เราก็ยังไม่พร้อมที่จะพิสูจน์ด้วยวิธีอื่น แต่เราพบว่าโลกทัศน์ของครูและผู้บริหารเปลี่ยน ว่าการศึกษาที่แท้คือแบบนี้ไม่ใช่แบบนั้น อันนี้คือ output outcome สำคัญมากของโรงเรียนต้นแบบ

ด้าน outcome นักเรียน ชัดเจนมาก เด็กเลวทุกคนในโรงเรียนเหล่านี้กลายเป็นเด็กดีหมด เพราะเขาถูกปลดปล่อย เขาไม่ต้องนั่งท่องหนังสือ เพราะ PBL ที่ดี ทำให้เด็กทุกคนชื่นใจโดยธรรมชาติอยู่แล้ว ทำให้ self & self esteem มันกลับมา เราก็ได้องค์ความรู้ที่ได้ self esteem มากขึ้นด้วยว่ามันแปลว่าอะไร self & self esteem ของเด็กแย่ๆ ทั้งพฤติกรรมหนีเรียน ยาเสพติด และแย่ทั้งผลการเรียน ติด 0 ตลอด พวกนี้ดีขึ้นหมด ส่วนพวกเด็กเก่ง จากโครงการที่ทำ มุมเก่งเราอาจจะไม่เห็นเชิงนี้ แต่เราเห็นเชิงทักษะการใช้ชีวิตดีขึ้น การที่ไม่ได้มุ่งแต่ท่องหนังสือ ปรับเวลาได้ มีเพื่อน ทำงานเป็นทีม

ทักษะการใช้ชีวิตเหล่านี้มันสามารถบูรณาการลงไปในการเรียนรู้ประจำวันได้ ใน daily life learning by IT นี้ได้ มันเป็นอย่างที่เราชอบบ่นกัน ว่าเด็กไทยแยกวิชากับชีวิตออกจากกัน แต่ด้วยไอทีที่ดีเราจะรวมวิชากับชีวิตรวมให้ดูและไม่ใช่แค่ชีวิตเดียว แต่ได้ civil society ด้วย การเคารพซึ่งกันและการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ การยอมรับความแตกต่างทางความคิด ชาติพันธุ์ ฐานะ ศาสนา มันถูกบูรณาการในการเรียนรู้ ใน daily life ของการเรียนการสอน

“โรงเรียนต้นแบบไม่ได้มีเฉพาะโรงเรียน แต่มีผู้ปกครอง ศึกษานิเทศก์ เข้ามาด้วย มีคำพูดของหลายคนบอก ถ้าลูกเขาเรียนแบบนี้ลูกเขาเรียนจบ หรือคำพูดของคุณครูคนหนึ่งที่ใกล้เกษียณ บอกว่าเขาเพิ่งรู้ว่าเป็นครูแท้ๆ ปีนี้เอง แรงมากเลย เราเปลี่ยนโลกทัศน์โรงเรียนนำร่องนี้ใหม่หมด สำเร็จ และก็ต้องใช้คำนั้น เราก็อยากเปลี่ยนอีก 9,000 โรงเรียนที่เหลือ นี่ก็เป็นความตั้งใจ ซึ่งเราก็เน้นที่โรงเรียนของกระทรวงศึกษาธิการเป็นหลัก ซึ่งคุมเด็กไทยเป็นส่วนใหญ่ แต่เรามีโรงเรียนทางเลือกมาเป็นภาคีด้วย”

นี่ก็เป็น output outcome ที่สำคัญของโรงเรียนต้นแบบ

ส่วนการประเมินคุณภาพ ซึ่งการประเมินโรงเรียนมีข้อหนึ่งที่ผมก็ยอมรับว่าได้แต่ฝัน แต่ยังนึกภาพไม่ออก เพราะไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญด้านไอที คือประเด็นปัญหาก็ชัดเจน การประเมินเป็นภาระ ครูต้องเสียเวลานั่งเขียนเอกสารเพื่อรอผู้ประเมินมาตรวจ แต่คราวนี้ผมเชื่อว่าทฤษฎีของไอที คนเราเวลาทำงานหลักฐานควรปรากฏ ผมคิดว่าควรเป็นเช่นนั้น ผมอยู่กระทรวงสาธารณสุขผมก็มีปัญหา ทำงานเหนื่อยจะตาย ตอนเย็นจะต้องเขียนผลงานเพื่อรอคนมาตรวจ ผมก็สงสัยว่าไอทีมันมีไว้ทำไม แต่ความจริงผมก็จะเดาว่า ถ้าระบบไอทีมันดีจริง พอผมทำงานเสร็จ หลักฐานก็ปรากฏ ไม่ว่าจะเป็นหลักฐานเชิงปริมาณหรือคุณภาพก็ปรากฏ เราไม่ควรมานั่งสร้างหลักฐานซ้ำซ้อน เพื่อรอผู้ตรวจ ผมเลยคิดว่าถ้าเรามีผู้เชี่ยวชาญไอที ตัวจริงมาช่วยวางระบบพวกนี้ตั้งแต่แรกๆ คือผมว่ามันต้องวางไปพร้อมกันตอนเริ่มปฏิรูปการศึกษาเพื่อทำให้เห็นว่า ครูก็ทำหน้าที่ อย่าทิ้งเด็ก ขอให้ทำเถอะหลักฐานมันจะปรากฏ ปรากฏขึ้นในระบบไอทีเอง

ดังนั้นผมคิดว่าถ้าเราปลดปล่อยครูกับนักเรียนสำเร็จเขาก็เรียนรู้แล้วล่ะ แต่แน่นอนเราต้องยอมรับ มันมีการแข่งขันในโลกสมัยใหม่ ถ้าเราปล่อยให้เรียนรู้ตามธรรมชาติ อาจจะไม่ทันกิน มันต้องมี intervention ที่ทำให้ learning curve มันไปเร็วกว่าปกติ

ไทยพับลิก้า : วัฒนธรรมโรงเรียน มันน่ากลัวมาก

ใช่ ผมอยู่บ้านนอกมา 30 ปี น่ากลัวมาก

ไทยพับลิก้า : เรื่องนี้เป็นปัญหาใหญ่ มันเหมือนกับวัฒนธรรมองค์กร ต่อให้เราพยายาม เดี๋ยวมันก็โดนเตะกลับมาจุดเดิมก็ต้องไปลากกันมาใหม่

ผมเข้าใจ ผมเป็นข้าราชการ ผมก็จะรู้อยู่ว่าน่ากลัวมาก ระบบที่เป็นอยู่ เขาสกัดคุณได้ทุกวิถีทางอย่างแนบเนียน และเขาก็หลอกตัวเองด้วยว่าทำสิ่งที่ดีอยู่แล้ว ผมเข้าใจ แต่ต้องเข้าใจเรื่องพวกนี้ว่า “เด็กเป็นเดิมพัน” มันจะไม่มีปัญหา ถ้าไม่มีเครื่องมือไอทีพวกนี้มนุษย์ไม่มีวันหยุด ไม่ยอมหยุดและจะไม่มีวันหยุดแน่ๆ เราทำนายโลก 50 ปีข้างหน้า ผมว่ายากมากนะ

ขณะนี้มูลนิธิฯ ชัดว่า ทักษะในศตวรรษที่ 21 แปลว่าอะไร และหน้าตามันเป็นอย่างไร แล้วทักษะ 3 ข้อของทักษะศตวรรษที่ 21 ไม่ว่าจะเป็นทักษะการเรียนรู้ (learning skill) ทักษะการใช้ชีวิต (life skill) ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (IT skill) หน้าตาเป็นอย่างไร แปลว่าอะไร มี step by step อย่างไรในการสร้าง ซึ่งเรารู้ว่าตัวแปรใหม่ก็คือเรื่องนี้ เพราะฉะนั้นเราก็จะไม่เพิกเฉยตัวแปรใหม่