สุขภาวะทางจิตวิญญาณ (4)
มีข้อมูลที่เน้นมิติด้านความคิด นั่นคือ เป็นข้อมูลที่สัมพันธ์กับ “จิตวิญญาณ” ในฐานะของภาวะอันประกอบด้วยความตระหนักรู้ในความมีความหมายบางอย่าง แต่ข้อมูลดังกล่าวปรากฏในลักษณะของการบรรยายความหมายหรือระบบความคิด
มีข้อมูลที่เน้นมิติด้านความคิด นั่นคือ เป็นข้อมูลที่สัมพันธ์กับ “จิตวิญญาณ” ในฐานะของภาวะอันประกอบด้วยความตระหนักรู้ในความมีความหมายบางอย่าง แต่ข้อมูลดังกล่าวปรากฏในลักษณะของการบรรยายความหมายหรือระบบความคิด
“จิตวิญญาณ” ในความหมายที่สองที่มีต่อ “จิตวิญญาณ” ในความหมายแรกก็คือ สำหรับจิตวิญญาณในฐานะสมรรถนะพิเศษนอกเหนือไปจากความคิดและความรู้สึกนั้น ดูเหมือนจะมีพลังก่อให้เกิดความสุขความสงบขึ้นได้
กล่าวได้ว่าการประสานงานที่เหมาะเจาะของความคิดและความรู้สึกนี้ก่อให้เกิดผลในระดับอัตถิภาวะ (existential) นั่นคือ บุคคลมิได้เห็นเพียงความหมาย (meaning) ซึ่งเป็นเรื่องของความคิดเท่านั้น แต่ยังเห็นความมีความหมาย (meaningful) อันปรากฏในลักษณะของความซาบซึ้งในความหมายบางอย่าง
การแบ่งประเภทสุขภาวะตามการวิเคราะห์ข้างต้น หากนำมาประยุกต์ใช้กับเรื่อง “สุขภาวะทางจิตวิญญาณ” จะได้ผลอย่างไร คำถามประการแรกที่มีคือ “อะไรคือสมรรถนะที่นำสู่ภาวะนี้” ในกรณีของสุขภาวะทางจิต สุขภาวะทางกาย และแม้กระทั่งสุขภาวะทางสังคมนั้น คำถามดังกล่าวไม่ปรากฏ
ถ้าไม่คิดว่าจะนำศาสนามาช่วยตอบปัญหาว่าอะไรคือ “สมรรถนะ” หรือ “อินทรีย์” พิเศษที่นอกเหนือไปจากด้านกาย ด้านความคิด และด้านความรู้สึก เราก็อาจถือว่า “จิตวิญญาณ” เป็นภาวะที่เป็นผลจากการทำงานร่วมกันของด้านความคิดและความรู้สึก
ถ้ายึดกรอบการทำงานที่แยกระหว่าง “ภาวะ” และ “สมรรถนะ” เราจะทำความเข้าใจ “จิตวิญญาณ” อย่างไรดี บนเงื่อนไขที่ว่า “จิตวิญญาณ” เป็น “องค์รวม” หรืออีกนัยหนึ่ง ถ้าจิตวิญญาณเป็นทั้งภาวะและสมรรถนะ เราจะทำความเข้าใจอย่างไร ความเป็นองค์รวมนั้นอธิบายความเป็นภาวะได้