สุขภาวะทางจิตวิญญาณ (10)

การจินตนาการในสถานการณนี้ช่วยให้เห็นจุดร่วมและเชื่อมโยงสู่อีกวิธีการหนึ่งที่ได้ผลดีในการประสานความคิดและความรู้สึกเพื่อสร้างความมีความหมาย นั่นคือ การฟังเรื่องเล่าและการเล่าเรื่อง

สุขภาวะทางจิตวิญญาณ (9)

มีข้อสังเกตว่าในกรณีของบทบาทหน้าที่ ลักษณะการเข้าถึงอาจจะอยู่ในรูปของการประเมินสถานการณ์ โดยอาศัยมาตรฐานของบทบาทหน้าที่ที่เห็นว่ามีลักษณะตรงกับอุดมการณ์ ดังตัวอย่างข้างต้น แต่บางครั้งก็อยู่ในลักษณะการไต่ถามบทบาทหน้าที่ เนื่องจากเห็นว่าไม่ตรงกับสิ่งที่เชื่อว่าเป็นแก่นหรืออุดมการณ์

สุขภาวะทางจิตวิญญาณ (8)

ดังนั้น แม้พิจารณา “จิตวิญญาณ” ในฐานะความตระหนักในความมีความหมายนั้นต้องอาศัยการประสานงานระหว่างความคิดและความรู้สึก แต่ก็ดูเหมือนว่าความคิดจะได้รับบทบาทหลัก ในยามที่คนพยายามหาวิธีการเพื่อบรรลุสู่ความตระหนักนี้

สุขภาวะทางจิตวิญญาณ (7)

อย่างไรก็ตาม การวิเคราะห์น่าจะมุ่งหาวิธีการที่บุคคลกระทำต่อตนเองหรือผู้อื่นในอันที่จะสร้างความมีความหมายให้เกิดขึ้นมา เพื่อที่จะเรียนรู้เกี่ยวกับปัจจัยที่ควบคุมได้ อันจะเป็นประโยชน์ต่อการนำไปประยุกต์ใช้ต่อไป

สุขภาวะทางจิตวิญญาณ (6)

ข้อสังเกตอีกประการก็คือจะเห็นว่าหลายสิ่งที่มากระทบนั้นส่งผลทางความรู้สึกเป็นสำคัญ อย่างไรก็ตาม ความรู้สึกที่เกิดขึ้นนี้ แม้จะดูว่ามีความสำคัญมาก แต่ในที่สุดแล้วก็มีหน้าที่สนับสนุนสิ่งที่จัดอยู่ในฝั่งความคิดบางอย่างที่มีอยู่ก่อน เช่น ความเข้าใจเกี่ยวกับเป้าหมายวิชาชีพ หลังจากนี้จะพิจารณาประเด็นนี้อีกครั้ง

สุขภาวะทางจิตวิญญาณ (5)

ความตระหนักนี้อาจไม่ได้แสดงมาเป็นความตระหนักโดยตรง แต่อาจสะท้อนมาในรูปแบบที่แตกต่างกัน บางคนอาจจะเป็นทุกข์ทุรนทุรายเนื่องจากโลกที่มีความหมายของเขาถูกสั่นคลอน บางคนอาจจะพยายามให้ความหมายแก่สิ่งแปลกแยกนั้นโดยอาศัยพื้นฐานความหมายของโลกเดิม

1 14 15 16 17 18 19