สุขภาวะทางจิตวิญญาณ (4)

มีข้อมูลที่เน้นมิติด้านความคิด นั่นคือ เป็นข้อมูลที่สัมพันธ์กับ “จิตวิญญาณ” ในฐานะของภาวะอันประกอบด้วยความตระหนักรู้ในความมีความหมายบางอย่าง แต่ข้อมูลดังกล่าวปรากฏในลักษณะของการบรรยายความหมายหรือระบบความคิด

สุขภาวะทางจิตวิญญาณ (3)

“จิตวิญญาณ” ในความหมายที่สองที่มีต่อ “จิตวิญญาณ” ในความหมายแรกก็คือ สำหรับจิตวิญญาณในฐานะสมรรถนะพิเศษนอกเหนือไปจากความคิดและความรู้สึกนั้น ดูเหมือนจะมีพลังก่อให้เกิดความสุขความสงบขึ้นได้

สุขภาวะทางจิตวิญญาณ (2)

กล่าวได้ว่าการประสานงานที่เหมาะเจาะของความคิดและความรู้สึกนี้ก่อให้เกิดผลในระดับอัตถิภาวะ (existential) นั่นคือ บุคคลมิได้เห็นเพียงความหมาย (meaning) ซึ่งเป็นเรื่องของความคิดเท่านั้น แต่ยังเห็นความมีความหมาย (meaningful) อันปรากฏในลักษณะของความซาบซึ้งในความหมายบางอย่าง

สุขภาวะทางจิตวิญญาณ (1)

การแบ่งประเภทสุขภาวะตามการวิเคราะห์ข้างต้น หากนำมาประยุกต์ใช้กับเรื่อง “สุขภาวะทางจิตวิญญาณ” จะได้ผลอย่างไร คำถามประการแรกที่มีคือ “อะไรคือสมรรถนะที่นำสู่ภาวะนี้” ในกรณีของสุขภาวะทางจิต สุขภาวะทางกาย และแม้กระทั่งสุขภาวะทางสังคมนั้น คำถามดังกล่าวไม่ปรากฏ

ข้อพิจารณาเกี่ยวกับนิยามสุขภาวะด้านจิตวิญญาณ (4)

ถ้าไม่คิดว่าจะนำศาสนามาช่วยตอบปัญหาว่าอะไรคือ “สมรรถนะ” หรือ “อินทรีย์” พิเศษที่นอกเหนือไปจากด้านกาย ด้านความคิด และด้านความรู้สึก เราก็อาจถือว่า “จิตวิญญาณ” เป็นภาวะที่เป็นผลจากการทำงานร่วมกันของด้านความคิดและความรู้สึก

ข้อพิจารณาเกี่ยวกับนิยามสุขภาวะด้านจิตวิญญาณ (3)

ถ้ายึดกรอบการทำงานที่แยกระหว่าง “ภาวะ” และ “สมรรถนะ” เราจะทำความเข้าใจ “จิตวิญญาณ” อย่างไรดี บนเงื่อนไขที่ว่า “จิตวิญญาณ” เป็น “องค์รวม” หรืออีกนัยหนึ่ง ถ้าจิตวิญญาณเป็นทั้งภาวะและสมรรถนะ เราจะทำความเข้าใจอย่างไร ความเป็นองค์รวมนั้นอธิบายความเป็นภาวะได้

1 15 16 17 18 19