ข้อคิดเห็นเรื่องกฎหมายกับการปฏิสนธิเทียมและการคัดเลือกทางพันธุกรรม

สูติแพทย์จะให้ความเห็นได้มากกว่า ด้วยเหตุผลหลายอย่างคือ มีความรู้ในด้านนี้ มีประสบการณ์เพราะเจอคนไข้ในเรื่องนี้มาก และสูติแพทย์เองก็อาจจะมีความกังวลอยู่ลึกๆ ว่า กลัวจะมีคนมาออกกฎหมายบังคับการกระทำของสูติแพทย์

อุ้มบุญ (56) การประชุมรับฟังข้อคิดเห็นเรื่องกฎหมายกับการปฏิสนธิเทียมและการคัดเลือกทางพันธุกรรม ตอนที่ 11

ประเด็นต่อไป เป็นกรณี หญิงรักหญิง ชายรักชาย ที่อยากจะมีลูก เห็นว่าขณะนี้สังคมไทยไม่พร้อมเนื่องจากยังมีความเข้าใจผิดติดค้างในสังคมเยอะ ว่าการที่เป็นคนรักเพศเดียวกันนั้นเป็นโรค เพราะฉะนั้นโอกาสที่เด็กมีชีวิตอยู่ในสังคมแบบนี้จะได้รับการเลือกปฏิบัติ จึงยังไม่ควรต้องเสี่ยงให้เด็กต้องมาเจอกับการเลือกปฏิบัติ

อุ้มบุญ(48) การประชุมรับฟังข้อคิดเห็นเรื่องกฎหมายกับการปฏิสนธิเทียมและการคัดเลือกทางพันธุกรรม ตอนที่ 3

แม้ว่าส่วนใหญ่ ที่ประชุมเห็นว่าตัวอ่อนเป็นทรัพย์สิน แต่เป็นทรัพย์สินที่สามารถพัฒนาเป็นชีวิตได้แต่ยังไม่เสนอคำจำกัดความที่ชัดเจนว่า ทรัพย์สินที่สามารถพัฒนาเป็นชีวิตได้มีความหมายอย่างไร แต่ควรจะมีข้อกำหนดเฉพาะในเรื่องทรัพย์สินที่สามารถพัฒนาเป็นชีวิตได้แตกต่างกับข้อกำหนดเรื่องทรัพย์สินทั่วไปด้วย

อุ้มบุญ (25) ข้อพิจารณาและผลกระทบทางการวิจัยทางการแพทย์และเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ (ต่อ)

ตรวจวินิจฉัยป้องกันทารกไม่ให้เกิดมาพร้อมกับโรคทางพันธุกรรม ในทางปฏิบัติแพทย์จะเลือกนำตัวอ่อนเฉพาะที่ตรวจไม่พบโรคทางพันธุกรรมนั้นๆ ใส่กลับเข้าไปในร่างกาย และด้วยวิธีดังกล่าวยังสามารถใช้ในการตรวจคัดเลือกเพศของตัวอ่อนได้ไปพร้อมกัน

อุ้มบุญ (2) กฎหมายชีวจริยธรรม (ต่อ)

การตั้งครรภ์แทน ควรจะอนุญาตให้มีการตั้งครรภ์แทนได้ แต่ห้ามให้กระทำเชิงพาณิชย์ โดยต้องกำหนดคุณสมบัติของผู้ที่มีสิทธิให้เข้ารับบริการ ต้องกำหนดคุณสมบัติของผู้ที่จะมาตั้งครรภ์แทน ซึ่งส่วนใหญ่เห็นว่าควรจะเป็นญาติสนิท รวมถึงจะต้องมีการให้ความรู้กับผู้ที่มารับตั้งครรภ์แทนด้วยว่าจะเกิดผล