การสร้างเครื่องมือประเมินและตัวชี้วัดระดับการพัฒนาจิตวิญญาณ สำหรับบุคลากรด้านสาธารณสุข (11)

ข้อมูลจะถูกลดความสำคัญลงมาสู่ระดับที่เป็นเพียงสิ่งที่นักวิจัยกำหนดเอาไว้ก่อนเท่านั้น ดังจะเห็นได้ในกระบวนการตรวจสอบความถูกต้องแม่นตรงของมโนทัศน์และทฤษฏีที่สร้างขึ้น ซึ่งนักวิจัยกำหนดเอาเฉพาะข้อมูลที่เข้าข่ายในการตรวจสอบเท่านั้น การวิจัยเหล่านี้ยึดแนวทางวัตถุวิสัย (objectivist) ในการวิเคราะห์ ซึ่งต่างจากวิธีการเชิงคุณภาพขนานแท้ที่มีได้เคร่งครัดในเรื่องนี้มากนัก

3) จุดอิ่มตัวในเชิงข้อมูลและทฤษฎีไม่ได้เกิดขึ้นง่าย ๆ ทำให้การวิจัยด้วยวิธีวิทยาการสร้างทฤษฎีจากข้อมูลเป็นสิ่งที่ยาก

อย่างไรก็ตาม ต้องยอมรับว่าวิธีการแบบสร้างทฤษฎีจากข้อมูลนี้ได้ให้อะไรใหม่ ๆ แก่วงการวิจัยเชิงคุณภาพพอสมควร สิ่งสำคัญที่วิธีการวิจัยแบบนี้ให้คือการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพที่ทำไปพร้อม ๆ กับการรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีที่ค่อนข้างเป็นมาตรฐานและเข้มงวด เมื่อเปรียบเทียบกับวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพอื่น ๆ

6. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเครื่องมือประเมินและตัวชี้วัดระดับการพัฒนาจิตวิญญาณ แบ่งออกเป็น งานวิจัยภายในประเทศและงานวิจัยต่างประเทศ

งานวิจัยในประเทศ

บุบผา ชอบใช้ (2543) ทำการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับความสามารถทางการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยในมิติจิตวิญญาณ เพื่ออธิบายสถานการณ์พยาบาลในมิติจิตวิญญาณความสามารถทางการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยในสถานการณ์ต่าง ๆ และความคิดเห็นของแพทย์ และญาติผู้ป่วยในการดูแลผู้ป่วยมิติจิตวิญญาณในหอผู้ป่วยอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ผู้ให้ข้อมูลหลักเป็นพยาบาลจำนวน 20 คน หัวหน้าหอผู้ป่วยจำนวน 9 คน ผู้ป่วยจำนวน 9 คน ญาติผู้ป่วยจำนวน 3 คน และแพทย์จำนวน 3 คน รวบรวมข้อมูลโดย การสังเกตแบบมีส่วนร่วมในฐานะผู้สังเกต การสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูล ผลการวิจัย พบว่า ในด้านสถานการณ์พยาบาลในมิติจิตวิญญาณในหอผู้ป่วย ผู้ป่วยทุกรายมีโอกาสเกิดภาวะวิกฤตทางจิตวิญญาณได้ตลอดเวลา ลักษณะการปฏิบัติงานมักให้ความสำคัญกับปัญหาทางด้านร่างกายก่อน ส่วนการพยาบาลด้านจิตวิญญาณจะกระทำต่อเมื่อพบว่ามีปัญหาหรือได้แก้ไปปัญหาทางด้านร่างกายแล้ว สำหรับด้านความสามารถทางการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยในสถานการณ์ต่าง ๆ พยาบาลให้ความสำคัญในการประเมินความต้องการปฏิบัติศาสนกิจขณะอยู่โรงพยาบาลของผู้ป่วยน้อยมาก แต่ส่วนใหญ่ยังคงต้องการปฏิบัติศาสนกิจเหมือนอยู่ที่บ้านเพราะทำให้จิตใจสงบ มีความหวังและกล้าที่จะเผชิญกับเหตุการณ์ต่าง ๆ ในการดูแลผู้ป่วยก่อนผ่าตัด พบว่า พยาบาลยังมีความสามารถไม่เพียงพอในการส่งเสริมให้ผู้ป่วยเผชิญกับความกลัวโดยใช้กลวิธีทางจิตวิญญาณ สำหรับการดูแลผู้ป่วยหนัก พบว่า พยาบาลสามารถตอบสนองความต้องการทางจิตวิญญาณได้โดยใช้บุคคลในครอบครัว แต่ส่วนใหญ่ยังมีความสามารถไม่เพียงพอใน การตอบสนองความเชื่อและความคาดหวังในชีวิตหลังความตายของผู้ป่วย และส่วนในด้าน ความคิดเห็นของญาติผู้ป่วยและแพทย์ต่อการดูแลและแก้ปัญหาทางด้านร่างกายได้เป็นอย่างดี ส่วนด้านจิตวิญญาณ ญาติทำหน้าที่นี้มากกว่าพยาบาล แพทย์มีความเห็นว่า แม้พยาบาลจะดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมง แต่พบว่าพยาบาลแสดงออกถึงความเข้าใจในความต้องการในมิติจิตวิญญาณในระดับที่แตกต่างกันออกไป

วัลภา คุณทรงเกียรติ (2547) ทำการศึกษาเรื่อง สุขภาพจิตวิญญาณของคนไทย เพื่อทำความเข้าใจประสบการณ์ชีวิตที่เกี่ยวกับสุขภาพจิตวิญญาณตามการรับรู้ของคนไทย โดยการวิจัยเชิงคุณภาพแบบปรากฏการณ์วิทยานิยมของไฮเดกเกอร์ สัมภาษณ์เจาะลึกกับผู้ให้ข้อมูลเป็นประชาชนในจังหวัดเชียงใหม่จำนวน 19 คน จากการศึกษาพบว่า สุขภาพจิตวิญญาณตามการรับรู้ของคนไทย แบ่งออกเป็น 3 ประเด็นหลัก ประเด็นที่ 1 คือ มีสิ่งยึดเหนี่ยวในชีวิต การมีนี้ทำให้มีความสุข สงบ และปลอดภัยในชีวิต ซึ่งหมายถึงมีสิ่งยึดเหนี่ยวที่มีความหมายเกี่ยวข้องกับศาสนา พลังอำนาจที่เหนือธรรมชาติ และบุคคล สิ่งที่ยึดเหนี่ยวประกอบด้วย การมีความยึดมั่นในศาสนา การมีความเชื่อในพลังอำนาจที่เหนือธรรมชาติ การมีสัมพันธภาพกับบุคคล การมีความยึดมั่นในศาสนาแสดงออกด้วยการมีความศรัทธาต่อศาสนา การนำหลักทางศาสนามาเป็นสิ่งชี้นำชีวิต และมีการปฏิบัติกิจกรรมศาสนา การมีความเชื่อในพลังอำนาจที่เหนือธรรมชาติแสดงออกด้วยการมีความเชื่อและบูชาต่อสิ่งเหนือธรรมชาติ ส่วนการมีสัมพันธภาพกับบุคคลนั้นสะท้อนให้เห็นการมีความรู้สึกผูกพันกับครอบครัว มีสัมพันธภาพกับเพื่อน และมีความศรัทธาต่อบุคคลที่เคารพนับถือ ประเด็นที่ 2 คือ มีความสุขในชีวิต ซึ่งหมายถึงความรู้สึกอิ่มเอมใจในชีวิตส่วนตัว ชีวิตครอบครัว และชีวิตทางสังคม ขณะที่การมีชีวิตที่มีความหมาย เกิดจากการมีคุณค่าในตนเอง และมีความภาคภูมิใจในตนเอง ประเด็นที่ 3 คือ มีพลังที่จะมีชีวิตอยู่ ซึ่งหมายถึงมีพลังทางบวกที่ทำให้คนสามารถที่จะดำรง และดำเนินชีวิตต่อไปได้ พลังนี้เป็นผลจากการมีความต้องการที่จะมีชีวิตอยู่ และมีความสามารถใน การจัดการกับปัญหาในชีวิต ความต้องการที่จะมีชีวิตอยู่ แสดงให้เห็นได้จากการมีกำลังใจ มีความเข้มแข็งภายในตนเอง มีความหวัง และมีการวางแผนในอนาคต ส่วนความสามารถในการจัดการปัญหาในชีวิตแสดงออกโดยการสามารถเผชิญปัญหาและปรับเปลี่ยนชีวิตและวิถีชีวิตเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้

นิภัสสรณ์ บุญยาสันติ (2548) ได้ทำการสร้างเครื่องมือเพื่อวัดความต้องการด้านจิตวิญญาณของผู้ป่วยหลังผ่าตัดหัวใจแบบเปิดระหว่างรับการรักษาพยาบาลในหอผู้ป่วยวิกฤต โดยใช้เครื่องมือวัดมิติด้านจิตวิญญาณจำนวน 40 ข้อ ที่สร้างขึ้นตามกรอบแนวคิดการดูแลผู้ป่วยแบบองค์รวม ทำการศึกษากับผู้ป่วยผ่าตัดหัวใจแบบเปิดจำนวน 200 คน จากผลการศึกษาได้การสกัดองค์ประกอบมีข้อคำถามที่มี factor loading มากว่า 0.40 จำนวน 37 ข้อ โดยแบ่งเป็น 4 ด้าน คือ ด้านพิธีกรรม (มีจำนวน 13 ข้อ α = .91) ด้านพลังใจ (มีจำนวน 7 ข้อ α = .78) ด้านความศรัทธา (มีจำนวน 11 ข้อ α = 0.87) และด้านการยอมรับการรักษาพยาบาล (มีจำนวน 6 ข้อ α = 0.81) และพบว่าผู้ป่วยมีความต้องการการตอบสนองด้านพลังใจสูงที่สุด รองลงมาคือ ความต้องการด้านการยอมรับการรักษาพยาบาล ด้านความศรัทธา และด้านพิธีกรรมตามลำดับ

งานวิจัยต่างประเทศ

Idler et.al (2003) have used the “NIA/Fetzer Short Form for the Measurement of Religiousness and Spirituality” for their investigations. This form measures a multidimensional concept of spirituality and allows investigation of multiple possible mechanisms of effect, brief enough to be included in clinical or epidemiological surveys, inclusive of both traditional religiousness and noninstitutionally based spirituality

Traphagan, (2005) explores the difficulties that arise when culture is factored into the attempt to develop methods for both describing, and measuring religiousness or spirituality, as variables that effectively can be employed in health research. The author uses a report titled Multidimensional Measurement of Religiousness/ Spirituality for Use in Health Research published by the John E. Fetzer Institute to raise questions about the extent to which basic ideas associated with the study of Judeo-Christian religions are meaningful in contexts such as Japan, India, or China.

Betina et al. (2009) conducted two longitudinal studies (Study 1, n = 418 breast cancer patients; Study 2, n = 165 cancer survivors). The authors examined 2 components of spiritual well-being (i.e., meaning/peace and faith) and their interaction, as well as change scores on those variables, as predictors of psychological adjustment. Both studies revealed significant interactions between meaning/peace and faith in predicting adjustment. Findings suggest that the ability to find meaning and peace in life is the more influential contributor to favorable adjustment during cancer survivorship, although faith appears to be uniquely related to perceived cancer-related growth

Chamec-Case and Sherr (2006) conducted a qualitative study to exploring how the sample of 152 social work administrators integrates spirituality in the workplace. Their research provides evidence to support that the social workers use spirituality at work- in a number of different ways. This also results in feelings of satisfaction and commitment in the workers