Telangana กับการศึกษาเรื่องเพศ

Telangana กลายเป็นรัฐแรกในอินเดียที่บังคับให้มีการศึกษาเรื่องเพศที่ไม่ซ้ำแบบแผนเดิมในระดับบัณฑิตศึกษา โดยเนื้อหาของการศึกษาเรื่องเพศนี้สอดคล้องกับหนังสือเรียนเล่มใหม่ที่ชื่อว่า “สู่โลกแห่งความเสมอภาค” (Towards a world of equals) หนังสือเล่มนี้เป็นโครงการนำร่องในสาขาวิศวกรรมที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี Jawaharlal Nehru Technological University (JNTU-Hyderabad) กล่าวถึงเรื่องเพศในรูปแบบผสมผสานโดยไม่จำกัดบรรทัดฐาน และไม่รุกรานสตรี หนังสือพยายามต่อสู้กับปัญหาเรื่องเพศและการทำงานของสตรีในด้านการเมืองและเศรษฐศาสตร์ และยังเน้นเรื่องราวประวัติศาสตร์ที่มีผู้หญิงที่เป็นศูนย์กลาง ความสัมพันธ์ระหว่างชายกับหญิง

ภาพยนตร์ที่สำรวจความเยาว์วัยและข้ามเพศในประเทศจีน โดยนักศึกษา

“นักเรียนวัย 18 ปีคนหนึ่ง เดินเล่นยามค่ำคืนในชุดกระโปรง ส้นสูง และเครื่องสำอาง ชายแปลกหน้าเดินชนเธอและเอ่ย “ขอโทษครับคุณผู้หญิง” ก่อนเดินจากไป นักเรียนคนนั้นหันหลังจ้องมองชายแปลกหน้าไปจนลับตา เธอรู้สึกยินดีอย่างที่สุดที่เขามองเธอเป็นผู้หญิง”
นั่นคือตอนหนึ่งจาก “Escape” ผลงานภาพยนตร์เรื่องใหม่ของทีมนักเรียนมัธยมปลายในปักกิ่ง

คุยกับ Olivia Dickinson เรื่องความเท่าเทียมทางเพศ

ไม่กี่ปีที่ผ่านมาเมื่อผู้คนติดอยู่ในกำแพงของการกำหนดให้ส้นสูงและของเล่นสีชมพูเป็นของขวัญสำหรับเด็กผู้หญิง ส่วนเกมและของเล่นวิทยาศาสตร์เป็นของเล่นสำหรับเด็กผู้ชาย Olivia Dickinson ที่ปรึกษาทางด้านดิจิตอลในกรุงลอนดอนจึงตัดสินใจที่จะผลักดันการต่อต้านแบบแผนเหมารวมเหล่านี้ที่จำกัดเด็กๆ อยู่ จนกระทั่งปี 2012 เกิดเป็นแคมเปญ “Let Toys Be Toys” ที่ใช้สื่อทางสังคมชักชวนให้ร้านค้าขายสินค้าที่เปิดกว้าง โดยการยกเลิกการติดฉลาก “สำหรับเด็กผู้ชาย” หรือ “สำหรับเด็กผู้หญิง” ต่อมาในปี 2014 ทีมของ Dickinson พุ่งเป้าไปที่หนังสือ แคมเปญ Let Books Be Books ขอให้หนังสือยกเลิกป้ายกำกับ “ชาย” หรือ “หญิง” ออกจากปก ตามบรรทัดฐานเดิมๆ ที่มองว่าเรื่องราวของเจ้าหญิงเป็นของเด็กผู้หญิงและเรื่องราวการผจญภัยเป็นของเด็กผู้ชาย

ดอกไม้สำหรับครูผู้เป็นแรงบันดาลใจของฉัน Oscar Kightley

Oscar Kightley เล่าเรื่องราวของเขาและครูที่ทำให้เขามีความสุขเมื่อสมัยยังเด็ก ผมจำไม่ได้ว่าทำไม แต่ผมจำได้ว่าเมื่อตอนที่ผมอายุ 7 ขวบ เป็นช่วงเวลาที่ยากลำบาก มันเป็นช่วงที่ผมต้องเปลี่ยนครอบครัวและย้ายประเทศ แม่ของผมหายตัวไปใน Samoa แต่เมื่อผมอายุ 8 ขวบ

ทำไมต้องเรียนรู้ ดาราศาสตร์​ กับ ศุภฤกษ์ คฤหานนท์

“เรียนเพื่อเข้าใจธรรมชาติและเข้าใจปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นรอบตัวเรารวมทั้งเอาองค์ความรู้ต่างๆที่เราเรียนมามาหาคำตอบและคิดอย่างมีเหตุมีผลก็จะนำไปสู่การที่เราจะเป็นคนที่มีศักยภาพที่จะทำงานไม่ว่าจะด้านอะไรต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุดครับ”
อาจารย์แจ็ค ศุภฤกษ์ คฤหานนท์
หัวหน้างานบริการวิชาการทางดาราศาสตร์
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)

1 6 7 8 9 10 90