อุ้มบุญ (44) บรรยายพิเศษเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ ตอนที่ 1

การใช้เชื้ออสุจิบริจาค ซึ่งก็จะมีปัญหาทางด้านกฎหมายตามมาว่าใครจะมีสิทธิเป็นบิดาของเด็กที่เกิดมาด้วยวิธีนี้ แต่หากเป็นการผสมเทียมที่ใช้เชื้อของสามีแล้วส่วนใหญ่มักจะไม่เกิดปัญหา

2. เทคนิคการทำกิ๊ฟ (GIFT, ……)

โดยทั่วไปวิธีการนี้จะเป็นเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์อย่างแท้จริงคือ การนำไข่ของฝ่ายหญิงที่เก็บไข่ออกมาจากร่างกายไว้ล่วงหน้า ซึ่งโดยปกติแพทย์จะต้องกระตุ้นไข่ให้เกิดการตกไข่พร้อมกันหลายฟอง ในการเก็บไข่แต่ละครั้ง อาจจะก่อให้เกิดการบาดเจ็บต่อร่างกายของฝ่ายหญิงได้ หลังจากนั้นแพทย์ก็จะเอาไข่กับเชื้ออสุจิใส่กลับเข้าไปทางหลอดมดลูก และปล่อยให้ผสมกันตามธรรมชาติ หากเปรียบเทียบกับการทำเด็กหลอดแก้ว ในปัจจุบันจะมีแนวโน้มในการทำเด็กหลอดแก้วมากกว่าการทำกิ๊ฟ เพราะนอกจากการทำกิ๊ฟคนไข้จะเจ็บตัว เพราะจะต้องมีการเจาะหน้าท้องคนไข้เพื่อเข้าไปวางไข่กับเชื้ออสุจิ ใส่กลับเข้าไปในร่างกายแล้ว ในขณะที่การทำเด็กหลอดแก้ว แพทย์จะการเก็บไข่ผ่านทางช่องคลอดโดยใช้เข็มแทงเข้าไปผ่านทางช่องคลอดแล้วจึงดูดไข่ออกมาจากร่างกาย แล้วนำมาผสมกับเชื้ออสุจิในห้องทดลอง หลังจากไข่กับอสุจิผสมกันเรียบร้อยและแบ่งตัวเป็นตัวอ่อนแล้วระดับหนึ่ง แพทย์จึงจะย้ายตัวอ่อนกลับเข้าไปในมดลูก

3. เทคนิคการทำอิกซี่ (ICZY…………….)

สำหรับการทำอิกซี่จะทำในกรณีที่ฝ่ายชายมีเชื้ออสุจิจำนวนน้อยหรือไม่มีเชื้ออสุจิเลย แพทย์จะเข้าไปเก็บเชื้ออสุจิจากอัณฑะของฝ่ายชาย แล้วนำมาฉีดผสมกับไข่ จนพัฒนาเป็นตัวอ่อน แล้วแพทย์จึงนำตัวอ่อนนั้นใส่กลับเข้าไปในมดลูกเหมือนกับการทำเด็กหลอดแก้ว ขั้นตอนของการทำอิกซี่จะแตกต่างจากการทำเด็กหลอดแก้วเพียงขั้นตอนเดียวคือ การทำเด็กหลอดแก้ว แพทย์จะปล่อยให้เชื้ออสุจิกับไข่ผสมกันเอง ในขณะที่การทำอิกซี่นั้นแพทย์จะบังคับให้เกิดการปฏิสนธิขึ้น โดยการใช้เชื้ออสุจิฉีดเข้าไปในไข่โดยตรง ฉะนั้นแนวโน้มในการทำอิกซี่ปัจจุบันจะเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากรับประกันได้ว่าน่าจะปฏิสนธิและเกิดตัวอ่อนขึ้นภายนอกร่างกาย

เทคนิคที่เพิ่มเติมขึ้นจากการทำอิกซี คือ blastosis ซึ่งในปัจจุบันก็เป็นการทำเด็กหลอดแก้วแบบหนึ่ง ซึ่งจะมีการเลี้ยงตัวอ่อนนานขึ้น กล่าวคือโดยทั่วไปการใส่ตัวอ่อนกลับเข้าไปในมดลูกมักใส่ในระยะที่ตัวอ่อนพัฒนาขึ้นแล้ว ประมาณ 2 – 4 วัน ซึ่งก่อนที่ตัวอ่อนจะพัฒนาเป็นระยะที่เรียกว่า blastosis ด้วยเทคนิคนี้ แพทย์จะเลี้ยงตัวอ่อนภายในห้องทดลองให้นานขึ้น อาจเป็นระยะ 5 – 6 วัน เพื่อให้ตัวอ่อนนั้นอยู่ในระยะที่มีการแบ่งตัวประมาณ………. ซึ่งตัวอ่อนจะพัฒนามากขึ้น ทำให้โอกาสของการฝังตัวของตัวอ่อนในมดลูกมีมากขึ้นด้วย เพราะฉะนั้นในเนื้อแท้ของ blastosis ก็คือการทำเด็กหลอดแก้วประเภทหนึ่ง เพียงแต่ระยะของการเลี้ยงจะนานขึ้น ซึ่งตรงนี้จะมีปัญหาในแง่ศีลธรรมในบางศาสนาหรือขนบธรรมเนียมประเพณีว่านักวิทยาศาสตร์หรือแพทย์ควรจะยุ่งกับตัวอ่อนในระยะนี้หรือไม่

นอกจากนี้ เทคนิคอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ค่อนข้างจะหมิ่นเหม่ต่อศีลธรรมและจรรยาแพทย์ รวมไปถึงในแง่ของกฎหมายพอสมควร เช่น

1. การใช้เชื้ออสุจิบริจาค – ซึ่งการใช้เชื้ออสุจิบริจาคมีอยู่หลายขั้นตอน เช่น คู่รักเพศเดียวกันต้องการมีลูก ซึ่งในทางปฏิบัติเราไม่มีกฎหมายรองรับ แม้ว่าในทางจรรยาแพทย์ถือว่าเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ การไม่มีกฎหมายรองรับในลักษณะนี้ หากผู้ขอรับบริการไม่ได้รับบริการ จะสามารถฟ้องร้องแพทย์โดยอ้างสิทธิของเขาในแง่ของการขอรับการรักษาแต่ไม่ได้รับบริการได้หรือไม่

2. การใช้ไข่บริจาค – ซึ่งเป็นประเด็นที่ค่อนข้างซับซ้อนขึ้น เนื่องจากในกระบวนการให้ใช้เทคโนโลยี เพราะจะได้ไข่จากการบริจาค แพทย์จะต้องให้ยาเพื่อกระตุ้นให้เกิดการตกไข่พร้อมกันหลายๆใบ ทำให้ผู้บริจาคเกิดความไม่สะดวกและเจ็บตัว เนื่องจากต้องฉีดยาทุกวัน เป็นระยะเวลาประมาณ 9 – 10 วัน และที่สำคัญการเก็บไข่ จะต้องแทงเข็มผ่านเข้าไปในร่างกายของผู้บริจาค ซึ่งอาจทำให้เกิดการบาดเจ็บต่ออวัยวะภายในได้ และยังเกิดค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูงสำหรับการดำเนินการดังกล่าว

ประเด็นที่เกิดขึ้นคือ ไข่ที่ได้นั้นเป็นกรรมสิทธิ์ของใคร ในกรณีที่มีสัญญาบริจาคไข่ สัญญานั้นจะถูกต้องตามกฎหมายและบังคับใช้ได้หรือไม่ ซึ่งประเด็นนี้ยังไม่มีกฎหมายที่กำหนดชัดเจน หรืออาจมีกฎหมายใกล้เคียงปรับได้ว่าไข่นั้นจะมีสภาพเป็นอะไร เป็นสมบัติตามกฎหมายของใคร แต่ก็ไม่มีกฎหมายโดยตรงหรือมารองรับว่าในลักษณะนี้ ถ้ามีการเกิดขึ้นแล้วจะอยู่ในสภาพแบบไหน