Tag: การศึกษาในศตวรรษที่ ๒๑
การศึกษาจะช่วยสร้างความเข้มแข็งให้ฐานรากของประเทศได้ แต่ทุกวันนี้ระบบการศึกษาของไทยยังคงเน้นให้นักเรียนอ่านออก เขียนได้ บวกลบคูณหารเป็น ใช้ระบบท่องจำเพื่อนำไปสอบแข่งขัน แต่กลับขาดนวัตกรรม ขาดความคิดริเริ่มใหม่ๆ ขณะเดียวกันยังขาดการสอนให้นักเรียนมีทักษะชีวิตและทักษะอาชีพที่จะนำไปสู่ชีวิตและการงานที่ดีต่อไปในอนาคต ดร.มีชัย วีระไวทยะ
หลักคิดสำคัญที่ทำให้เราต้องหันมาพัฒนาสื่อให้เป็นโรงเรียนของสังคม เพราะสื่อมีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับกลไกการเรียนรู้ ซึ่งไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะในห้องเรียนเท่านั้น แต่เป็นการเรียนรู้ที่สามารถเกิดขึ้นได้ในทุกๆที่ คำถามสำคัญคือ ทำอย่างไรให้สังคมไทยเกิดการเรียนรู้ที่มีคุณภาพอย่างแท้จริง รศ.จุมพล รอดคำดี
ถ้าเด็กอาชีวะมีคุณภาพ สถานประกอบการก็จะได้เด็กที่เก่งและพร้อมทำงานได้ทันที ถ้าเรามีคนเก่งๆ ประเทศก็จะเจริญเติบโตต่อไปได้ และที่สำคัญคนที่เก่งก็ยังช่วยสอนเพื่อนได้อีก จึงเป็นเหตุผลว่าถึงอย่างไรประเทศก็ต้องมีอาชีวะ ไม่มีไม่ได้ ดร.ชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์
สร้างความเข้าใจกับผู้บริหารเขตพื้นที่ ผู้บริหารระดับสูงขององค์กรบริหารส่วนท้องถิ่น ถึงแนวคิดทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑ การจัดการเรียนรู้แบบนักเรียนลงมือ พร้อมทั้งเสนอแนวทางพัฒนาโรงเรียน แนวทางพัฒนานักเรียน โดยนำพาเข้าไปเรียนรู้ ทำความเข้าใจ เห็นผลลัพธ์การเปลี่ยนแปลงที่ที่เกิดขึ้นกับนักเรียน ณ สถานที่ปฏิบัติการจริง ทำให้ผู้เขียนนึกเลยไปถึงสุภาษิตไทยที่ว่า “สิบปากว่า ไม่เท่าตาเห็น สิบตาเห็นไม่เท่ามือคลำ”