การสร้างเครื่องมือประเมินและตัวชี้วัดระดับการพัฒนาจิตวิญญาณ สำหรับบุคลากรด้านสาธารณสุข (29)

ของผู้ปฏิบัติงานที่แสดงถึงความสุขจากการทำให้ผู้ป่วย หรือผู้ที่มีความทุกข์มีความสุข ดังนี้

“เวลาที่เราวัดความดันวัดไข้วันไหนที่ไข้ขึ้นสูงเราก็มีความรู้สึกผูกพันไปด้วยว่ารู้สึกไม่ดีตัวท่านก็มีวันไหนที่เราบอกอุณหภูมิมัน 39-40 มันใจไม่ดีเราก็รู้สึกไปกับเขาด้วยแต่วันไหนวัด 38 กว่า ๆ 37 นี่วันนี้นี่ดีเลยนะตัวคนไข้เองที่มีความรู้สึกว่าไข้ลงแล้ว happy แล้วเราก็รู้สึกดีไปด้วยพยายามทำหลาย ๆ อย่างให้เขารู้สึกว่าเขามาจากประเทศแล้วเขาจากลูกจากเมียมาขอให้อยู่กับเราให้มีความสุขเถอะ ฉะนั้นเราก็มีความสุขว่าอยากให้ท่านรู้สึกดี และพยายามให้ท่านรู้สึกว่าท่านอยู่ที่นี่ท่านอยู่ท่ามกลางคนที่สื่อได้ถึงใจของท่านเอง สอบถามท่านว่าท่านมีลูกกี่คนท่านบอกมีสองคนก็พยายามทำให้ท่านได้มีโอกาสคุย แล้วดิฉันก็ไป print รูปอันหนึ่งท่านมีรูปลูกรูปครอบครัวของท่านติดมาในกระเป๋า ทีมงานเราก็ขอภาพนั้นแล้วก็มา print แค่กระดาษธรรมดาแต่ print เป็นหน้ายิ้ม ๆ ให้ท่านดูแปะติดอยู่ข้างฝาแค่นี้เราก็มีความรู้สึกว่าเราได้ทำอะไรให้ท่านบ้างแล้วและท่านก็มีความรู้สึกว่าได้เห็นรูปลูกเงยหน้าขึ้นไปเมื่อไรก็เห็น คือสิ่งใดที่ทำให้คนไข้รู้สึกขณะนั้นหรือบรรเทาเบาบางได้บางส่วนเราก็มีความสุขแล้ว” (ภาคกลาง)

จากการวิเคราะห์มูล 4 ภาค พบความถี่ของการบอกเล่าความสุขจากการทำงานแล้วทำให้ผู้อื่นมีความสุขมากที่สุดโดยที่ มีการกล่าวถึงความสุขที่ได้จากการช่วยเหลือฟื้นฟูผู้ป่วยให้มีอาการดีขึ้น สุขที่ผู้ป่วยให้ความเข้าใจและเอื้ออาทร สุขที่ได้ช่วยเพื่อนร่วมงาน ในกลุ่มนี้เป็นความสุขที่เกิดจากส่วนประกอบและกระบวนการในการทำงานซึ่งประกอบด้วย ตัวงาน คนไข้ และเพื่อนร่วมงานเป็นต้น นอกจากการมีความสุขจากการทำงาน ยังมีความสุขในลักษณะอื่นด้วยคือ ความสุขที่ได้ทำตามความเชื่อของตนเอง เป็นต้น ดังคำกล่าวของดังนี้

“แต่วันนั้นเพิ่งสังเกตที่โต๊ะประชุมเป็นครั้งแรก สังเกตหน้า อ.เต็มศักดิ์ และพี่ฟ่งพยาบาลของแก ที่ทำ palliative care และเป็นคนนำ palliative care เข้าไปในหลักสูตรแพทยศาสตร์บัณฑิตคนแรกของประเทศไทยอันนี้ต้องบันทึกไว้ใน record ปีประมาณ 40 เคยเห็นหน้าใครแล้วอยากเป็นหน้าอย่างนั้นไหมครับ หน้าของคนที่มีความสุข หน้าที่ไม่ต้องแคร์ใครไม่ใช่ไม่แคร์เพราะ arrogant หรืออหังการแต่ไม่แคร์เพราะมั่นใจ มี conviction มีความเชื่ออย่างแรงกล้าว่านี่คือสิ่งที่ควรทำหรือสิ่งที่ถูกต้อง”(ภาคกลาง 2)

“ความสุข พี่บอกแล้วว่า บางทีมันซื้อด้วยเงินไม่ได้เหรอก มันซื้อด้วยเงินไม่ได้ บางที บอกให้คนอื่นเค้าเข้าใจไม่ได้เหรอกตรงนี้ นอกจากเค้าสัมผัส เค้าเห็นเอง บางทีไม่ต้องเล่าให้ใครฟัง แต่เรารู้ ใจเรารู้ไงว่าเราทำแล้วเรามีความสุขนะ เหมือนที่พี่บอกว่าพี่สัมผัสได้เวลาพี่เกิดมีอะไรมาสะดุด มีอุปสรรคมีอะไรมาทุกอย่าง มันจะมีคนเข้ามาช่วย มันเป็นอะไรที่ว่ามันแก้ไขทุกอย่างได้เองหมด การที่เราคิดในสิ่งดีๆ การทำในสิ่งดีๆ เราให้อะไรคนอื่นไง ก็เลยคิดว่า บางครั้งเนี่ยมันไม่ต้องด้วยเงิน ด้วยเกียติยศ ด้วยอะไรไง นี่คือสิ่งที่เราได้รับ” (ใต้ 1)

ความสุขอีกแบบหนึ่งที่พบในกลุ่มตัวอย่างบางกลุ่มคือความสุขในการทำสิ่งที่ยากลำบากดังนี้

“ปกติห้องผ่าตัดเราไม่ให้ใครเข้าวันนั้นกองเชียร์เพียบเลยจ้องเรามองดูว่าเราจะสามารถผ่าตัดคนไข้ได้สำเร็จหรือเปล่า ผ่าตัดไปใช้เวลาผ่าตัดจริง ๆ ก็คือว่าครึ่งชั่วโมงแต่ทราบไหมคะว่าขณะที่ผ่าตัดเหงื่อไหลไคลย้อยลงมาถึงกางเกงในถึงก้นเพราะเรายังใส่ถุงสีดำที่ว่า มันเป็นอะไรที่แบบทำไปได้นะคะ แต่คนไข้คนนั้นก็ประสบความสำเร็จนะคะเราก็ดีใจถึงแม้ว่าอย่างน้อยทีมงานจะทำกันด้วยความยากลำบาก”(ภาคกลาง 1)

จากความสุขทั้ง 2 ดังกล่าวแล้วจะเห็นว่าความสุขของผู้มีจิตวิญญาณมีความแตกต่างไปจากนิยามของความสุขโดยทั้งไป ที่กล่าวถึงความสุขในแง่ของความพึงพอใจต่อสิ่งแวดล้อมต่างๆ และอารมณ์ทางบวกของบุคคล (Ed diner, ) ความสุขของผู้มีจิตวิญญาณเป็นความสุขที่ทำให้ผู้อื่นพ้นจากความทุกข์ ความสุขที่ทำให้ผู้อื่นเป็นสุข ความสุขที่ได้ช่วยเพื่อนร่วมงาน ทั้งหมดนี้แสดงถึงความสุขที่เกิดจากการได้รับรู้ความสุขของผู้อื่นอีกขั้นหนึ่ง ทั้งนี้เมื่อศึกษาความสุขที่กล่าวไว้ในศาสนาพุทธที่มี 3 ดับคือ กามสุข ฌานสุข และนิโรธสมาปัตติสุข ก็เป็นการจัดประเภทที่แตกต่างกัน แต่ความสุขของผู้มีจิตวิญญาณที่พบในงานนี้ มิใช่กามสุข หรือความสุขที่เกิดจากความอยากได้ในเรื่องของวัตถุกามและกิเลสกาม (พระธรรมปิฎก ป.อ. ปยุตโต ,2538) ความสุขนี้อาจเทียนเคียงได้กับความสุขในขั้น นิรามิสสุข ในขั้นที่เรียกว่าเป็น สุขขั้นต่อนิรามิส หรือสุขขั้นฉันทะ ได้แก่ สุขจากการอยู่ร่วมสัมพันธ์ ช่วยเหลือผู้อื่น สุขจากการค้นหาความรู้ความจริง สุขจากการทำงานที่ใจรัก และสุขจากภาวะจิตกุศล( พระพรหมคุณาภรณ์, 2548: 115-117)