การขับเคลื่อนกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (10)

ต่อติด แล้วท่านก็เอาด้วย และลงไปเล่น เหมือนกับต่อติดเอาด้วยและลงปฏิบัติด้วย ท่านก็บอกให้เราจัด มีงบประมาณมาให้เราก้อนหนึ่ง แต่ก็ไม่พอ ท่านก็ถามว่าจะใช้เท่าไหร่ ให้เราไปคำนวณมาว่าจะจัดกี่ phase phase ละ เท่าไหร่ อธิบายให้ท่านฟัง พอเราจัด 2 รุ่น ท่านก็มาเป็นวิทยากรให้เลย ท่านก็มาเน้นย้ำให้ ก็กลายเป็นว่าจังหวัดเราก็เกิดกระบวนการนี้ขึ้นมา โดยท่านผู้บริหาร เนื่องจากว่าเป็นนโยบายระดับประเทศด้วย…”

จิราพรรณ โพธิ์กำเนิด สสจ. ศรีสะเกษ

“…ของขอนแก่น พอเราไปอบรมมาเราก็บันทึก แต่นอกจากจะบอกถึงข้อเสนอว่าจะทำอะไรต่อไป เราจะบอกถึงประโยชน์ที่จะได้รับไปด้วย ว่าถ้าทำอย่างนี้แล้วจากประสบการณ์ที่เราไปเรียนรู้ที่เราไปรับฟังมา จะเกิดประโยชน์อย่างนี้แหละ และบุคลากรจะได้รับการพัฒนาศักยภาพเราก็เขียนไป ก็ทำประมาณนี้…”

บัวบุญ อุดมทรัพย์ สสจ.ขอนแก่น

1.2 ขายความคิดกับผู้ตรวจราชการ : ในฐานะที่แกนนำขับเคลื่อนทำงานระดับจังหวัด ทำให้เห็นภาพรวม ความเขื่อมโยงและช่องทางความสำเร็จ จึงบอกเล่าผู้ตรวจว่าจังหวัดกำลังทำอะไรได้

“…เราก็บอกกับทางท่านผู้ตรวจว่า งานคุณภาพเหมือนพระองค์ใหญ่ พระพุทธรูปต้องมีคนยกฐานขึ้นมาถึงจะเห็น มีอีกโจทย์หนึ่งที่จะทำโครงการดูแลต่อเนื่อง พอดีได้น้องหญิงไปดูให้ในส่วนนี้ ปีที่แล้วเราไม่มีโจทย์ ให้เงินไปก็ต่างคนต่างทำ ตอนนั้นอาจารย์อ้วนเป็นอาจารย์ประสาทวิชา ลปรร. ให้ พอมาอีกรอบก็ได้ อ.ตุ้ม และหญิงดูแล มีอันหนึ่งที่เรายังทำไม่ได้คือการคลี่ ที่เขา How to ก็เลยไม่สนุก ปีนี้เรารู้ว่าจุดอ่อนของจังหวัด ผู้ที่จะไปต่อให้เราคือที่เราช้อนกันมาแล้ว เราใช้หัวใจช้อนหากัน ถ้าไม่มีใจเขาไม่มาแน่นอน ความต่อเนื่องของงานตรงนี้คือใจ เรามีเครือข่ายสายใยเรียบร้อยแล้ว วันนี้ไม่สบายก็ยังมา ฉะนั้นเราใช้ใจหากัน แต่ก็ยังขาดองค์ความรู้ว่าทำอย่างไรไปเรียกแล้วสนุก ได้ความรู้ในส่วนนี้ เราก็ตั้งโจทย์ว่าเป็นการดูแลต่อเนื่อง เรารู้สึกว่าถ้าจะพัฒนา รพ.สต. นั้น ถ้าโรงพยาบาลไม่เอื้อมแขนออกไปหาเขาก็พัฒนาไม่ได้ คุณภาพบริการไม่มีแน่นอน เราเลยใช้โครงการดูแลต่อเนื่อง COC COC ส่วนใหญ่เป็นพยาบาล เราก็บอกเขาเลยว่าเราตั้งวงคณะทำงานขึ้นมาคณะหนึ่ง ตั้งเป็นแนวแถวจังหวัดว่า แบ่งเป็น 3 เตียง เตียง 3 เตียง 2 เตียง 1 เราให้อาจารย์อ้วน ให้อาจารย์หญิงไป เราก็ปล่อยงานออกไปให้เขาไปตั้งวง เราให้เวลาเขา 3 เดือน พูดผ่านหูนาย เราให้นายเซ็น เราให้ผู้อำนวยการโรงพยาบาลชุมชนเซ็น เสนอผู้อำนวยโรงพยาบาลศูนย์เซ็น ให้ สสจ. เซ็น และให้ สสจ.ประกาศในที่ประชุม กวป. เพื่อเป็นนโยบายจังหวัด…”

รตญ. อมรพรรณ พิมพ์ใจพงษ์ สสจ.อุดรธานี

1.3 ขายความคิดกับสาธารณสุขอำเภอ : เชิญ สสอ. พบประสบการณ์จริงโดยเข้าร่วมเป็นผู้สังเกตการณ์ขณะทำวง ลปรร.

“…ตอนที่พี่ตั้งวงครั้งแรก พี่ก็เชิญน้องมาเล่าเรื่องต่อเนื่องจากที่ท่านฟังเฉยๆ หลังจากนั้นพอเขาเล่าเรื่องจบ จบกระบวนการ พี่ก็อยากรู้ว่าท่านฟังจริงไหม เข้าใจจริงไหม และก็พี่ก็เลยถามว่าน้องสันติ น้องชอบเรื่องอะไรที่น้องๆ เขาเล่าให้ฟัง ท่านหัวหน้าพี่ก็บอกว่าผมชอบเรื่องเบาหวาน คนนั้นที่ดูแลแผลผู้ป่วย 2 ปี น้องเขาเก่งนะ มีความพยายามทำได้ขนาดนี้จนแผลเขาหาย และคนไข้มาถึงอนามัย และมานั่งดื่มกาแฟกับเจ้าหน้าที่ ผมชอบเรื่องนั้น อีกเรื่องก็น่าสนใจนะ ไม้เรียวสู้ไม้ตาย เขาอยู่ในชุมชนเขาสามารถดึงเด็กๆ ไปจับปลากัดมากินลูกน้ำ โดยใช้มนุษยสัมพันธ์กับชาวบ้าน ตีลูกเขาได้เพื่อไม่ให้ไปเล่นน้ำ มองเห็นภาพว่าท่านฟัง ท่านรู้จริงๆ ถึงทราบได้ว่าเวลาพี่นำเสนออะไรให้ท่านฟังท่านก็ฟัง และก็เหมือนกับเช่นวันนี้ที่พี่มาที่นี่ ปกติท่านไม่ให้มานะคะ เพราะผู้ตรวจลง พอถึงเวลาส่งหนังสือไป ท่านเซ็นเองให้คุณศจีมา ซึ่งพี่ก็คิดว่า อ้อนี่เป็นนิมิตที่ดีแล้ว ที่พี่กลับไปมันง่ายขึ้น หลังจากที่ฟังน้องๆ…”

ศจี ชูศรี สสอ.เมือง จ.ระนอง