การสร้างเครื่องประเมินและตัวชี้วัดระดับการพัฒนาจิตวิญญาณ สำหรับบุคลากรพด้านสาธารณสุข (30)

มีเตียงสูง มีญาตินั่งเรียงกันอยู่ ข้างล่าง มีเสียงสวดมนต์ตลอดเวลา ไม่ใช่จากเทปนะคะ เสียงสวดมนต์ตลอดเวลา แล้วคนไข้ก็สวดมนต์ด้วยก่อนที่จะไปอย่างเนี๊ยะค่ะ มันเป็นอะไรที่แบบว่าทำให้เราโอโหดีมาก แล้วหลังจากนั้นพอเค้าเสียชีวิตไป เค้าก็เชิญไปงานศพ ซึ่งตอนนั้นไม่เคยเลยที่จะออกนอกโรงพยาบาล เค้าก็เชิญไปงานศพ โอ้โห มีแต่คุณหญิงคุณนายเต็มพรึ่บ เราเป็นใครเนี่ย ญาติเค้าก็มาถามว่าคนนี้เป็นใคร เค้าก็จะบอกว่า เป็นพยาบาลประจำตัวคุณพ่อ คนนี้เป็นใคร เป็นพยาบาลประจำตัวคุณพ่อ เค้าก็แนะนำอย่างนี้ตลอด เราก็เลยมีความรู้สึก อืมม์ มันเป็นอะไรที่ดีมาก ถึงแม้เราจะไม่เคยได้รู้จักกัน ช่วงตรงนั้นที่เราได้ดูแลเค้าน่ะมันเป็นอะไรที่ดีมาก เค้าให้แหวนเพชรมาวงนึง คือตรงนั้นเราก็ไม่รู้ว่าไปขายแล้วมันจะได้เท่าไหร่ แต่ว่ามันเป็นสิ่งที่มีคุณค่าสำหรับเรา สำหรับจิตใจเรา”(เหนือ 2)

ความรู้สึกภาคภูมิใจนี้เป็นการประเมินตนเอง จากข้อมูลที่ได้จากการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น เป็นความรู้สึกที่เกิดผลจากการกระทำของตนเองต่อผู้อื่น แล้วได้รับความรู้สึกทางบวกย้อนกลับ หรือเห็นชอบต่อการกระทำนั้น การแสดงออกของผู้อื่นนั้นทำให้เราเกิดความรู้สึกภาคภูมิใจซึ่งเป็นได้ทั้งบวกและลบ ความรู้สึกภาคภูมิใจนี้ เป็น concept ที่ปรากฏในทฤษฎีทางจิตวิทยาได้แก่ทฤษฎี Hierarchy of basic need (Maslow, ) ที่กล่าวถึงความต้องการในขั้นที่ 4 ว่าเป็นความต้องการความภาคภูมิใจ(esteem needs) หรือคนเราต้องการได้รับความยกย่อง การยอมรับนับถือจากผู้อื่น เพื่อที่เราจะได้รู้สึกถึงความสำเร็จ และมีการวิจัยที่แสดงว่าความภาคภูมิใจมีความสัมพันธ์กับความเชื่อและการปฏิบัติทางศาสนา โดยที่ความเชื่อทางศาสนาที่สอนว่าเราจะได้รับความรักจากพระเจ้าเสมอ ทำให้คนเห็นคุณค่าของตัวเอง เห็นภาคภูมิใจในตนเอง จากผลของการวิจัยสอดคล้องกับแนวคิดดังกล่าวนี้คือเมื่อได้ปฏิบัติงานอย่างมีจิตวิญญาณแล้ว สิ่งที่ตามมาคือการได้รับความรักความนับถือจากคนไข้ เพื่อนร่วมงาน ส่งผลต่อการมีความรูสึกภาคภูมิใจในตนเอง

บทที่ 6

ตัวอย่างเครื่องมือวัดระดับจิตวิญญาณ

ตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 4 ของการวิจัยนี้ คือ เพื่อร่างตัวอย่างของตัวชี้วัด และเครื่องมือในการประเมินที่เหมาะสมกับบริบทของการทำงานในสังคมไทย ผู้วิจัยจึงได้ทำการสร้างตัวอย่างเครื่องมือวัดตามผลการสังเคราะห์สังกับของจิตวิญญาณในบทที่ 5 โดยทำการสร้างแบบวัดสำหรับแก่นของจิตวิญญาณ และผลของจิตวิญญาณ ซึ่งตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้ทำการสร้างเครื่องมือเป็น 3 ลักษณะ คือ 1.เครื่องมือการประเมินในลักษณะที่เป็นแบบวัด Rating Scale 2.เครื่องมือเชิงคุณภาพ 3.เครื่องมือวัดพฤติกรรม ซึ่งรายละเอียดของเครื่องมือแต่ละลักษณะ มีรายละเอียดของแบบวัด ดังนี้

1. เครื่องมือการประเมินในลักษณะที่เป็นแบบวัด Rating Scale ประกอบไปด้วยแบบวัดทั้งหมดจำนวน 8 ฉบับ ได้แก่

1.1. แบบวัดความหมายและเป้าหมายของชีวิต

1.2. แบบวัดการมีอุดมการณ์

1.3. แบบวัดศรัทธาในความจริงที่เหนือธรรมชาติ

1.4. แบบวัดความเชื่อในพลังจิต

1.5. แบบวัดการเข้าถึงเข้าใจตัวเอง

1.6. แบบวัดการเข้าถึงเข้าใจผู้อื่น

1.7. แบบวัดจิตรับรู้ความทุกข์

1.8. แบบวัดเข้าถึงคุณค่าของจิต(มิใช่วัตถุ)

2. เครื่องมือเชิงคุณภาพ ประกอบไปด้วย

2.1. เทคนิคเหตุการณ์สำคัญ (critical incident technique)

2.2. วิธีประวัติชีวิต (life history approach)

3. เครื่องมือวัดพฤติกรรม ประกอบไปด้วยแบบวัดพฤติกรรม 3 ด้าน ด้านละ 1 ฉบับ โดยในแต่ละฉบับจะมีการวัดเป็น 2 กรณี คือ กรณีใช้การสังเกตและบันทึกพฤติกรรม และกรณีที่ใช้เป็นแบบวัดพฤติกรรม ซึ่งแบบวัดพฤติกรรมประกอบได้ด้วย

3.1. พฤติกรรมช่วยเหลือ

3.2. พฤติกรรมมุ่งมั่นในการทำงาน

3.3. พฤติกรรมการปฏิบัติต่อผู้อื่นโดยคำนึงถึงศักดิ์ศรี

เพื่อความเข้าใจที่ชัดเจนผู้วิจัยขออธิบายเชื่อมโยง ให้เห็นว่าแบบวัดแต่ฉบับที่สร้างขึ้นนั้นเชื่อมโยงกับการวัดแก่นและผลของจิตวิญญาณในบทที่ 5 ดังต่อไปนี้

ประเด็นหลัก (theme)

II. แก่นของจิตวิญญาณ

ประเด็นรอง (subtheme)

1. ความหมายและเป้าหมายของชีวิต

2. การตระหนักรู้เกี่ยวกับความตาย

3. ศรัทธาในความจริงที่เหนือธรรมชาติ

4. เข้าถึงเข้าใจตัวเอง

1 เข้าถึงเข้าใจผู้อื่น

2 เข้าถึงคุณค่าของจิตใจ(มิใช่วัตถุ)

แบบวัดที่ใช้ในการประเมิน

1.1 แบบวัดความหมายและเป้าหมายของชีวิต

1.2 แบบวัดการมีอุดมการณ์

2.1 เทคนิคเหตุการณ์สำคัญ(critical incident technique)

2.2 วิธีประวัติชีวิต (life history approach)

2.1 เทคนิคเหตุการณ์สำคัญ(critical incident technique)

2.2 วิธีประวัติชีวิต (life history approach)

1.3 แบบวัดศรัทธาในความจริงที่เหนือธรรมชาติ

2.1 เทคนิคเหตุการณ์สำคัญ(critical incident technique)

2.2 วิธีประวัติชีวิต(life history approach)

1.5 แบบวัดการเข้าถึงเข้าใจตัวเอง

2.1 เทคนิคเหตุการณ์สำคัญ(critical incident technique)

2.2 วิธีประวัติชีวิต(life history approach)

1.6 แบบวัดการเข้าถึงเข้าใจผู้อื่น

1.7 แบบวัดจิตรับรู้ความทุกข์

1.4 เทคนิคเหตุการณ์สำคัญ (critical incident technique)

1.5 วิธีประวัติชีวิต (life history approach)

1.8 แบบวัดเข้าถึงคุณค่าของจิต(มิใช่วัตถุ)

2.1 เทคนิคเหตุการณ์สำคัญ (critical incident technique)

2.2 วิธีประวัติชีวิต (life history approach)

ประเด็นหลัก (theme)

III. ผลของจิตวิญญาณ

ประเด็นรอง (subtheme)

1. ช่วยเหลือโดยเมตตา-กรุณา

2. ทำภารกิจในชีวิตอย่ามี

แบบวัดที่ใช้ในการประเมิน

1.1 พฤติกรรมช่วยเหลือ

1.2 พฤติกรรมมุ่งมั่นในการทำงาน

ข้อเสนอแนะในการใช้เครื่องมือ เนื่องจากเครื่องมือนี้ สร้างจากนิยามที่กำหนดจากข้อมูลของผู้ปฏิบัติงานด้านสาธารณสุข และการสร้างโครงสร้างของการวัด ในข้อคำถามแต่ละข้อมีการตรวจสอบทฤษฏีที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม เพื่อยืนยันความครอบคลุมของเนื้อหา โดยผ่านการตรวจสอบจากการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในกลุ่มนักวิจัยและผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอกมาแล้ว การใช้เครื่องมือนี้ต้องมีขั้นตอนในการดำเนินการดังนี้ การใช้เครื่องมือเชิงปริมาณ ควรใช้คู่กับเครื่องมือเชิงคุณภาพพร้อมกัน ข้อมูลเชิงปริมาณและคุณภาพในประเด็นรองเดียวกันควรให้ข้อมูลที่ไปในทิศทางเดียวกัน ทั้งนี้ควรใช้เพื่อการเป็นข้อมูลในการจัดกิจกรรมเพิ่มเติมให้กับหน่วยงานในการสร้างเสริมการพัฒนาจิตวิญญาณในองค์การไม่ควรใช้เพื่อการตัดสินบุคคล