การสร้างเครื่องมือประเมืนและตัวชี้วัดระดับการพัฒนาจิตวิญญาณ สำหรับบุคลากรด้านสาธารณสุข (15)

บริบท

จิตวิญญาณในบริบทด้านสาธารณสุข

ผู้แต่ง

นพ.ดร.โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ (2545)

นิยามจิตวิญญาณ

เป็นการเปลี่ยนกระบวนทัศน์เดิมเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์การแพทย์แบบเดิมที่ใช้ในการทำความเข้าใจชีวิตซึ่งมองชีวิตแบบแยกออกเป็นส่วนๆที่มุ่งเน้นแต่การตรวจวินิจฉัยรักษาโรค การจ่ายยาที่ถูกต้อง โดยขาดการมีปฏิสัมพันธ์และขาดการให้ความสำคัญกับมนุษย์ที่มาตรวจรักษา ทำให้ผู้เข้ารับการรักษาเองเกิดการขาดความศัทธาเชื่อมั่นต่อตัวแพทย์ พยาบาล ที่ทำการรักษา ดังนั้นการใช้ Spiritual เข้ามาใช้ในทางสุขภาวะ จะทำให้เห็นมิติของความเป็นมนุษย์ และนำไปสู่ความเข้าใจใหม่ที่เคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ ซึ่งจะสร้างให้เกิดมีจิตสำนึกที่ดีขึ้นในการปฏิบัติงานด้านสาธารณสุข และการดูแลผู้ป่วย

บริบท

จิตวิญญาณในบริบทด้านสาธารณสุข

ผู้แต่ง

Smith & Rayment (2007)

นิยามจิตวิญญาณ

Spirituality is a state or experience that can provide individuals with direction or meaning, or provide feelings of understanding, support, inner wholeness or connectedness.

บริบท

จิตวิญญาณในบริบทด้านสาธารณสุข

ผู้แต่ง

Rowling & Gehrig (1998)

The spiritual dimension of health provides the meaning and purpose in life and acts as a unifying force within an individual, which integrates other dimensions of health.

บริบท

จิตวิญญาณในบริบทด้านสาธารณสุข

ผู้แต่ง

Fletcher (2004)

นิยามจิตวิญญาณ

a relation to one’s ultimate purpose, a feeling beyond science, having a relationship with a higher power (not necessarily God), a human component in addition to mind and body, and a mystery or unknown

บริบท

จิตวิญญาณในบริบทด้านองค์กร

ผู้แต่ง

Giacalone & Jurkiewicz (2003)

a framework of organizational values evidenced in the culture that promote employees’ experience of transcendence through the work process, facilitating their sense of being connected to others in a way that provides feelings of completeness and joy.

บริบท

จิตวิญญาณในบริบทด้านองค์การ

ผู้แต่ง

Schmidt-Wilk, Heaton, &Steingard (2000)

นิยามจิตวิญญาณ

Three main definitions for spirituality, the first defines spirituality in personal terms; the second focuses on the applied aspect of spirituality; and the third looks at the characteristics of the spiritual organization

บริบท

จิตวิญญาณในบริบทด้านองค์กร

ผู้แต่ง

Pawar (2008)

workplace spirituality involves an organization’s facilitation of employee experience of spirituality at work. Workplace spirituality involves employee experiences of spirituality at work

(1) spiritual values of the organization;

(2) business and employee plans and goals reflecting these values;

(3) HRM practices for reinforcing these plans and values

(4) outcomes in the form of organizational performance and employee experiences and benefits

 

จากนิยามของนักวิชาการข้างต้น สามารถสรุปแนวคิดสำคัญที่ปรากฏในนิยามได้ดังนี้

บริบทด้านสาธารณสุข

1. เห็นมิติของความเป็นมนุษย์

2. กระบวนการที่ช่วยเหลือผู้ป่วยด้วยความใจเอาใจใส่

3. การสนับสนุน ส่งเสริมคุณค่า ความเชื่อ ค่านิยมและวิถีชีวิตของแต่ละบุคคล

4. ความต้องการความหมายและจุดหมายของชีวิต

5. ความต้องการความหวัง

6. ความต้องการได้รับความรัก

7. การให้ความรักต่อผู้อื่น

8. การสร้างสรรค์เพื่อสนองความต้องการที่มุ่งรักษาสุขภาพในการดำเนินชีวิต

9. การรวมพลังภายในบุคคลซึ่งเป็นการรวมมิติต่าง ๆของสุขภาพ

10. พลังภายในตนเอง และพลังของชีวิตที่มองไม่เห็น แต่ทำให้เกิดกำลังใจ ความเข้มแข็งอดทน เป็นสุข สงบ และยอมรับความเป็นจริง ประสบความสำเร็จเมื่อต้องเผชิญปัญหาที่ยากลำบาก ใช้เป็นสิ่งที่ยึดเหนี่ยวเพื่อให้หายจากการเจ็บป่วย

11. ความเชื่อ ความหวัง ความศรัทธา เป็นพลังที่เกิดจากความรู้สึกที่อยู่ในส่วนลึกของจิตใจทำให้เกิดอำนาจเหนือธรรมชาติ เกิดความรู้สึกกลมกลืนกันระหว่างตนเอง ผู้อื่น และความรู้สึกที่สามารถติดต่อกับพระเจ้าได้

12. การกระทำ การปฏิบัติ หรือวิธีการต่างๆ ที่บุคคล/ผู้ป่วยแสดงออกเพื่อตอบสนองต่อความรู้สึกที่อยู่ในส่วนลึกของจิตใจ ความเชื่อ ความหวัง ความศรัทธาได้แก่ การไหว้พระ สวดมนต์ สวดอ้อนวอนพระเจ้า ไหว้เจ้า การนั่งสมาธิ เข้าฌาณ การทำบุญ ใส่บาตร ไปโบสถ์ หรือการทำกิจกรรมทางศาสนา การอ่านหนังสือธรรมะหรือบทสวดในศาสนา การพูดคุยกับพระ นักบวชหรือบุคคลที่ตนนับถือ และเชื่อว่าสามารถติดต่อกับพระเจ้าหรือพลังอำนาจเหนือธรรมชาติได้

13. เคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์

บริบทด้านองค์กร

1. ค่านิยมองค์การที่สนับสนุนประสบการณ์การข้ามพ้นของพนักงานผ่านกระบวนการทำงาน

2. การสนับสนุนการเชื่อมโยงสู่บุคคลอื่นในแนวทางที่เป็นไปด้วยความสุขและความสมบูรณ์

3. การสนับสนุนประสบการณ์ด้านจิตวิญญาณในการทำงานให้แก่พนักงานอัน ได้แก่ ค่านิยมขององค์การ แผนงานและเป้าหมายขององค์การ ของพนักงานที่สะท้อนถึงค่านิยมเหล่านั้น การบริหารด้านทรัพยากรมนุษย์เพื่อขับเคลื่อนแผนและค่านิยมต่างๆ และผลลัพธ์ในรูปของผลการปฏิบัติงานขององค์การประสบการณ์ของพนักงานและผลประโยชน์อื่นๆ