การสร้างเครื่องมือประเมินและตัวชี้วัดระดับการพัฒนาจิตวิญญาณ สำหรับบุคลากรด้านสาธารณสุข (13)

1)นักวิจัย 2 คนรวมรหัสที่คล้ายคลึงกัน 2) หัวหน้าโครงการตรวจสอบ 3) ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกตรวจสอบ 2ท่าน และในขั้นการสรุปกรอบการอธิบายจิตวิญญาณ มีการตรวจสอบดังนี้ 1) หัวหน้าโครงการสร้างกรอบการอธิบายและการวัดจิตวิญญาณ 2) อภิปราย และขอความเห็นจากผู้ร่วมวิจัย 3) ขอความเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก 2 ท่าน

ในขั้นตอนของการสร้างแบบสอบถาม ที่การประมวลทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง การตรวจสอบโครงสร้างของเครื่องมือโดยกำหนดเป็นโครงสร้างเนื้อหา และตรวจสอบการเขียนข้อความในกลุ่มนักวิจัย และผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอก โดยมีการปรับแก้ตามความเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิ

2. Conformability และ Dependability หมายถึงลักษณะของผลสรุปที่สามารถติดตามตรวจสอบได้ นักวิจัยทุกคนร่วมตรวจสอบกระบวนการนี้ ตลอดระยะของการทำวิจัยมีการทำความเข้าใจในขั้นตอน และตรวจสอบซึ่งกันและกันโดยทำเป็นบันทึกการทำงานตลอดโครงการ

3. Transferability หมายถึง คุณสมบัติที่ผลการวิจัยที่มีประโยชน์กับกลุ่มอื่นที่มิใช่ตัวอย่างของงานวิจัย การให้รายละเอียดของข้อมูลและการตีความ อาจทำให้ผู้อ่านงานวิจัยที่เป็นประชากรอื่นสามารถเข้าใจความหมายของจิตวิญญาณ และกลุ่มตัวอย่างในการทำกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประกอบด้วย แพทย์ พยาบาล อาสาสมัคร จากโรงพยาบาลและหลายภาคของประเทศผู้ใช้ประโยชน์จากงานวิจัยนี้จึงมีหลายกลุ่มที่จะนำผลการวิจัยไปใช้ได้

ข้อจำกัดของการวิจัย

1. การวิเคราะห์และการสรุปผลตามแนวทฤษฎีการสร้างทฤษฎีจากข้อมูล (grounded theory methodology) นั้นควรต้องใช้ข้อมูลจากหลายแหล่ง ได้แก่ การสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง กรณีศึกษา การสังเกต หรือเอกสารทุติยภูมิก็ได้ ทั้งนี้เพื่อให้การสรุปและตีความทำได้อย่าง น่าไว้วางใจ

2. ไม่สามารถให้กลุ่มตัวอย่างอ่านผลการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการตรวจสอบความเห็น ได้เนื่องจากข้อจำกัดด้านเวลาของการดำเนินการวิจัย

3. นิยามของจิตวิญญาณที่ได้จากการวิจัยครั้งนี้อาจไม่ครอบคลุมนิยามที่อาจปรากฏในกลุ่มผู้ทำงานที่คล้ายคลึงกัน แต่มีวัฒนธรรมและความเชื่อที่ไม่เหมือนกัน ทั้งนี้ผู้วิจัยไม่สามารถใช้ theoretical sampling ได้กับกลุ่มตัวอย่างที่คาดว่าจะมีสังกัปของจิตวิญญาณที่แตกต่างไปจากนี้

4. เครื่องมือที่จะใช้วัดและประเมินจิตวิญญาณ ได้รับการตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาจากทีมผู้วิจัย และผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก 3 ท่าน แต่ต้องมีการวิเคราะห์และตรวจสอบในขั้นต่อไปคือการตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้าง ความเที่ยงตรงในการทำนาย ความเที่ยงตรงตามสภาพ (concurrent validity) กำหนดเกณฑ์การตีความ กับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นเป้าหมายเพิ่มเติม จึงจะสามารถนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ