การแลกเปลี่ยนเรียนรู้กระบวนการจัดการเรียนการสอนเพื่อความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์” (11)

ศิษย์คือลูก พอเรามีตรงนี้แล้ว เราก็ต้องทำตัวเป็นพ่อ แล้วเค้าก็ต้องทำตัวเป็นทั้งศิษย์ เป็นทั้งลูก แต่ยังต้องตกแต่งด้วยเรื่องราวมากมาย ด้วยความศรัทธา ด้วยความห่วงใย ด้วยอะไรมากมาย จนกระทั่งมาถึงตรงนี้แล้ว ถือว่าสำเร็จในระดับนึง เพราะเด็กจบไปไม่ว่ากี่ปีก็จะกลับมาหา ถือว่ามีความกตัญญูที่ถาวร เข้าใจคอนเซ้ปของชีวิตว่ามันคืออะไร และผมก็ยังใช้คำนี้อยู่ตลอดเวลาว่าศิษย์คือลูก มีอีกประการหนึ่งอันนี้อาจจะนอกเหนือประเด็นไปนิดนึงอันนี้คือที่ผมอธิฐานไว้ ผมแต่งงานแล้ว ผมไม่มีลูกผมก็เลยรักเด็ก ๆ เหมือนลูก…

และลองเปรียบเทียบกับข้อความต่อไปนี้

…พอเค้าผ่านมือเราไปแล้วเนี้ย เขาไม่รู้จักเรา เขาก็กลายเป็นนักเรียนแพทย์ นักเรียนวิศวะ หลัง ๆ เจอครูเขาก็จะเอาหนังสือบัง ดิฉันก็มีความรู้สึกว่าเออ เค้าคงเก่งด้วยตนเองละเน๊าะ เค้าคงไม่ได้นึกถึงเราเท่าไหร่หรอก ดิฉันก็เลยหันมาสนใจพวกด้อยโอกาส สอนแล้วสนุก…

…แต่เด็กที่เราจะสามารถเห็นว่าเปลี่ยนแปลงได้ชัดเจนคือเด็กกลุ่มอ่อน แล้วเด็กกลุ่มนี้จะเป็นเด็กที่มีความกตัญญูรู้คุณมากกว่าเด็กกลุ่มเก่งหรือกลุ่มปานกลางด้วยค่ะ เด็กกลุ่มนี้จะมีความอดทน…เค้าจะเป็นคนที่มีความกตัญญูฝังอยู่ในใจเลย…

เห็นได้ว่าอีกองค์ประกอบหนึ่งคือการได้รับความรักตอบจากเด็ก หรือที่เข้าใจได้ด้วยคำว่า “ความกตัญญูรู้คุณ”

ในส่วนของ “จิตวิญญาณความเป็นครู” นั้นมีลักษณะเช่นใด แน่นอนว่าที่ดูจะขาดไม่ได้คือเรื่องวิชาการ

…จิตวิญญาณของความเป็นครู ที่เราพูดมาโดยตลอดตั้งแต่เมื่อวาน ถึงวันเนี้ย คือจะเน้นที่การสอนเด็ก การสร้างคน การอยากให้เด็กเก่งอังกฤษ แต่ในกรณีที่เราต้องรับนโยบายต่างๆมามากมายนะค่ะ เราต้องมาบริหารจัดการต่อตรงเนี่ยอะ มันเหมือนกับเข้ามาแทรกแซง บทบาทหน้าที่ของความเป็นครูที่เราอยากจะทำเพื่อสิ่งตรงนี้…

แต่น้ำหนักจริงๆ แล้วดูจะอยู่ที่การเป็นผู้ให้ เป็นผู้เสียสละ

…เป็นคนมีจิตวิญญาณในความเป็นครูสูงเพราะว่าพี่ชายเป็นครูพ่อเป็นครูคือตระกูลเป็นครูหมด เสร็จแล้วคิดเสมอว่าการเป็นครูนี้คือเป็นการให้ ให้โดยไม่ได้หวังสิ่งตอบแทนคือให้ตลอดเวลาและไม่หวังว่าเราจะได้ความดีความชอบหรือว่าให้แล้วเราจะได้อะไรมาตอบแทนคือให้ให้ไปเรื่อยๆคือเค้าต้องการอะไรก็ให้…

…สงสาร มันเลยมีความรู้สึกว่าเราต้องให้เค้าเยอะๆ สอนเค้าเยอะให้เค้าเยอะๆ ก็เลยอะไรที่เป็นครู ครูให้เด็กได้ก็จะให้หมดเลย ให้ทั้งความรักให้ทั้ง คือเป็นให้หมดทุกอย่าง ถ้าพูดถึงจิตวิญญาณของความเป็นครูนะคะเป็นได้หมดทุกอย่างสำหรับเด็ก ต้องเป็นทั้งแม่ เป็นทั้งเพื่อน เป็นทั้งครู เป็นหมดทุกอย่างให้เค้า…

…การเป็นครูต้องมีคุณภาพ ไม่ใช่สักแต่เป็นครู การเป็นครูต้องทำหน้าที่ให้ครบ และก็ที่สำคัญก็คือครูต้องเสียสละ ครูต้องไม่เป็นผู้รับอย่างเดียว ครูต้องเสียสละ บางครั้งกำลังทรัพย์ส่วนตนก็ต้องเสียสละด้วย อุทิศร่างกาย อุทิศความคิด อุทิศจิตวิญญาณของความเป็นครูเพื่อสร้างคนรุ่นใหม่ นักเรียนจะดีหรือสังคมจะดี…

…ถ้าหากว่าครูเขาสอนนักเรียนโดยที่ เข้าถึงความรู้สึกจริงๆ ของเด็กเนี๊ยนะครับ สอนด้วยจิตวิญญาณของความเป็นครู ที่อยากจะให้เด็กจริงๆ เนี๊ย ผมว่าไม่น่าจะมีปัญหาตรงนี้ แต่ที่เราสอน เราสอนแบบฉาบฉวย เสียมากกว่า เออ..พอให้ผ่านๆ ไป ให้พอจบ ๆ ไปนะครับ…

…อาชีพครูนั้นเป็นอาชีพที่แตกต่างจากอาชีพอื่น อาชีพอื่น เอ่อบางอาชีพนะคะ มาตอนแปดโมงบริการ บริการประชาชนเสร็จก็กลับบ้าน ก็ไม่เอาอะไรยึดติดไปนะคะ อาชีพครูเป็นอาชีพที่ว่าต้องคลุกวงในอยู่กับนักเรียนคือรู้ปัญหา ตั้งแต่ปัญหาเล็กถึงปัญหาใหญ่และส่วนมากนะคะเป็นผู้ให้และเป็นผู้ที่แก้ปัญหาคือแก้ปัญหาตั้งแต่ในครอบครัวของเขาการกินการอยู่นี่ครูรู้หมดนะคะ ทีนี้นอกจากการให้ ให้ความรู้ ให้คุณธรรม ให้วินัย ให้กำลังทรัพย์ ให้กำลังกาย ให้แรงใจและทุกอย่าง…

นอกจากนี้ ยังต้องเป็นผู้มีความอดทนและให้อภัย

… ครูต้องมีความอดทนและอดกลั้นมากครูต้องมีความอดทนสูง อดทนต่อสิ่งยั่วยุต่างๆ นักเรียนอะนะคะมาจากต่างพ่อต่างแม่ต่างพื้นฐานต่างการอบรมบางคนก็น่ารัก แต่บางคนก็ก้าวร้าว ครูต้องอดทนให้ได้…

…จิตวิญญาณความเป็นครูที่มีและทำให้เราฝ่าฟันเหตุการณ์ต่างๆมาได้ก็คือการให้อภัยนักเรียนตรงนั้นคือเรามองว่าเด็กถ้าเค้ารู้เรื่องทุกอย่างแล้วเค้าจะมาโรงเรียนทำไมอะนะคะเพราะฉะนั้นครูจะต้องเป็นแม่เป็นคนที่สอนความเป็นมนุษย์ให้กับเค้านะคะไม่ใช่สอนให้เค้าอ่านออกเขียนได้เพียงอย่างเดียว แต่ว่าจะสอนยังไง และขณะเดียวกันครูจะต้องเป็นแบบอย่างให้กับเด็ก ไม่ใช่ว่าครูบันดาลโทสะหรือทำใดๆควบคุมอารมณ์ตัวเองไม่ได้…

…เราจะต้องรู้จักให้อภัยเด็ก จิตวิญญาณความเป็นครูแม้ว่าครั้งหนึ่งเค้าเคยทำให้เราโกรธมากแต่ถ้าเราไปโกรธเค้าอย่างนี้เค้าจะ คือครูไม่น่าจะโกรธเด็กนะคือในความรู้สึกว่าความไร้เดียงสาของเค้ายังมีแล้วเค้ายังมีสิทธิ์ที่จะพลิกไปอีกแบบหนึ่งได้…

ยังมีองค์ประกอบอื่นๆ อีก ได้แก่ การขจัดสิ่งไม่ดี การปฏิบัติต่อเด็กอย่างเสมอภาค ให้ความเป็นธรรม เอาใจใส่เด็กแต่ละคน และเป็นแบบอย่าง