การสังเคราะห์ความรู้ทางด้านการพัฒนาจิตปัญญา(วิญญาณ) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้กระบวนการจัดการเรียนการสอนเพื่อความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์

– ให้นักเรียนพยายามตอบปัญหาพื้นฐานของชีวิตด้วยตนเอง (เช่น เกิดมาทำไม) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อนักเรียนเริ่มมีความสนใจในการทำความเข้าใจตนเองมากขึ้น

– ให้นักเรียนตระหนักถึงตัวตน ศักยภาพ จุดแข็งจุดอ่อน และความปรารถนาที่จะบรรลุเป้าหมาย

– ให้นักเรียนได้มีความรู้ ทักษะ และคุณสมบัติต่างๆ ที่จะช่วยในการแสวงหาความหมายของชีวิต

– ให้นักเรียนมีสุขภาวะในด้านนามธรรม (non-material well-being) อันได้แก่ความตระหนักในคุณค่าที่เกินไปกว่าคุณค่าทางวัตถุ คือ ลาภ ยศ สรรเสริญ1

แนวคิดสำคัญคือ “อัตตาณัติ” (autonomy)2  แนวคิดดังกล่าวเป็นกรอบสำหรับทำความเข้าใจ “ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์” “สิทธิ” หรือ “เสรีภาพ” ของตะวันตกในปัจจุบัน

การเคารพอัตตาณัติของบุคคลก็คือการไม่แทรกแซงขัดขวางกระบวนการตัดสินใจและข้อมูลสำหรับการตัดสินใจ นอกจากนี้ ยังต้องส่งเสริมกระบวนการตัดสินใจและข้อมูลสำหรับการตัดสินใจด้วย การไม่เคารพการตัดสินใจเลือกของบุคคลจะเป็นการไม่เคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ กล่าวคือ เป็นการลดทอนบุคคลลงเป็นเพียงเครื่องมือที่นำไปสู่เป้าหมายของเรา (ไม่ใช่เป้าหมายของเขา)

แม้จะมีวิธีการอื่นๆ ที่ดูจะไปได้ด้วยดีกับการเคารพอัตตาณัติ แต่คำถามยังคงอยู่ว่าการสาบานและประจานเป็นการส่งเสริมอัตตาณัติของเด็กหรือไม่ ในกรณีของผู้ใหญ่ การบีบคั้นทางอารมณ์เช่นนี้ โดยมากจะถือเป็นการละเมิดอัตตาณัติ

เป็นเรื่องน่าสนใจว่าระบบการประเมินผลอย่างเป็นรูปธรรม ไม่ว่าจะเป็นคะแนน รางวัลหรือการสอบเข้าได้ รวมถึงระบบการแข่งขันนั้น มีปรากฏชัดในระบบการศึกษา อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาในแง่ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์แล้ว การวัดค่าบุคคลเช่นนั้นเป็นการทอนค่าความเป็นคน เนื่องจากเป็นการแสดงว่าบุคคลมีคุณค่าได้เพียงมิติเดียวเท่านั้น

(จิตวิญญาณครู)แต่น้ำหนักจริงๆ แล้วดูจะอยู่ที่การเป็นผู้ให้ เป็นผู้เสียสละ

…เป็นคนมีจิตวิญญาณในความเป็นครูสูงเพราะว่าพี่ชายเป็นครูพ่อเป็นครูคือตระกูลเป็นครูหมด เสร็จแล้วคิดเสมอว่าการเป็นครูนี้คือเป็นการให้ ให้โดยไม่ได้หวังสิ่งตอบแทนคือให้ตลอดเวลาและไม่หวังว่าเราจะได้ความดีความชอบหรือว่าให้แล้วเราจะได้อะไรมาตอบแทนคือให้ให้ไปเรื่อยๆคือเค้าต้องการอะไรก็ให้…

…สงสาร มันเลยมีความรู้สึกว่าเราต้องให้เค้าเยอะๆ สอนเค้าเยอะให้เค้าเยอะๆ ก็เลยอะไรที่เป็นครู ครูให้เด็กได้ก็จะให้หมดเลย ให้ทั้งความรักให้ทั้ง คือเป็นให้หมดทุกอย่าง ถ้าพูดถึงจิตวิญญาณของความเป็นครูนะคะเป็นได้หมดทุกอย่างสำหรับเด็ก ต้องเป็นทั้งแม่ เป็นทั้งเพื่อน เป็นทั้งครู เป็นหมดทุกอย่างให้เค้า…

…การเป็นครูต้องมีคุณภาพ ไม่ใช่สักแต่เป็นครู การเป็นครูต้องทำหน้าที่ให้ครบ และก็ที่สำคัญก็คือครูต้องเสียสละ ครูต้องไม่เป็นผู้รับอย่างเดียว ครูต้องเสียสละ บางครั้งกำลังทรัพย์ส่วนตนก็ต้องเสียสละด้วย อุทิศร่างกาย อุทิศความคิด อุทิศจิตวิญญาณของความเป็นครูเพื่อสร้างคนรุ่นใหม่ นักเรียนจะดีหรือสังคมจะดี…

…ถ้าหากว่าครูเขาสอนนักเรียนโดยที่ เข้าถึงความรู้สึกจริงๆ ของเด็กเนี๊ยนะครับ สอนด้วยจิตวิญญาณของความเป็นครู ที่อยากจะให้เด็กจริงๆ เนี๊ย ผมว่าไม่น่าจะมีปัญหาตรงนี้ แต่ที่เราสอน เราสอนแบบฉาบฉวย เสียมากกว่า เออ..พอให้ผ่านๆ ไป ให้พอจบ ๆ ไปนะครับ…

…อาชีพครูนั้นเป็นอาชีพที่แตกต่างจากอาชีพอื่น อาชีพอื่น เอ่อบางอาชีพนะคะ มาตอนแปดโมงบริการ บริการประชาชนเสร็จก็กลับบ้าน ก็ไม่เอาอะไรยึดติดไปนะคะ อาชีพครูเป็นอาชีพที่ว่าต้องคลุกวงในอยู่กับนักเรียนคือรู้ปัญหา ตั้งแต่ปัญหาเล็กถึงปัญหาใหญ่และส่วนมากนะคะเป็นผู้ให้และเป็นผู้ที่แก้ปัญหาคือแก้ปัญหาตั้งแต่ในครอบครัวของเขาการกินการอยู่นี่ครูรู้หมดนะคะ ทีนี้นอกจากการให้ ให้ความรู้ ให้คุณธรรม ให้วินัย ให้กำลังทรัพย์ ให้กำลังกาย ให้แรงใจและทุกอย่าง

—————————————————–

1Wringe(2002:158)

2ดู Harris (1992)