ต้องการมีลูกคนเดียวแล้วพอ หรือการมีลูกคนหนึ่งแล้วต้องการอีกคนหนึ่งแล้วพอ คือมีข้อกำหนดที่ออกมาชัดเจน
ในแง่ของการคัดเลือกพันธุกรรมค่อนข้างจะลำบากในการตัดสินใจ ในทางปฏิบัติจริง ก็มีการเลือกอย่างกลายๆ อยู่แล้วว่า เพราะในแง่ผู้ปฎิบัติเราก็อยากให้คนไข้ที่มาทำกับเราท้องให้มากที่สุด เพราะฉะนั้นเราต้องเลือกสิ่งที่ดีที่สุดให้กับคนไข้
ส่วนตัวอ่อนที่เหลือจะทำอย่างไร ขอยกตัวอย่างคล้ายๆกับไข่ของหญิงที่ตกลงมาทุกวันทุกวันมันก็ถือเป็นสิ่งมีชีวิต เมื่อตกอยู่ในท้องเรา เราก็ทำให้มันตายไป หรือว่าเชื้ออสุจิที่มีการช่วยตัวเองให้มันออกมาเป็นการฆ่าเขาหรือเปล่า มันก็ออกมาเป็นล้านๆตัว เราไม่ได้ฆ่าชีวิตคนเป็นล้านๆ คนเสมอๆ หรือเปล่า
การเลือกพันธุกรรมตามความต้องการ ทำไมหมอศัลยกรรมตกแต่งทำให้หญิงสวยขึ้นได้ ทำไมผู้หญิงคนนั้นจะคัดเลือกลูกของเขาให้สวยหล่อไม่ได้ เราก็คิดไปได้มันก็จะมีข้อถกเถียงตลอดเวลาในลักษณะของทางนั้น
ในภาพรวมอยากจะได้ภาพที่ว่าเทคโนโลยีนี้ต้องมีองค์กรมาควบคุม ซึ่งอาจจะเป็นแพทยสภา ราชวิทยาลัย สูตินารีแพทย์ หรือองค์กรอะไรก็ได้ที่รวบรวมเข้ามา ร่างเป็นตุ๊กตาออกมาเป็นแนวปฏิบัติเลยว่า เราควรจะทำอย่างไร ไม่ควรจะทำอะไร เสร็จแล้วก็เอาตุ๊กตามาเสนอในประชาคม อาจจะเป็นแบบพวกเราอย่างนี้ก็ได้ครับ หลายๆ ความเห็นแล้วดูว่าประชาคมยอมรับไหม ซึ่งเป็นแนวทางปฏิบัติ แต่ผมอยากให้กฎหมายออกมารับรองสิ่งที่เราทำขึ้น อย่างเช่นการตั้งครรภ์แทนอย่างนี้
ความเห็นที่ 9
ถ้าเราทำตัวนี้ได้ก็จะเป็นการสื่อสารกับสังคมให้เข้าใจว่า ตัวอ่อนคืออะไร ถ้าเราพูดว่า “ตัวอ่อน” แล้วทำความเข้าใจได้ว่าตัวอ่อนคืออะไร เมื่อเราพูดว่าเราจะไปเป็นจะต้องทำลายตัวอ่อนเราก็จะมีความเข้าใจมากขึ้นว่า การทำลายตัวอ่อนมันคือการทำลายอะไร เพราะไม่ใช่ให้คนคิดว่าตัวอ่อนนี้จะเป็นทารก นั่นคนจะเป็นกังวลมากว่ามันจะบาปหรือไม่ ความเข้าใจเช่นนี้มีความหมายมากในการที่จะทำให้คนเข้าใจตัวเทคโนโลยี และทางเลือกที่จะเกิดขึ้นกับชีวิตเขา
ความเห็นที่ 10
ในด้านของนักพันธุ์ศาสตร์ ถือว่าไม่มีคนใดที่จะสมบูรณ์แบบ (completely perfect) ทางพันธุกรรม จะขอกล่าวตรง ๆ ว่าผู้พูดเองก็เป็นโรคทางพันธุ์ศาสตร์ คือ G6PD เป็นโรคเม็ดเลือดแดงแตกง่าย และเป็นพาหะของโรคทธาลัสซีเมียด้วย แต่ก็สามารถมายืนพูดอยู่ตรงนี้ได้ และสามารถดำรงความเป็นแพทย์อยู่ตรงนี้ได้แม้จะมีพันธุกรรมที่ผิดปกติก็ตาม และยังมีบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์หลายคนที่เป็นโรคพันธุกรรมเพราะฉะนั้นใครจะป็นคนตัดสินว่าโรคทางพันธุกรรมโรคใดมีความร้ายแรง ขนาดไหน
อีกตัวอย่างที่ถูกหยิบยกขึ้นมาเสมอ คือ โรค Down’s syndrome ผมเองได้มีโอกาสได้ดูแลเด็กกลุ่มอาการดาวน์ค่อนข้างมาก ก็พบว่าเด็กดาวน์บางคนที่เราคิดว่าเขาปัญญาอ่อน แต่ความสามารถด้านอื่นของเขาผมคิดว่าเขามีความสามารถเหนือกว่าผมด้วยซ้ำ เช่น เด็กดาวน์คนหนึ่งที่เขาสามารถเต้น และสามารถแสดงออกทางดนตรีซึ่งเหนือกว่าผมแน่นอน ไม่ว่าจะเป็นด้านศิลปะ ก็เหนือกว่าผมและเหนือกว่าคนทั่วๆไป
อีกอย่างหนึ่งก็คือการจะคัดเลือกทางพันธุ์กรรมใดๆ หรือการทดสอบทางพันธุกรรม (genetic testing) แพทย์ทางพันธุศาสตร์จะถือว่าต้องมีการให้คำปรึกษา (counseling) ก่อน เรียกว่า pre-test counseling ก่อนที่จะทดสอบทุกอย่าง ต้องให้ความรู้ไม่ว่าจะเป็นญาติผู้ป่วย ผู้ป่วย หรือคู่สามีภรรยา ว่าโรค ทางพันธุกรรมนั้นมีอาการอย่างไรและมีความรุนแรงมากน้อยเพียงใด โรคทางพันธุกรรมบางอย่างอาจจะมีความรุนแรงมาก แต่ก็มีบางโรคที่ไม่ได้รุนแรงอย่างที่เราคิด ขอยกตัวอย่าง เด็กกลุ่มอาการ Down’s syndrome ที่เรารู้จักกันดี เด็กดาวน์จะมีตั้งแต่ IQ ที่ปัญญาอ่อนมาก ๆ จนกระทั่งถึงที่สามารถเรียนรู้ร่วมได้ คือสามารถเข้าโรงเรียนได้เรียนร่วมกับปกติได้ ซึ่งมีความช่วยเหลือจากสังคมและสังคมได้ให้การยอมรับมากขึ้น มีการให้การศึกษาแก่พวกเขา เขาสามารถเรียนร่วมกับเด็กอื่นได้ หลายท่านอาจจะรู้จัก “น้องลูกน้ำ” ซึ่งตอนนี้จบปริญญาตรีแล้ว ดังนั้นจะเห็นได้ว่าค่อนข้างหลากหลายไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นอย่างที่เราคิด ดังนั้นเราต้องให้ข้อมูลกับคู่สามีภรรยา ต้องให้คนที่ได้รับผลกระทบโดยตรงซึ่งก็คือตัวอ่อนเป็นคนตัดสินใจ ซึ่งอันนั้นมันทำไม่ได้ในทางปฏิบัติ เพราะฉะนั้นก็ต้องให้คู่สามีภรรยาเป็นผู้ตัดสินใจ ซึ่งต้องเป็นการตัดสินใจที่อยู่บนพื้นฐานของข้อมูลที่ถูกต้องและละเอียดมากที่สุด