อุ้มบุญ (10) หลักกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (ต่อ)

กรณีที่ 1 การปฏิสนธินอกร่างกาย (IVF)

กรณีที่ 2 การใช้อสุจิหรือไข่ของผู้อื่น (artificial insemination by donor-AID, Intra-cytoplasmic sperm injection-ICSI)

กรณีที่ 3 การเคลื่อนย้ายเซลล์สืบพันธุ์เข้าไปในท่อนำไข่ (GIFT, ZIFT, PROST) และการอุ้มบุญ (surrogacy)

ศาสนาพุทธ

มีผู้ศึกษาหลักธรรมทางพุทธศาสนา และปรับใช้กับเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ที่น่าสนใจ โดยจำแนกเป็นกรณีต่างๆ ดังนี้

กรณีที่ 1 หลักพุทธศาสนายอมรับการปฏิสนธินอกร่างกาย (IVF) เพราะเป็นวิธีการช่วยให้บุตรเท่านั้น แต่ไม่สนับสนุนการสร้างตัวอ่อนจำนวนมาก ที่ต้องกำจัดตัวอ่อนหรือใช้ในการทดลองทางวิทยาศาสตร์ เพราะละเมิดศีลข้อแรก การห้ามฆ่าสัตว์

กรณีที่ 2 การใช้อสุจิหรือไข่ของผู้อื่นนำมาใช้กับคู่สามี ภริยา แม้อาจไม่ถือว่าได้ละเมิดศีลข้อ 3 การห้ามประพฤติในกามหรือการเป็นชู้ก็ตาม แต่ก็ไม่เหมาะสมเพราะทำให้เกิดวิญญาณธาตุของผู้อื่น กระทบต่อความสัมพันธ์ส่วนตัวและความมั่นคงของคู่สามี ภริยา

องค์ทะไลลามะ ผู้นำทางจิตวิญญาณของชาวธิเบต ผู้นับถือศาสนาพุทธ ลัทธิวัชรยานได้กล่าวว่า การเกิดใหม่ของมนุษย์เริ่มเมื่อวิญญาณธาตุ(วิญญาณขันธ์)เข้าสู่ครรภ์ ในขณะที่เชื้อของฝ่ายชายผสมกับเชื้อของฝ่ายหญิงแล้ว หมายความว่าธาตุต่างๆ มาประชุมพร้อมกันภายในครรภ์ หรือบางกรณีก็เกิดร่างอย่างแรก (embryo)นอกครรภ์ได้53    สำหรับวิธีการปฏิสนธิเทียมโดยการนำเชื้อ (ฝ่ายชายหรือฝ่ายหญิง) หรือร่างอย่างแรกไปแช่แข็งไว้ ท่านให้ความเห็นว่า ร่างหรือสัตว์(ชีวิต)ที่จะเกิดใหม่จะต้องทนทุกข์ทรมานในความหนาวเย็นหรือไม่ ตามคำอธิบายในคัมภีร์ของฝ่ายพุทธ ร่างใหม่ย่อมมีความรู้สึกอย่างหยาบๆ แล้วเช่นกัน (แม้ว่าอวัยวะที่จะแลเห็นอะไรได้จะยังไม่มีขึ้นก็ตาม) ถ้าเรายอมรับว่าร่างใหม่ต้องทนทุกข์จากความหนาวเย็น คนที่เอาร่างไปแช่แข็งไว้ก็เท่ากับประกอบอกุศลกรรมด้วยหรือไม่ ขึ้นอยู่กับเจตนาของคนๆ นั้นเป็นสำคัญ เจตนาเป็นไปทางใด ก็ส่งไปถึงผลกรรมในทางนั้น54

ศาสนาคริสต์

กรณีที่ 1 นิกายคาทอลิก ยึดถือ ‘The Congregation for the Doctrine of the Faith’ (1987) ซึ่งเป็น Donum vitae ยอมรับเด็กที่เกิดจากวิธีนี้ว่าเป็นเสมือนของขวัญที่ยิ่งใหญ่จากพระเป็นเจ้า (great gift) แต่ก็กล่าวถึง IVF และ ET ที่เป็นการปฏิสนธินอกร่างกายว่า เทคโนโลยีที่เข้ามามีอำนาจเหนือชีวิตและชะตากรรมของมนุษย์ ถือว่าเป็นการกระทำที่ขัดต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และหลักความเท่าเทียมกันของเด็กและบิดา มารดา นอกจากนี้ วิธีการใดๆ ที่ต้องทำลายตัวอ่อนย่อมไม่อาจทำได้ รวมถึงกรณีการคัดเลือกทางพันธุกรรม, การจัดเก็บตัวอ่อนด้วยวิธีแช่แข็ง เพราะอาจทำอันตรายหรือทำให้ตัวอ่อนหยุดการเติบโตแม้เพียงชั่วระยะเวลาหนี่งก็ตาม

อย่างไรก็ดี คริสตศาสนายอมรับการทดลองตัวอ่อนที่ไม่อันตรายตัวอ่อน แต่การทดลองตัวอ่อนที่ช่วยรักษาความผิดปกติหรือโรคของตัวอ่อนย่อมทำได้ ทั้งนี้ ต้องยึดถือหลักการสำคัญ 2 ข้อคือ ข้อแรก ชีวิตมนุษย์ตั้งแต่เริ่มแรกย่อมได้รับการเคารพจากมนุษย์อื่นโดยไม่มีเงื่อนไขใดๆ และข้อสอง การปฏิสนธิเทียมจะต้องไม่ลบล้างความเชื่อทางศาสนาเรื่องผู้ให้กำเนิดมนุษย์ (พระเป็นเจ้า) คู่สามี ภริยาต้องแสดงความรักแก่กันตามธรรมชาติ เคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์55

ในเรื่องการตั้งครรภ์แทนหรืออุ้มบุญนั้น ศาสนาคริสต์นิกายคาทอลิก56   ถือว่าหญิงที่อุ้มท้องแทนหญิงอื่น57 ไม่อาจถือเป็นมารดาของเด็กได้ เพราะขาดหน้าที่ ความรักของมารดาต่อลูกของตน การอุ้มบุญจึงทำลายสถาบันครอบครัว เกิดปัญหาทางศีลธรรม สภาพจิต

ศาสนาอิสลาม

หลักศาสนาอิสลามว่าด้วยวิถีชีวิตของชาวอิสลามิกชื่อว่า ‘Sharee’ (Shari’ah) เป็น พระวจนะของพระเป็นเจ้า มีขึ้นเพื่อคุ้มครองกำเนิดทั้ง 5 สิ่ง ได้แก่ self (รวมถึงชีวิต, สุขภาพ และการให้กำเนิดชีวิต), วิญญาณ, ศาสนา, เกียรติ (รวมถึงการสมรส) และความเป็นเจ้าของ มีผู้ตีความว่าจากคัมภีร์โกรานว่า วิธีปฏิสนธิเทียมทุกกรณีจะต้องทำโดยใช้อสุจิหรือไข่ของคู่สามี ภริยาเท่านั้น

ดังนั้น กรณีที่ 1 ทำได้โดยไม่ขัดหลักศาสนาอิสลาม เมื่อไม่เกี่ยวข้องกับใช้อสุจิหรือไข่ของผู้อื่น และหญิงนั้นจะต้องสมรสแล้ว สำหรับกรณีที่ 2 จึงขัดหลักศาสนาอิสลาม ถือว่าคู่สมรสมีชู้ การใช้อสุจิของชายอื่นเป็นสิ่งที่มิอาจยอมรับได้58   และในกรณีที่ 3 ต้องห้ามเช่นกัน เพราะมารดาของเด็กจะต้องเป็นผู้ให้กำเนิดเด็กเท่านั้น [Holy Quran, (Abdullah Yusuf Ali trans., 1982), at 25:54, 58:2]59

เพราะฉะนั้นจึงอาจสรุปได้ว่า ตามหลักศาสนาต่างๆ มีความเห็นค่อนข้างสอดคล้องกันว่าการใช้เทคโนโลยีช่วยเจริญพันธุ์จะขัดกับหลักศีลธรรมในกรณีที่มีการทำอันตรายหรือทำลายชีวิตที่เกิดขึ้นแม้ยังพัฒนาไม่ถึงขั้นเป็นมนุษย์ก็ตาม อีกทั้งการปฏิสนธิที่มิได้เกิดขึ้นจากเซลส์สืบพันธุ์ของคู่สมรสก็มิใช่สิ่งที่เหมาะสมและต้องห้ามในบางศาสนาด้วย เพราะฉะนั้นการปฏิสนธิเทียมจึงอาจกระทำได้โดยไม่ขัดกับหลักศาสนาสำคัญของโลกในกรณีที่จำกัดเท่านั้นโดยเฉพาะในกรณีที่ใช้เซลส์สืบพันธุ์ของคู่สมรสโดยไม่มีผู้อื่นเข้ามาเกี่ยวข้อง

————————————–

49 Decision of 11 October 1974, In Case No.15.664, 16 June 1995.

50 Case No.212/1996, 19 December 1996, (1996) 3 Bulletin on Constitutional Case-Law 426.

51 Human Rights Committee, General Comment 6 (1982) และกรุณาดู Camargo v.Colombia, Human Rights Committee,

Communication No.45/1979, HRC 1982 Report, Annex XI

52 Damien Keown, Buddhism and Bioethics (New York:PALGRAVE, 2001), pp.135-138.

53 ทะไลลามะ, มรรควิธีแห่งการฝึกตน หนทางเข้าถึงชีวิตที่เปี่ยมความหมาย แปลโดย ส.ศิวรักษ์(กรุงเทพมหานคร,สวนเงินมีมา,2545),หน้า 42-43.

54 ทะไลลามะ, เล่มเดียวกัน, หน้า 43.

55 Nicholas Tonti-Filippini, ‘The Catholic Church and Reproductive Technology’, article in Helga Kushe and Peter Singer (editors),Bioethics An Anthology (Oxford:Blackwell Publishing, 1999), pp.94-95.

56 The Congregation for the Doctrine of the Faith ชือ INSTRUCTION ON RESPECT FOR HUMAN LIFE IN ITS ORIGIN AND ON THE DIGNITY OF PROCREATION REPLIES TO CERTAIN QUESTIONS OF THE DAY กล่างถึงเรื่องอุุ้มบุญ ดังนี้

3. IS “SURROGATE”*MOTHERHOOD MORALLY LICIT?

No, for the same reasons which lead one to reject heterologous artficial fertilization: for it is contrary to the unity of marriage and to the dignity of the procreation of the human person. Surrogate motherhood represents an objective  failure to meet the obligations of maternal love, of conjugal fidelity and of responsible motherhood; it offends the dignity and the right of the child to be conceived, carried in the womb, brought into the world and brought up by his own parents; it sets up, to the detriment of families, a division between the physical,  psychological and moral elements which constitute those families.

57 ดูเชิงอรรถที่ 2 ของ The Congregation for the Doctrine of the Faith

By “surrogate mother” the Instruction means:

a)the woman who carries in pregnancy an embryo implanted in her uterus and who is genetically a stranger to the embryo because it has been obtained through the union of the gametes of “donors”.She carries the pregnancy with a pledge to surrender the baby once it is born to the party who commissioned or made the agreement for the pregnancy.

b) the woman who carries in pregnancy an embryo to whose procreation she has contributed the  donation of her own ovum, fertilized through insemination with the sperm of a man other than her husband. She carries the pregnancy with a pledge to surrender the child once it is born to the party who commissioned or made the agreement for the pregnancy.

58 COOK, Rebecca J., DICKens, Bernard M. and FATHALLA, Mahmoud F., Reproductive Health and Human Rights: Integrating Medicine, Ethics and Law, op. cit., p. 309.

59 อ้างจาก Hossan E. Fadel, “THE ISLAMIC VIEWPOINT ON NEW ASSISTED REPRODUCTIVE TECHNOLOGIES”, Fordham Urban Law Journal, (์November 2002), para.152.