Area-based Education : ABE การจัดการศึกษาเชิงพื้นที่ ต้องแก้ปัญหาใหญ่จากจุดเล็ก โดย นพ.สุภกร บัวสาย

ผู้จัดการสำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) “เริ่มต้นจากการคัดเลือกครูที่มีศักยภาพรวมถึงคัดเลือกจังหวัดที่มีการบริหารจัดการและมีส่วนร่วมที่ดี โดยให้แต่ละพื้นที่ร่วมกันคิดวิธีการปฏิรูปการศึกษาในจังหวัดของตัวเอง ซึ่งพบว่าแต่ละจังหวัดมีรูปแบบการทำงาน 2 ลักษณะ คือ ตัวโครงการมีขอบเขตที่ชัดเจน เน้นแก้ปัญหาเป็นเรื่องๆ แต่มีจุดอ่อนที่มีคนสนใจเพียงไม่กี่คน ทำให้งานขาดความต่อเนื่อง และอย่างที่สอง คือไม่ได้ตั้งประเด็นใดประเด็นหนึ่ง แต่เริ่มจากการชวนเครือข่ายต่างๆ มาช่วยกันคิด เพื่อสร้างกลไกการทำงานระยะยาว แต่การทำงานค่อนข้างกว้าง ทำให้ไม่รู้จะเริ่มจากเรื่องใดก่อน ดังนั้นอาจต้องผสานทั้งสองรูปแบบ โดยให้อิสระในการคิดหาแนวทางของตัวเอง เลือกประเด็นดับจังหวัดรูประที่สนใจและถนัด หากปรับมุมมองให้เป็นทิศทางเดียวกันก็จะทำให้แก้ปัญหาชัดเจนขึ้น เพราะการปฏิรูประดับจังหวัดทำได้ง่ายกว่าระดับประเทศ”

พัฒนาโรงเรียนจากการกินอยู่ที่ดี อิ่มท้องแล้วค่อยพัฒนาวิชาการ โรงเรียนบ้านจันทร์ อ.กัลยานิวัฒนา จ.เชียงใหม่

จากพื้นที่รกร้างไม่เกิดประโยชน์โรงเรียน สภาพโรงเรียนทำให้เด็กไม่อยากมาโรงเรียน ครูละเลยไม่เอาใจใส่เด็ก ต่างคนต่างอยู่ไม่พัฒนาตนเอง เด็กจำนวนมากอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ ผู้ปกครองไม่ศรัทธาครูและโรงเรียน ครอบครัวขาดความอบอุ่น วันหนึ่ง ผอ.บอกกับครูว่า เราต้องปฏิวัติโรงเรียนเป็นทางที่เราจะรอด การศึกษาต้องเรียกคืนความเป็นมนุษย์ แต่ก่อนที่จะขอความช่วยเหลือจากผู้อื่นที่ไกลตัว เราต้องขอความช่วยเหลือจากคนใกล้ตัวและช่วยตัวเองก่อน ถึงจะมีคนอยากให้ความช่วยเหลือเรา โดยประชุมครูสะท้อนความจริงจากนั้นประชุมผู้ปกครองชี้แจงเป้าหมายและลงมือทำ จนเห็นการเปลี่ยนแปลงในทุกๆ ด้านที่เคยเป็นปัญหา สมจิต ตาคำแสง ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านจันทร์ อ.กัลยานิวัฒนา จ.เชียงใหม่ กล่าวว่า “นักเรียนเป็นชาวเขา ใช่ภาษาถิ่น การสื่อสารระหว่างผู้ปกครองเป็นอุปสรรค์ต่อการพัฒนา บวกกับโรงเรียนห่างไกลจากตัวเมืองต้องใช้เวลาเดินทางกว่า 4 ชั่วโมง ในการปฏิรูปโรงเรียนเรามีแนวคิดว่าต้องช่วยเหลือตัวเองเต็มศักยภาพก่อนที่จะขอความช่วยเหลือคนอื่น สิ่งที่ต้องการที่สุด คือ กำลังสติปัญญาของครูในโรงเรียนที่จะเข้ามาร่วมมือ ความคาดหวังผลด้านวิชาการคงจะเป็นไปได้ยากสำหรับเด็กบนดอย ตอนนั้นเราคาดหวังให้เด็กอ่านออกเขียนได้ แต่ต้องมีทักษะชีวิตที่ดีก่อน โดยเริ่มจากปากท้องการกินดี ที่บ้านเด็กลำบาก มาโรงเรียนแล้วยังลำบากหรือนี่เป็นคำถามว่ามันเป็นความทุกข์ซ้ำเติมให้กับเด็ก การเริ่มตั้งแต่ให้เด็กกินดี อาจจะเป็นการเริ่มพัฒนาโรงเรียนที่ไม่เหมือนโรงเรียนอื่นที่พัฒนาด้านวิชาการ เด็กเหล่านี้ชีวิตไม่ห่างกับการเกษตรเลย แต่ตอนแรกสิ่งที่ผู้ปกครองเด็กสะท้อนถึงโรงเรียนก็คือ เขาไม่ต้องการให้โรงเรียนสอนลูกเขาทำเกษตรคิดว่าสิ่งที่ครูเริ่มจับเสียมจอบไม่ใช่แนวทางจึงไม่สนับสนุน พอเด็กบ้านจันทร์ที่เรียนจบในเมืองแล้วกลับมาที่บ้าน ปรากฏว่าเป็นเด็กหัวปานกลางไม่มีที่ไหนรับทำงานก็กลับมาอยู่บ้าน จับจอบจับเสียมไม่เป็น ผู้ปกครองเริ่มตระหนักว่าเรียนแบบนั้นมันไม่ใช่ชีวิตจริง เราต้องเริ่มต้นพัฒนาด้วยการสร้างทักษะชีวิตให้เด็กก่อน เมื่อโรงเรียนทำให้เขาเห็น เด็กก็เอาไปทำที่บ้าน ตอนนี้เราขยายพันธุ์พืชร่วมกับเด็กและแจกชาวบ้านด้วย เมื่อเด็กอิ่มท้องเราก็เริ่มพัฒนาด้านวิชาการ เราเรียนรู้ว่าแต่ละโรงเรียนเริ่มการพัฒนาที่ไม่เหมือนกันและต้องเริ่มด้วยตัวของเราเอง”

การศึกษาไทยในรอบ 100 ปี โดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี รองประธานมูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์

ที่ผ่านมามีแต่การท่องวิชา ทำให้คนคิดไม่เป็น ทำอะไรไม่ได้ จัดการไม่เป็น อยู่ร่วมกันไม่เป็น ไม่รู้ความจริงของประเทศ เพราะไม่ได้เรียนรู้จากการทำ การเรียนรู้ที่ดีที่สุดคือการเรียนรู้จากการลงมือทำ

พัฒนาโรงเรียนจากการกินอยู่ที่ดี อิ่มท้องแล้วค่อยพัฒนาวิชาการ โรงเรียนบ้านจันทร์

จากพื้นที่รกร้างไม่เกิดประโยชน์โรงเรียน สภาพโรงเรียนทำให้เด็กไม่อยากมาโรงเรียน ครูละเลยไม่เอาใจใส่เด็ก ต่างคนต่างอยู่ไม่พัฒนาตนเอง เด็กจำนวนมากอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ ผู้ปกครองไม่ศรัทธาครูและโรงเรียน ครอบครัวขาดความอบอุ่น
วันหนึ่ง ผอ.บอกกับครูว่า เราต้องปฏิวัติโรงเรียนเป็นทางที่เราจะรอด การศึกษาต้องเรียกคืนความเป็นมนุษย์ แต่ก่อนที่จะขอความช่วยเหลือจากผู้อื่นที่ไกลตัว เราต้องขอความช่วยเหลือจากคนใกล้ตัวและช่วยตัวเองก่อน ถึงจะมีคนอยากให้ความช่วยเหลือเรา โดยประชุมครูสะท้อนความจริงจากนั้นประชุมผู้ปกครองชี้แจงเป้าหมายและลงมือทำ จนเห็นการเปลี่ยนแปลงในทุกๆ ด้านที่เคยเป็นปัญหา

ความทุ่มเทของครู ผสานความร่วมมือจากชุมชน สร้างผลสัมฤทธิ์การเรียน โรงเรียนวัดไผ่เกาะโพธิ์งาม

ใครจะคาดคิดว่าโรงเรียนขนาดกลางในต่างจังหวัดแห่งนี้จะมีผลคะแนน O-Net สูงกว่าคะแนนเฉลี่ยระดับประเทศกว่าร้อยละ 60 ติดต่อในช่วง 10 ปี ผลสัมฤทธิ์การศึกษานี้เป็นผลมาจากความทุ่มเทตั้งใจของครูและผอ.ทั้งหมด 6 คน ในโรงเรียนวัดไผ่เกาะโพธิ์งาม จ.สุพรรณบุรี ที่สอนนักเรียน 147 คน ตั้งแต่ชั้น อ.1-ป.6

1 30 31 32 33 34 90