Blog Right Sidebar

จดหมายข่าว “ทางเลือกของการเรียนรู้”

แท้จริงแล้วการศึกษาทางเลือกย่อมไม่มีข้อจำกัดไม่ว่าทางใดทางหนึ่ง แต่ต้องเป็นกระบวนการบูรณาการทั้งจากพ่อแม่ ครอบครัว และสังคม บทบาทของพ่อแม่ต้องไม่ใช่ผู้ออกคำสั่ง แต่ต้องเป็นผู้คอยช่วยเหลือชี้แนะในเรื่องต่างๆได้

หนังสือ การศึกษาเปลี่ยนประเทศไทย ประเทศไทยเปลี่ยนการศึกษา

การศึกษาเปลี่ยนประเทศไทย-ประเทศไทยเปลี่ยนการศึกษา ที่สำคัญคือ เปลี่ยนการศึกษาที่เป็น ภาระ (load) ทางเศรษฐกิจของประเทศให้เป็น พลัง (energy) ทางเศรษฐกิจ อาจจะเรียกว่าเปลี่ยนจากการตั้งรับเป็นรุก

หนังสือ ระบบปฏิรูปการเรียนรู้ เพื่อการเรียนรู้ที่ดีของคนทั้งมวล (GOOD LEARNING FOR ALL)

การเรียนรู้ที่ดีเป็นสิ่งที่ประเสริฐที่สุดของมนุษย์ ที่สามารถสร้างคนให้ทำเป็น คิดเป็น และบรรลุความจริง ความดี ความงาม และความสุขได้ เป็นเครื่องมือแก้ปัญหาเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ที่ทำให้ประเทศเคลื่อนไปสู่ความอยู่เย็นเป็นสุข จึงควรมีความมุ่งมั่นร่วมกันที่จะปฏิรูปการเรียนรู้ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่ดีสำหรับคนทั้งมวล หรือ Good Learning for All (GLA) ตั้งแต่ในครอบครัว เด็กปฐมวัย นักเรียนในโรงเรียน การศึกษาในมหาวิทยาลัยทั้งหมด การเรียนรู้ในชุมชน ในองค์กร และในสังคม รวมทั้งการศึกษาของพระสงฆ์ โดยออกแบบระบบซึ่งมีองค์ประกอบครบ ที่จะขับเคลื่อนให้เกิดการเรียนรู้ที่ดีของคนทั้งมวลไปได้อย่างต่อเนื่อง ศาสตราจารย์นายแพทย์ประเวศ วะสี

หนังสือ สอนน้อย..เรียนรู้มาก

ระบบการศึกษาเป็นระบบที่ใหญ่มาก ถ้าเปลี่ยนจากการสอนเป็นเป็นส่งเสริมการเรียนรู้ ทุกสิ่งทุกอย่างจะเปลี่ยนไปหมด ประเทศไทยจะเปลี่ยนแปลงโดยสิ้นเชิง คุณภาพคนเป็นหัวใจของการปฏิรูปประเทศไทย เราไม่สามารถยกระดับคุณภาพคนไทยทั้งมวลได้ด้วยการสอน แต่อภิวัฒน์ได้ด้วยการปฏิรูปการเรียนรู้ ศ.นพ.ประเวศ วะสี

หนังสือ อ่านสร้างสมอง

การอ่านมีเวลาวิกฤตของตัวเอง กล่าวคือ เริ่มอ่านช้าจะไม่ทันการ การอ่านที่มีประโยชน์ต่อการกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเนื้อสมองไปในทางที่ก้าวหน้า จำเป็นต้องเริ่มตั้งแต่แรกเกิด นั่นคือพ่อแม่อ่านให้ฟัง และค่อยๆส่งเสริมให้เด็กอ่านหนังสือด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง ทั้งหมดนี้ควรทำและจำเป็นต้องทำในช่วง 10 ปีแรกของชีวิต เพราะการอ่านมิใช่เพียงให้รู้มาก แต่การอ่านเป็นไปเพื่อการเตรียมสมองส่วนหน้าของเด็กๆ ให้เติบโตกลายเป็นสมองที่มีประสิทธิภาพ สามารถคิดเชิงวิพากษ์ หรือคิดอย่างมีวิจารณญาณ ดังที่เรียกว่า “Critical Thinking” นั่นเอง นพ.ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์

1 36 37 38 39 40 92