Telangana กลายเป็นรัฐแรกในอินเดียที่บังคับให้มีการศึกษาเรื่องเพศที่ไม่ซ้ำแบบแผนเดิมในระดับบัณฑิตศึกษา โดยเนื้อหาของการศึกษาเรื่องเพศนี้สอดคล้องกับหนังสือเรียนเล่มใหม่ที่ชื่อว่า “สู่โลกแห่งความเสมอภาค” (Towards a world of equals) หนังสือเล่มนี้เป็นโครงการนำร่องในสาขาวิศวกรรมที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี Jawaharlal Nehru Technological University (JNTU-Hyderabad) กล่าวถึงเรื่องเพศในรูปแบบผสมผสานโดยไม่จำกัดบรรทัดฐาน และไม่รุกรานสตรี หนังสือพยายามต่อสู้กับปัญหาเรื่องเพศและการทำงานของสตรีในด้านการเมืองและเศรษฐศาสตร์ และยังเน้นเรื่องราวประวัติศาสตร์ที่มีผู้หญิงที่เป็นศูนย์กลาง ความสัมพันธ์ระหว่างชายกับหญิง
แนวคิดเรื่องการเคลื่อนไหวของผู้หญิงทั่วโลก รวมถึงการเคลื่อนไหวทางการเมืองของชนเผ่า Afro-American, Caribbean, African, Dalit และชนกลุ่มน้อยอื่นๆ หนังสือกล่าวถึงการสร้างแบบแผนทางเพศผ่านภาพทรงผมชายและหญิง เสื้อผ้า และการอภิปรายเกี่ยวกับเพลงยอดนิยม โฆษณา และภาพยนตร์ ซึ่งในการสอนตามหลักสูตรจะใช้หนังสือเล่มนี้ควบคู่ไปกับภาพยนตร์สารคดีที่เกี่ยวข้อง ปัจจุบันมหาวิทยาลัยสอนตามหลักสูตรมาแล้วมากกว่า 14 สัปดาห์ เครดิตที่นักศึกษาได้จากการสอบปลายภาคจะเป็นคะแนนที่รวมเป็น GPA ของนักศึกษาด้วย สิ่งที่ทำให้หนังสือเรียนเล่มนี้น่าสนใจก็คือการสร้างปฏิกิริยาและการอภิปรายในห้องเรียนให้เกิดขึ้น ตัวอย่างเช่น ในบทแรกที่เกี่ยวกับการขัดเกลาทางสังคม หนังสือเล่มนี้แนะให้ห้องเรียนอภิปรายว่า “เด็กผู้ชายถูกสอนให้ทำงานบ้านหรือไม่? จงพูดคุยเกี่ยวกับประสบการณ์ของคุณที่บ้าน” บรรณาธิการของหนังสือเล่มนี้ ตีพิมพ์โดยสถาบันการศึกษาเตลู “เราได้รับการตอบรับอย่างดีจากครูผู้สอน” A. Suneetha หนึ่งในบรรณาธิการกล่าว