“เรื่องการศึกษาในฟินแลนด์ อะไรเป็นปัจจัยให้ฟินแลนด์ยอดเยี่ยม”

วันศุกร์ที่ 9 ธันวาคม 2559 ณ ห้อง 111 อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีการเปิดตัวหนังสือ Finnish Lessons 2.0 “จะปฏิรูปการศึกษาอย่างไรให้สำเร็จ บทเรียนแนวใหม่จากฟินแลนด์”

ซึ่งมี ปาฐกถานำ โดย Dr. Pasi Sahlberg นักคิดด้านการศึกษาระดับโลก ผู้เขียน Finnish Lessons 2.0

พวกเราทีมงาน เพจ ‘คิดเปลียนเรียนรู้’ ไปเข้าร่วมเรียนรู้และถอดบทเรียนออกมาเป็นเนื้อหาในบทความบทนี้

ย้อนกลับไปเมื่อ10ปีที่แล้ว การศึกษาของประเทศฟินแลนด์เปลี่ยนแปลงไปมาก ในดูแลการศึกษาความเปลี่ยนแปลงไม่ใช่แค่การเรียนเท่านั้น แต่หมายถึงความร่วมมือของคนฟินแลนด์กับคนทั้งโลก ที่จะส่งองค์ความรู้ส่งต่อไปยังประเทศต่างๆ

หนังสือเล่มนี้ถูกแปลมาแล้ว 27 ภาษา  และวันนี้ Dr. Pasi Sahlberg มาเล่าเรื่องให้ฟัง ถึง

“เรื่องการศึกษาในฟินแลนด์ อะไรเป็นปัจจัยให้ฟินแลนด์ยอดเยี่ยม”

ฟินแลนด์ เป็นที่รู้จักกันในฐานะ ประเทศที่มีผลิตภัณฑ์nokia’

จนกระทั่งเมื่อ ปี 2000 Dr. Pasi ด้เริ่มพัฒนาความร่วมมือกับหลายๆมหาวิทยาลัย จึงได้รู้ถึงข้อกังวลของ ชาวฟินแลนด์  คำวิจารณ์มากมายเกี่ยวกับการศึกษาของฟินแลนด์ การศึกษาที่ประเมินโดยการสอบวัดผลมีคะแนนต่ำลงเรื่อยๆ ในภาคของการศึกษาฟินแลนด์จึงเกิดคำถามว่า

“เราควรจะทำระบบให้เหมือนกับประเทศอื่นๆ หรือสร้างระบบการศึกษาของตัวเองขึ้นมา”

ช่วงเวลาธันวาคมของ ปี2001 ฟินแลนด์จึงเปลี่ยนไปตลอดกาล ซึ่งตอนนั้นเองเราก็กลัวว่าระบบการศึกษาจะไม่ดีอย่างที่คิดไว้

ตามปกติแล้ว ผลของ pisa ก็น่าจะเป็น อังกฤษ นอร์เวย์ อเมริกา แต่กลับกลายเป็นฟินแลนด์ ที่1 ทุกคนก็ถามหาคำอธิบายในเรื่องนี้  ว่าทำไมฟินแลนด์จึงกลายเป็นอันดับ 1 ของ pisa ซึ่งฟินแลนด์เองก็ยังไม่สามารถอธิบายได้ในตอนนั้น มันน่าตกใจมากที่3ปีถัดมาก็ยังคงเป็นแบบเดิม

ประเทศฟินแลนด์จึงเริ่มคิดว่าควรมีการศึกษาทางเลือก เพราะผลของ Pisa 2001-2003  ที่ผ่านมาสร้างความแปลกใจ และเปลี่ยนวงการศึกษา “เมื่อเป็นแบบนั้น ผมเลยยืนยันกับตัวเองว่าสิ่งที่ผมกำลังทำอยู่นั้นมันใช่ หลายๆคนพยายามคุยกับผมให้เขียนหนังสือเพื่อเล่า ว่ามันเกิดอะไรขึ้น”  ซึ่งคนในวงการการศึกษามองว่าฟินแลนด์มีการศึกษาที่เป็นตัวของตัวเองมาก

“2 คำถามที่สำคัญมากๆ คือ ทำไมระบบการศึกษาในเอเชียถึงไม่ได้ดีนัก แต่เกาหลีใต้ที่ประสบความสำเร็จ หรือเราควรจะตามประเทศแม่อย่าง อย่างอเมริกา และ อังกฤษ หรือเราควรมีต้องมีทางเลือกของตัวเอง  มันเป็นเรื่องที่สำคัญและต้องคิดมากๆ”

ในปัจจุบันเราให้โรงเรียนแข่งกันเรียนเพื่อสิ่งที่ดีที่สุด ถ้าเปรียบเทียบง่ายๆคือ ถ้าคุณจะซื้อทุเรียนแล้วคุณพบว่ามีคนขายทุเรียนแค่คนเดียว คุณก็จำเป็นที่จะต้องซ้ือกับเขา แต่ถ้าคุณมีอีกคน ขายทุเรียนเหมือนกัน คุณก็อาจจะได้ทุเรียนที่ดีกว่าในราคาที่สมเหตุสมผลกว่า ซึ่งจริงๆแล้วมันไม่มีอะไรสำเร็จด้วยการแข่งขันแบบนี้

ข้อสอบและการประเมิณครู ทำให้โรงเรียนไม่มีอิสระในการจัดการ ไม่ได้หมายถึงแค่การเรียนการสอนเท่านั้น ซึ่งทำให้โรงเรียนส่วนใหญ่ในอังกฤษเลือกที่จะเป็นโรงเรียนเอกชน ที่รัฐไม่สามารถเข้ามาควบคุมได้

อย่างแรกคือทุกคนอาจจะต้องทำความเข้าใจและยอมรับให้ได้ก่อนว่า ไม่ใช่เด็กทุกคนที่จะทำข้อสอบผ่าน แต่นั้นเป็นเพราะว่าเด็กทุกคนมีทักษะการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน มีความถนัดที่ต่างกันเพราะอย่างนั้น เราจึงต้องมีระบบทางเลือกด้วยเช่นกัน

คำเตือน! อย่าลองทำที่บ้าน!!

หลายคนบอกให้ มาเลียนแบบฟินแลนด์กันเถอะ แต่ผมขอบอกว่าอย่าลอง ยกเว้นว่าคุณจะก๊อปปี้ฟินแลนด์ได้ทุกอย่าง ไม่ว่าจะประวัติความเป็นมาของประเทศ รวมไปถึงวัฒนธรรมของฟินแลนด์ได้อย่างสมบูรณ์ ผมเขียนเรื่องนี้เพียงเพราะอยากให้ฟินแลนด์เป็นแรงบันดาลใจ และให้ทุกท่านตั้งคำถามกับตัวเอง ทำไมเราถึงทำแบบนี้ แล้วฟินแลนด์ทำแบบนั้นได้

 

ระบบการสอน แบบ แคนดา หรือ ฟินแลนด์ มี 3 อย่างเป็นส่วนสำคัญ

  • การร่วมมือกับครู ชุมชนรอบโรงเรียน และนักเรียน
  • การสร้างความร่วมมือ
  • ความรับผิดชอบกับสิ่งที่เราพยายามสร้าง มาตราฐานความรับผิดชอบ

ครู และ โรงเรียนไม่ควรพึ่งพาระบบส่วนกลางมาก แต่ยังคงทำงานร่วมกัน เราให้ความสำคัญกับความเสมอภาค

EQUITY is Important

  • ความเสมอภาคเป็นเรื่องสำคัญมาก และถ้าจะมีอะไรที่อธิบายได้ นั่นก็คือการที่เราสร้างระบบการศึกษาที่มีความเสมอภาคและโอกาสในการเข้าถึงเพื่อที่จะประสบความสำเร็จ
  • ต้องมีโรงเรียนสำหรับทุกคน
  • ความเสมอภาคไปด้วยกันอยู่เสมอ คุณจะเห็นได้จาก อเมริกาและอังกฤษที่ไม่มีความเสมอภาคในเรื่องของการศึกษา แต่คุณจะเห็นประเทศอย่าง แคนดา หรือ ญี่ปุ่น ที่มีอันกับที่สูงกว่า ที่แสดงถึงความเสมอภาคเรื่องของการศึกษาด้วยเช่นกัน

มายาคติที่มีต่อฟินแลนด์  

ฟินแลนด์ไม่มีวิชาพื้นฐาน

นั่นไม่จริง ฟินแลนด์ยังมีการเรียนการสอน วิชาพื้นฐานทั้งหมด เพียงแต่ฟินแลนด์ไม่ได้พึ่งพิงตามระบบการเรียนการสอนธรรมดา แต่ทุกโรงเรียนในฟินแลนด์มีโปรเจค ซึ่งจะเป็นสิ่งที่นักเรียนจะได้ทำร่วมกัน เช่น เรื่องอะไรก็ตามที่นักเรียนสนใจ หรือช่วยกันเลือก เช่น gobalwarmming

ว่ากันอย่างง่ายๆคือนักเรียนจะต้องมีส่วนออกแบบ การเรียนรู้ มีส่วนในการเลือกว่าจะใช้เวลาเท่าไหร่ หัวเรื่องอะไร ผลที่คาดหวังเป็นอย่างไร สิ่งเหล่านี้นักเรียนต้องทำกับครู และนี่คือการปฏิวัติการเรียนรู้

ฟินแลนด์ไม่มีการบ้าน

ฟินแลนด์มีการบ้าน แต่ไม่ใช่การบ้านที่ไม่มีเหตุผล  ไม่ใช่การทำการบ้าน 2 ชั่วโมงต่อวัน แต่เราจะให้การบ้านที่เชื่อมโยงกับบ้านของเขาเหล่านั้น การบ้านมีหน้าที่แตกต่างกันออกไป

สำหรับเรามีโลกความจริงที่แตกต่างกันไป ซึ่งมันอันตรายมากในเรื่องการแยกแยะความเป็นจริงบนโลกความจริงและอินเตอร์เน็ต โรงเรียนจำเป็นต้องสอนสิ่งนี้ให้แก่นักเรียน คือการแยกแยะข้อเท็จจริง เป็นต้น

 

[5 บทเรียน จาก การศึกษาของฟินแลนด์]

  1. การศึกษาเป็นเรื่องของประชาชน
  2. เรามองเด็กในแง่องค์รวมซึ่ง้ชเด็กมีความสามารถมากมายจึงไม่สามารถจัดอันดับได้แค่ว่าการวัดว่าสอบตกหรือผ่าน ซึ่งเด็อาจจะเก่งใน ศิลปะ หรือ ดนตรี ซึ่งนั้นคือหน้าที่ของโรงเรียนที่จะทำให้ประจักษ
  3. การมองอาชีพครู ครูของเราจบปริญาโท และครูจะต้องทำวิจัยเป็นตัวจบ อาชีพครูของเรา มาจากคนที่อยากเป็นครูและครูเหล่านั้น จะเป็นครูที่สอนเด็กประถม
  4. โรงเรียนต่างๆต้องมีงบประมานและสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมแก่เขา สำหรับฟินแลนด์เรามองว่าเมืองไหนที่มีครอบครัวว่างงานเยอะ เราจะจัดให้ห้องเรียนเล็กลงและเพิ่มครูให้เยอะขึ้น และให้ที่ปรึกษาลงไปช่วยเด็ก โดยทุกโรงเรียนจะมีที่ปรึกษาพิเศษประจำโรงเรียน
  5. Vision การให้ความสำคัญของการศึกษา ถ้าเราไม่มีวิสัยทัศที่ชัดเจน เราก็จะไปไหนไม่ได้