ผลงานวิจัย บทความเชิงประมวล ที่เกี่ยวข้องกับศาสนาและจิตวิญญาณ ข้อมูลจากการทำการจัดการความรู้ของผู้ปฏิบัติงานด้านสาธารณสุขที่คัดเลือกแล้วว่าเป็นผู้มี่ทำงานอย่างมีจิตวิญญาณ ใน 4 ภาค เก็บข้อมูลภาคละ 3 ครั้ง เป็นข้อมูลเชิงคุณภาพ นอกจากนี้ยังดำเนินการตรวจสอบความน่าเชื่อถือของงานวิจัยโดยผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก จำนวน 2 ท่าน และตรวจสอบความเที่ยงตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ท่าน
ผลสรุปและอภิปรายผลจากการวิจัยมีดังนี้
ในรายงานการวิจัยบทที่ 4-6 เป็นผลการวิเคราะห์ ผลสรุป และอภิปรายผลในบางประเด็น แยกเป็นส่วน ๆ แล้ว ดังนั้นการสรุปและอภิปรายผลในบทนี้จะเป็นการเชื่อมโยงการตอบวัตถุประสงค์ของการวิจัยในภาพรวม ตามประเด็นต่าง ๆ ดังนี้
1. ความหมายและโครงสร้างของจิตวิญญาณ
จากการทบทวนงานวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับจิตวิญญาณพบว่า การกำหนดความหมายของจิตวิญญาณของการวิจัยด้านสาธารณสุข ด้านพฤติกรรมองค์การมีความต่างกับอยู่บ้างคือ ในกลุ่มสาธารณสุขกล่าวถึงจิตวิญญาณว่า จิตวิญญาณเป็นความสัมพันธ์ที่บุคคลมีกับสิ่งที่เป็นเป้าหมายสูงสุดของชีวิต ความรู้สึกศรัทธาที่มีต่อสิ่งศักดิ์สิทธ์ พระเจ้า และเป็นส่วนประกอบที่สำคัญนอกเหนือไปจากการที่ตัวเราประกอบไปด้วย กายและจิตความคิด(mind and body) ในขณะที่ด้านจิตวิทยาองค์กรกล่าวถึงจิตวิญญาณในลักษณะของ จิตวิญญาณขององค์กร และจิตวิญญาณของคนที่ทำงานในองค์กร ซึ่งตัวแรกให้ความหมายว่า เป็นกรอบของค่านิยมขององค์กรที่ส่งเสริมให้เกิดประสบการณ์ในกระบวนการทำงาน ที่เปลี่ยนความหมายของความรู้สึกที่บุคคลจะมีต่อเพื่อนร่วมงาน ในทิศทางที่จะทำให้เกิดความสมบูรณ์และความสุขในการทำงาน ในขณะที่ตัวหลังเป็นจิตวิญญาณระดับบุคคลเป็นความหมายที่คล้ายคลึงกับความหมายที่ปรากฏในด้านจิตวิทยาคือประกอบด้วย ด้านความสัมพันธ์กับสิ่งที่เหนือธรรมชาติ (super natural) และความสัมพันธ์ที่มีกับเป้าหมายสูงสุดของชีวิต และความสัมพันธ์ที่มีต่อผู้อื่น
ผลจากการวิจัยนี้พบว่า จิตวิญญาณ หมายถึง ภาวะที่บุคคลเข้าใจอย่างลึกซึ้งถึง ความหมายและเป้าหมายของชีวิต ความตระหนักรู้เกี่ยวกับความตาย เข้าถึงและเข้าใจตนเอง เข้าถึงเข้าใจผู้อื่น ศรัทธาในความจริงที่เหนือธรรมชาติ เข้าถึงคุณค่าของจิตใจมากกว่าวัตถุ ในงานวิจัยนี้จะเรียกว่า “แก่นของจิตวิญญาณ” ในแต่ละประเด็นมีความหมายดังนี้
ความหมายและเป้าหมายของชีวิต เป็นลักษณะที่บุคคลตระหนักรู้เป้าหมายชีวิตว่าต้องการให้ชีวิตของตนเองบรรลุความสำเร็จในเรื่องใด รวมถึงการที่เข้าใจว่าตนเองเกิดมาเพื่ออะไร และใช้เพื่อกำหนดทางเดินหรือการดำเนินชีวิต โดยบุคคลจะมีการกำหนดอุดมการณ์และเป้าหมายของชีวิตที่ชัดเจน ตระหนักรู้เกี่ยวกับความตาย
การตระหนักรู้เกี่ยวกับความตาย แก่นของจิตวิญญาณด้านนี้ แสดงถึงอารมณ์ ความรู้สึก และการเปลี่ยนแปลงของตัวเองเมื่อต้องเผชิญกับความตายของคนไข้ ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ประกอบด้วย การตระหนักรู้ในความรู้สึกของคนไข้ มีอารมณ์อ่อนไหวของตัวเอง และพฤติกรรมการพยายามให้ความช่วยเหลือ และการเปลี่ยนมุมมองเกี่ยวกับการทำงาน และของชีวิต
ศรัทธาในความจริงที่เหนือธรรมชาติด้านนี้มีลักษณะร่วมกัน คือ เป็นความเชื่อเกี่ยวกับการมีอยู่และอิทธิพลของสิ่งเหนือธรรมชาติ และนำความเชื่อนี้มาใช้ในการดำเนินชีวิต แบ่งเป็น ความเชื่อที่เกี่ยวกับศาสนา และความเชื่อที่ไม่เกี่ยวกับศาสนา เชื่อในพลังจิตกลุ่ม
เข้าถึงเข้าใจตัวเอง แก่นของจิตวิญญาณตัวนี้มีศูนย์กลางร่วมกันที่การตระหนักรู้เกี่ยวกับสิ่งที่เข้ามากระทบความรู้สึก ความคิดของตัวเอง ทั้งนี้แบ่งเป็นขั้นตอน 3 ขั้นคือ การมีสติ การเข้าใจตนเองซึ่งแสดงถึงความเข้าใจต่ออารมณ์ และความคิดของตนเอง และ การคิดทบทวนตัวเอง ที่แสดงถึงการคิดทบทวนว่าอารมณ์ของตนเอง ความคิดของตนเอง ดีหรือไม่ดีอย่างไรและทบทวนสิ่งที่ตัวเองไปสัมพันธ์กับสิ่งอื่น ๆ
เข้าถึงเข้าใจผู้อื่น ลักษณะด้านนี้มีคุณสมบัติร่วมกันคือ การมีความตระหนักคิดเกี่ยวกับความรู้สึก ความเชื่อความต้องการของคนอื่น ที่จะทำให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกัน แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ 1) จิตรับรู้ความทุกข์ ซึ่งหมายถึงการใส่ใจความรู้สึกทุกข์ ปัญหา ของบุคคลอื่น ๆ โดยรับรู้ความรูสึกว่าเขามีความรู้สึกอย่างไร มีความเข้าใจ เข้าไปร่วมรู้สึกนั้นหรือมีอารมณ์ร่วมด้วย 2) ไวต่อความคิดความเชื่อของผู้อื่น
เข้าถึงคุณค่าของจิตใจแก่นของจิตวิญญาณด้านนี้เป็นการที่ตัวอย่างมองเห็นคุณค่าของสิ่งที่ตนเองกระทำว่ามีคุณค่าในตัวเองอยู่แล้ว มิได้ต้องการรับการตอบแทนเป็นรางวัลอื่นใด ไม่ว่าจะเป็น ความนิยมชมชอบ เหรียญรางวัล เงินทองหรือชื่อเสียง
ประเด็นของแก่นของจิตวิญญาณ ทั้ง 6 ประเด็นนี้มีส่วนมีส่วนที่อธิบายเพิ่มเติมความหมายของจิตวิญญาณของงานวิจัยในกลุ่มที่ศึกษาด้านสาธารณสุข ที่กล่าวว่า “จิตวิญญาณเป็นความสัมพันธ์ที่บุคคลมีกับสิ่งที่เป็นเป้าหมายสูงสุดของชีวิต ความรู้สึกศรัทธาที่มีต่อสิ่งศักดิ์สิทธ์ พระเจ้า และจิตวิญญาณเป็นส่วนประกอบที่สำคัญนอกเหนือไปจากการที่เราประกอบไปด้วย การ และจิตความคิด(mind and body)” ซึ่งเป็นแก่นของจิตวิญญาณในประเด็น ความหมายและเป้าหมายของชีวิต และ ศรัทธาในความจริงที่เหนือธรรมชาติ อย่างไรก็ตามเมื่อเปรียบเทียบกับความหมายของจิตวิญญาณที่มีผู้อ้างถึงมาก ได้แก่ งานของ Elkins et al.(1988) ที่ได้กล่าวถึงจิตวิญญาณว่ามี 9 มิติได้แก่
มิติ
Transcendent
ความหมาย
การมีประสบการณ์เหนือธรรมชาติ เช่น
การที่เชื่อว่ามีสิ่งที่มีพลังอำนาจเหนือธรรมชาติ สิ่งที่มองไม่เห็นจับต้องไม่ได้แต่ตัวเขาสัมผัสได้และเชื่อว่ามีจริง เช่นการเชื่อในพระเจ้าของคนเชื่อว่าพระเจ้ามีจริง หรือและท่านจะช่วยเขาให้หายเจ็บป่วยได้
มิติ
Meaning and purpose in life
ความหมาย
ชีวิตที่มีความหมาย ได้แก่ การที่คนแต่ละคนต้องค้นหาความหมายของการเกิด เกิดมาทำไม ทำอะไร เพื่ออะไร
มิติ
Mission in life
ความหมาย
พันธะกิจของชีวิต ได้แก่การที่คนมีพลังที่ต้องทำสิ่งสำคัญต่อชีวิตตนเองให้สำเร็จ
มิติ
Sacredness of life
ความหมาย
มีความศรัทธา เชื่อว่าในชีวิตเราต้องมีความศรัทธาต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
มิติ
Material value (less than spiritual things)
ความหมาย
ให้คุณค่าของวัตถุได้แต่น้อยกว่าจิตใจ ทำเพื่อผู้อื่นอย่างเต็มใจโดยไม่ต้องขอ
มิติ
Idealism มีอุดมคติ
ความหมาย
ได้แก่ เชื่อว่าทุกคนเป็นคนดี เชื่อว่าเราต้องทำโลกให้สะอาดให้ดี
มิติ
Awareness of tragic
ความหมาย
จิตรับรู้ความทุกข์
มิติ
Fruit of spirituality
ความหมาย
รับประโยชน์จากการมี sp เช่นทำให้ตนคลายความเครียด ทำให้ตนเป็นที่รักของคนอื่น
ประเด็นที่มีความคล้ายคลึงกันได้แก่ การมีจิตรับรู้ความทุกข์ มิตินี้ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ “การเข้าถึงเข้าใจผู้อื่น” มิติด้าน การให้คุณค่าของวัตถุได้แต่น้อยกว่าจิตใจ คล้ายคลึงกับ “ เข้าถึงคุณค่าของจิตใจ” มิติด้าน มีความศรัทธาฯ และมิติด้าน transcendent คล้ายคลึงกับ “ ศรัทธาในความจริงที่เหนือธรรมชาติ” และมิติด้าน meaning and purpose of life และ มิติด้าน mission in life คล้ายคลึงกับ “ ความหมายและเป้าหมายของชีวิต” และมีมิติที่แตกต่างคือ แก่นของจิตวิญญาณ มีประเด็นด้าน การเข้าใจและเข้าถึงตนเอง และการเข้าใจและเข้าถึงผู้อื่น และ แก่นของจิตวิญญาณ ไม่มีมิติด้าน fruit of spirituality ที่ปรับเป็น ส่วนผลของจิตวิญญาณที่เรียกว่า “คุณภาพของชีวิต”