“พระองค์ท่านทรงสนพระทัย ให้เวลา และทรงสั่งสอน ซักถามความรู้ในทุกแขนงวิชาอย่างลุ่มลึก ละเอียดลออ ซึ่งประทับใจตั้งแต่นั้น ในลักษณะนี้อาจไม่ค่อยมีใครกล่าวถึงนัก คือ พระองค์ทรงเป็น “บุคคลเรียนรู้” โดยสนพระทัยเรื่องความรู้ทุกแขนงที่ส่งผลอย่างมหาศาลในเวลาต่อมา”
บทสัมภาษณ์จ ศ.น.พ.ประเวศ วะสี จากหนังสือพิมพ์ ฐานเศรษกิจ
1.มัชฌิมาปฏิปทา
หรือทางสายกลาง โดยที่บุคคลเรียนรู้นั่นจะไม่สุดโต่งแต่เรียนรู้ตามกระแสที่เป็นไป
2.สุทธิ
เมื่อเข้าถึงความเป็นจริงแล้วก็มีท่าทีที่ถูกต้องต่อสิ่งต่างๆ ทำให้ตั้งมั่นอยู่ในความดี
3.ปัญญา
มีความรู้ตามความจริง จะพิจารณาตัดสินใจใดๆ ใช้เหตุผลและองค์ความรู้ตามหลักวิชาต่างๆ
4.เมตตา
เมื่อบุคคลเรียนรู้ เข้าถึงปัญญาหรือความจริงแล้ว จะทำให้มีเมตตา
5.ขันติ
ความอดทนอดกลั้น ต่อสภาพความเป็นไปของสิ่งต่างๆที่ไม่ถูกใจ
6. มุ่งฐานล่าง
บุคคลเรียนรู้เกิดปัญญา เห็นชัดว่าฐานล่างมีความสำคัญ พระราชกรณียกิจทรงทุ่มเทให้ราษฏรตามภูมิภาคต่างๆทุกพื้นที่ ก็เพื่อสร้างฐานล่างให้เข้มแข็ง
7.ภูมิคุ้มกัน
ประเทศก็เหมือนร่างกายมนุษย์ ความสามารถที่จะรับมือกับการบีบคั้น หรืออันตรายจากภายนอก
8.จิตวิญญาณ
การมีปัญญารู้ความจริง มีท่าทีที่ถูกต้องต่อความเป็นไปของสิ่งรอบตัว ดำรงตนอยู่ในความดี เป็นสังคมแห่งความสุข