หนังสือ การศึกษาเปลี่ยนประเทศไทย ประเทศไทยเปลี่ยนการศึกษา

การศึกษาเปลี่ยนประเทศไทย-ประเทศไทยเปลี่ยนการศึกษา ที่สำคัญคือ เปลี่ยนการศึกษาที่เป็น ภาระ (load) ทางเศรษฐกิจของประเทศให้เป็น พลัง (energy) ทางเศรษฐกิจ อาจจะเรียกว่าเปลี่ยนจากการตั้งรับเป็นรุก

หนังสือ ระบบปฏิรูปการเรียนรู้ เพื่อการเรียนรู้ที่ดีของคนทั้งมวล (GOOD LEARNING FOR ALL)

การเรียนรู้ที่ดีเป็นสิ่งที่ประเสริฐที่สุดของมนุษย์ ที่สามารถสร้างคนให้ทำเป็น คิดเป็น และบรรลุความจริง ความดี ความงาม และความสุขได้ เป็นเครื่องมือแก้ปัญหาเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ที่ทำให้ประเทศเคลื่อนไปสู่ความอยู่เย็นเป็นสุข จึงควรมีความมุ่งมั่นร่วมกันที่จะปฏิรูปการเรียนรู้ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่ดีสำหรับคนทั้งมวล หรือ Good Learning for All (GLA) ตั้งแต่ในครอบครัว เด็กปฐมวัย นักเรียนในโรงเรียน การศึกษาในมหาวิทยาลัยทั้งหมด การเรียนรู้ในชุมชน ในองค์กร และในสังคม รวมทั้งการศึกษาของพระสงฆ์ โดยออกแบบระบบซึ่งมีองค์ประกอบครบ ที่จะขับเคลื่อนให้เกิดการเรียนรู้ที่ดีของคนทั้งมวลไปได้อย่างต่อเนื่อง ศาสตราจารย์นายแพทย์ประเวศ วะสี

จดหมายข่าว “KICK OFF การปฏิรูปการเรียนรู้”

ขณะนี้การศึกษาของเราทั้งหมดเป็นการสร้างทุกขภาวะ สร้างความทุกข์ทั้งแผ่นดิน สร้างความทุกข์ให้ผู้เรียน สร้างความทุกข์ให้ผู้ปกครอง และสร้างความทุกข์ให้ครู ซึ่งน่าเป็นห่วงอย่างมาก เพราะการศึกษาที่ดีควรจะเป็นการสร้างความสุข แต่เรากลับทำให้เป็นการศึกษาที่สร้างความทุกข์ เพราะสิ่งที่เราทำกันมาร้อยกว่าปี เป็นการศึกษาด้วยการท่องหนังสือ คือเอาวิชาเป็นตัวตั้ง ไม่ได้เอาชีวิตเป็นตัวตั้ง เราแยกส่วนว่าชีวิตก็อย่างหนึ่ง การศึกษาก็อีกอย่างหนึ่ง การศึกษาที่ดีต้องเอาชีวิตเป็นตัวตั้ง แล้วชีวิตคนต้องมีความสุข ชีวิตเราเกี่ยวข้องกับอะไรบ้าง เราก็ต้องไปเรียนรู้ในเรื่องนั้นๆ ไม่ใช่ไปท่องวิชาที่ไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับชีวิต อะไรที่เป็นความสุขเราก็ต้องไปเรียนรู้ในเรื่องนั้นๆ ยิ่งเราเป็นเมืองพุทธ ทางพุทธศาสนาถือว่าความทุกข์เกิดจากความไม่รู้ หรือ อวิชชา ซึ่งการศึกษาควรจะทำให้เกิดการรู้ หรือ วิชชา ซึ่งจะทำให้คนเกิดความสุข ศาสตราจารย์นายแพทย์ประเวศ วะสี

จดหมายข่าว “ปฏิรูปเด็กปฐมวัย เปลี่ยนอนาคตประเทศไทย”

หน้าที่ที่จะทำให้เด็กไทยทุกคนเติบโตขึ้นอย่างแข็งแรงสมบูรณ์ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญา และสังคม เป็นของเราทุกคน ทุกฝ่าย การจะทำให้เด็กคนหนึ่งมีคุณภาพต้องเริ่มตั้งแต่ครรภ์มารดา รัฐควรจัดสิทธิประโยชน์ที่เหมาะสมและเพียงพอแก่หญิงตั้งครรภ์ พัฒนาคุณภาพของศูนย์เด็กเล็ก และโรงเรียนอนุบาลให้มีมาตรฐาน รวมทั้งหาแนวทางให้การศึกษานอกระบบโรงเรียนแก่เด็กอีกจำนวนไม่น้อยที่ไม่สามารถเข้าถึงระบบการศึกษาปกติได้ และบูรณาการการดูแลเด็กร่วมกับชุมชนท้องถิ่นเพื่อให้เกิดความยั่งยืนในระยะยาว นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์

ทักษะศตวรรษที่ 21 ช่วยให้เด็กไทยมีสุขภาวะได้อย่างไร?

การศึกษาศตวรรษที่21 ที่ยึดหลักการพัฒนาทักษะอนาคต 3 ประการคือ Learning skills,Life skills,IT skills และมุ่งเน้นให้มีความรู้พื้นฐานในวิชาที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต 4 วิชาคือ Health,Economics,Environment,Civil Society เป็นการศึกษาที่ทำให้เด็กไทยมีสุขภาวะที่ดี ทั้ง กาย ใจ สังคม และปัญญา ด้วยเหตุผล 3 ข้อ

ยั่งยืนอยู่ได้ ถ้า…

สร้างความเข้าใจกับผู้บริหารเขตพื้นที่ ผู้บริหารระดับสูงขององค์กรบริหารส่วนท้องถิ่น ถึงแนวคิดทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑ การจัดการเรียนรู้แบบนักเรียนลงมือ พร้อมทั้งเสนอแนวทางพัฒนาโรงเรียน แนวทางพัฒนานักเรียน โดยนำพาเข้าไปเรียนรู้ ทำความเข้าใจ เห็นผลลัพธ์การเปลี่ยนแปลงที่ที่เกิดขึ้นกับนักเรียน ณ สถานที่ปฏิบัติการจริง ทำให้ผู้เขียนนึกเลยไปถึงสุภาษิตไทยที่ว่า “สิบปากว่า ไม่เท่าตาเห็น สิบตาเห็นไม่เท่ามือคลำ”

1 2 3 4 18