การขับเคลื่อนกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (17)

น้ำหนักต่ำเป็นไปไม่ได้ที่แม่จะให้ลูกกินข้าวพอ ในชุมชนต้องมาช่วยกันแก้ไข เวลาเราเกิดปัญหาเจ้าหน้าที่ สอ.ทำไม่ได้หรอก ไปเอาอบต. ผู้ใหญ่บ้าน อสม. มาด้วย ไม่ต้องกำหนดบทอะไรที่มันซับซ้อนมาก

ลปรร.สามารถนำไปใช้พัฒนาสู่ชุมชน โดยมีการนำสิ่งที่ไปเรียนรู้จากที่อื่นมาบอกว่าเขาทำกันอย่างไร โดยนำมาพูดคุยให้ได้วิธีการจากที่ต่างๆด้วยความร่วมแรงร่วมใจ มีเครือข่ายขององค์กรท้องถิ่นมาร่วม เช่น เรื่องการดูแลผู้สูงอายุในพื้นที่ที่มีทุกภาคส่วนเข้ามาร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยน เกิดความร่วมมือช่วยกันดูแลแก้ปัญหา ทั้ง อสม. ผู้ใหญ่บ้าน ชุมชน อบต. จนปัจจุบันคนในครอบครัวทุกคนมาช่วยกันดูแล และยังได้รับความร่วมมือจากอบต. รับผิดชอบในการพาไปโรงพยาบาล ดำเนินการออกบัตรผู้พิการให้นอกจากบัตรผู้สูงอายุ และบัตรผู้มีรายได้น้อยจาก อบต…”

ลักขณาภรณ์ เสนชัย รพ. หนองบัวระเหว จ.ชัยภูมิ

“… กรณีที่ไปดูแลผู้ป่วยเบาหวานที่ถูกตัดเท้าด้วยการ ลปรร. ไปนั่งคุย เชิญญาติ และแพทย์ที่ไปดูแล และอสม.มาร่วม นำญาติคนไข้ที่ดูแลได้ดีมาร่วมแลกเปลี่ยน จากนั้นก็เกิดการเปลี่ยนแปลง ได้วิธีบริหารจัดการการดูแลร่วมกันระหว่างครอบครัว ญาติ อสม.มาช่วยดูแลสิ่งแวดล้อมทำความสะอาดบ้าน อบต.มีรถมารับส่งพาไปล้างแผลที่โรงพยาบาล เจ้าหน้าที่จากโรงพยาบาลก็ลงมาเยี่ยมมากขึ้น ลปรร.เข้าไปดึงให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมามีส่วนร่วมให้เกิดสุขภาวะที่ดีขึ้นในชุมชน…”

วิชิต ยศสงคราม สสอ.หนองแสง จ.อุดรธานี

 

4. ประชาชนได้รับประโยชน์

“…เมื่อนำลปรร. มาใช้ทำให้เกิดการทำงานที่เป็นเครือข่ายและเจ้าหน้าที่เป็นเนื้อเดียวกัน คนไข้ได้ประโยชน์จากที่เราไปคุยกันแล้วสามารถช่วยคนไข้ได้มากขึ้น จากเทคนิคการดูแลแบบใหม่ในการเจาะเลือดด้วยการนวดก่อนทำการเจาะแทนการตีเพื่อกระตุ้นแบบเดิม…”

สถิต สายแก้ว รพ. ราษีไศล จ.ศรีสะเกษ

 

“… คนไข้ได้รับการดูแลและคุณภาพชีวิตดีขึ้น จากที่เจ้าหน้าที่มองปัญหานอกจากเรื่องการเจ็บป่วยกว้างออกไป ไม่ใช่มองแค่เรื่องโรค เรื่องการกินยาหรือได้รับยา การออกกำลังกาย ทำให้เจ้าหน้าที่มองกว้างขึ้น นอกจากเยี่ยมบ้านได้ผลงาน ก็เยี่ยมบ้านได้คุณภาพชีวิตของคนไข้ด้วย…”

วิชิต ยศสงคราม สสอ.หนองแสง จ.อุดรธานี

“…จากที่ได้กระบวนการไป มีการไปทำและเกิดประโยชน์กับประชาชนจริง ด้วยการเอาไปใช้ในเรื่องดูแลผู้พิการ นำความรู้ที่ได้ไปใช้แลกเปลี่ยนในพื้นที่ โดยเริ่มจากการประชุม อสม. จนนำผู้มีประสบการณ์ 2-3 คนจาก 3 หมู่บ้านที่ทำสำเร็จไม่มีไข้เลือดออก มาเล่าให้อีก 5 คนจากหมู่บ้านที่มีคนเป็นไข้เลือดออกไม่เว้นแต่ละวัน จนได้วิธีที่จะไปปฏิบัติต่อในหมู่บ้านตนเอง…”

จุฑามาส มาฆะลักษณ์ สสจ.สมุทรสงคราม

 

วิธีการติดตามผลลัพธ์

1. สอบถามจากเพื่อนร่วมงาน ผู้รับบริการ

2. ติดตามสังเกตพฤติกรรมการให้บริการ

3. ติดตามจากเรื่องเล่าสิ่งที่เรียนรู้จากวง ลปรร. ไปปรับใช้ในงานของตนเอง

4. ติดตามผลการดำเนินงาน

“… จริงๆก็จะบอกว่า ถ้าเกิดเราอิงที่ตัวชี้วัดมากเกินไป และเราไปสร้างความทุกข์ ความเครียดและเราทำงานแบบไม่มีความสุข แต่ตอนนี้เราเน้นการทำงานที่มีความสุขทั้งผู้ให้และผู้รับ แล้วปรากฏว่าผลของการทำงานจากที่เราไม่ได้เอาตัวชี้วัดไปบีบ ใช่เรามีตัวชี้วัด เราสนใจกระทรวงให้มาเราสนใจ ผู้ตรวจมาเราสนใจ และเราสามารถตอบได้ เราไม่ได้เอามา ranking เอามาพิจารณาความดีความชอบ แต่ว่าพอเราไปแบบนี้งานก็เกิด คุณภาพก็มี ไม่ใช่คุณภาพไม่มีงานเละไม่อย่างนั้น แต่กลับกลายเป็นว่าน้องทำงานมีใจมากขึ้น และมีความสุข เราไม่ได้จับผิด เราไปแบบให้กำลังใจ ไปแบบผู้หล่อเลี้ยง…”

นุชนภางค์ ภูวสันติ สสจ.สระบุรี

“… เราประเมินจากตรงไหนว่าดีขึ้น เราบอกว่าเราจะไม่ตีคนไข้ ต้องนวดคนไข้ และจะมีเส้นขึ้นมาเอง เขาจะมีเทคนิคของแต่ละคน ก็มาแชร์เทคนิคกัน ตอนเช้ามาเจาะ จากเสียงที่เคยตีตุ๊บตั๊บก็หายไป พรุ่งนี้เช้าเจาะเงียบเพราะนวด และที่เคยเจาะหลายๆ ครั้งไม่ได้ จะเปลี่ยนคน คนนี้เจาะไป 2-3 ครั้งต้องเปลี่ยนคนและขอโทษคนไข้ คำพูดคำจาก็เปลี่ยนไป พี่ ER เขามาทดลองใช้ก็บอกว่าปีนั้นน้องๆ ก็ชอบ…”

สถิต สายแก้ว รพ. ราษีไศล จ.ศรีสะเกษ