มีการเกิด COP หลายๆ COP COP เบาหวาน COP เรื่องผู้พิการ COP เรื่องคุณธรรม หลายพื้นที่เราจัดตั้งวงเราทำโดยอาศัยยุทธศาสตร์จังหวัด… ”
พิทักษ์ เอ็นสวัสดิ์ สสจ.พิจิตร
“…. ก็คุยกันไปกันมา ตอนแรกบอกว่าอยู่ได้สองโมงครึ่ง แต่วันนั้นอยู่ถึงสี่โมงครึ่ง ทุกคนพูดหมด พอหลังจากพูดหมด เราก็ถอดบทเรียน ทุกคนก็บอกว่าถ้าวันนี้เราเอาของทุกคนมาก็จะเป็นระบบ complete ที่สุด คนที่ทำดีที่สุดจะมีระบบ screening การดูแล แต่ยังไม่ใช่เชิงลึก มันยังไม่ได้เป็นเครือข่าย เราพาไปเยี่ยมของแต่ละหมู่บ้าน แต่อีกของคนหนึ่งทำเชิงลึกในเรื่อง difficult case แต่เรื่องการคัดกรองยังไม่ถึง 80% เพราะยังไม่ตอบสนองตัวชี้วัด อย่างที่ผู้ใหญ่ต้องการ อีกคนหนึ่งบอกว่า หนูมีปัญหาแบบนี้ สิ่งที่พี่เขามีปัญหาทางหน่วยเราเอาไปแก้ไข บรรยากาศวันนั้นเป็นอะไรที่สนุกสนาน อยากให้ไปทำแบบนี้กับ รพ.สต. เขาบ้าง ในเรื่องของการบริหารจัดการที่จะสนับสนุนผู้สูงอายุในระบบต่อเนื่อง เงินโอทีอะไรประมาณนี้ เขาก็เห็นความสำคัญ จนเราพูดจบถอดบทเรียนเสร็จแล้ว เราก็เลยบอกว่าถ้าสมมุติเรากลับไปทำให้ทำแบบนี้ จริงๆ วัตถุประสงค์ที่เราทำก็คือ หนึ่งเราอยากทราบว่าปัจจุบันผู้สูงอายุถูกดูแลไปถึงไหน ตัวชี้วัดเป็นอย่างไร และอีกอย่างหนึ่งก็คือ กระบวนการที่จะไปทำ ลปรร. จากกลุ่มที่ตัวเองคิดว่าหลากหลาย เราก็คิดว่าจะต้องมีปัญหาแน่นอน การยอมรับว่าตัวเองจะต้องมานั่งฟังเรื่องดีๆ พูดหรือเปล่า หลังจากสรุปเสร็จแล้วเราก็ได้แนวทางว่าประชากรกลุ่มผู้สูงอายุ มาจากทั้งทะเบียนบ้านคือยึดของ อบต.ในเรื่องของการ screen เป้าหมายของอำเภอของเรา ใช้แบบ screen ของสถาบันเวชศาสตร์ครอบครัว คือ ADL เขาก็คัดกรองอยู่แล้ว เพราะแบ่งประเภทผู้สูงอายุ สมองเสื่อม ซึมเศร้า เสี่ยงต่อการหกล้ม โภชนาการ เราตั้งเป้าหมายตอนนั้น 60% พอเรามาฟังเขาพูด เขาบอกว่าคงไม่ได้หรอก เพราะว่าผู้สูงอายุเขามันเยอะ การคัดกรองสมองเสื่อมต้องใช้พยาบาล ถ้างั้นเราจะเอาอย่างไรให้ได้เชิงคุณภาพจริงๆ เรื่องคัดกรอง 2 แบบ คือสมองเสื่อม กับสุขภาพจิต ให้ผู้สูงอายุ 80% ทุกคน ของประเภท 2 ประเภท 3 ขอกลุ่มนี้ 100% สำหรับกลุ่มสมองเสื่อมกับสุขภาพจิต เขาก็โอเค ไม่ใช่ 60% ของทุกคนนะ แต่ 100% ของ 80 ขึ้นไป เขาบอกว่าทำได้ มันเป็นเป้าหมายที่เขาตั้งเองเขาคิดว่าเขาทำได้ และเขาก็บอกว่าขอให้อำเภอไปทำแนวทางการดูแล ประเภท 1 ประเภท 2 ประเภท 3 ที่เป็นของอำเภอหนองบัวระเหว…”
ลักขณาภรณ์ เสนชัย รพ.หนองบัวระเหว จ.ชัยภูมิ
ผลลัพธ์กระบวนการ ลปรร.
เป้าหมายการจัดกระบวนการ ลปรร. คือ ผลลัพธ์หรือการเปลี่ยนแปลงดีๆที่เกิดขึ้นต่อการพัฒนางาน รพ.สต. หลายแห่งติดตามผลลัพธ์ด้วยวิธีง่ายๆไม่สลับซับซ้อน มีประโยชน์ต่อการวางแผนพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิ
ผลลัพธ์หรือการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นหลังจัดกระบวนการ ลปรร. หลักๆ คือ
1. ความรู้/เนื้อความรู้ โดยนำบันทึกข้อมูลเรื่องเล่าวิธีทำงานที่สำเร็จจากวง ลปรร. มาจัดทำเรียบเรียงเป็นเอกสารผลงานวิชาการ ถอดบทเรียนเป็น good practice และหรือ best practice ที่มีกระบวนการวิธีปฏิบัติ ที่ทุกคนสามารถเทียบเคียงเอาไปใช้ได้
“… ตอนที่ตั้งวง ก็จะมีประเด็นที่เขาเขียนเรื่องเล่ามา 5-6 ประเด็น เสร็จแล้วเราก็เอาประเด็นนั้นมาเปิดเป็น best practice ของจังหวัด เช่น ผู้ป่วยเรื้อรังของจังหวัด ในบทจากเรื่องเล่าที่เจ้าหน้าที่ไปทำเรื่องนี้ ถ้าเรื่องเบาหวาน ความดัน จะต้องดูแลอย่างไร จะต้องทำอย่างไร จะเกิดเป็น best ของคนระนองขึ้นมา เป็นลักษณะเล่าการทำงานว่า ถ้าจะต้องดูแลผู้ป่วย case อย่างนี้ต้องทำอย่างไร รวมเป็นเรื่องเล่า เป็น best practice 5 ประเด็น เป็นหนังสือมี 2 เล่ม…”
บุษกร อุ่ยเต็กเค่ง สสจ.ระนอง
“… มีของขอนแก่นนะคะว่า แต่อาจจะยังไม่กระจายไปมาก เรื่องนี้ความรู้ที่ได้สกัดออกมาเกิดจาก CBL เกิดจากโครงการ CBL ใช้บริบทเป็นฐานการเรียนรู้แต่ละครั้ง สรุปสุดท้ายเขาจะได้มาเป็น CPG ของ รพ.สต. CPG ซึ่งโดยปกติไม่ว่าเรื่องอะไรก็จะออกมาจากกรมและไปจังหวัด ไปอำเภอ อำเภอไปที่พื้นที่ ซึ่ง CPG ตัวนั้นไม่เหมาะที่จะใช้กับพื้นที่ เพราะว่าเรื่องเดียวกันก็จริง แต่ CPG ที่มาจากส่วนกลางจะเป็นแนวทางหลักๆ ไม่ใช่วิธีปฏิบัติในพื้นที่ อย่าง CUP หนองสองห้อง โครงการ CBL ที่เขาทำมันทำให้เขาได้ตัวเหล่านี้ออกมา ได้ 2-3 เรื่องไม่มาก และจะนำสู่การไปใช้ เขาจะทำในลักษณะปฏิทินตั้งโต๊ะ ทำให้เจ้าหน้าที่ของรพ.สต. เอาไปใช้ได้ เช่น เรื่องของเบาหวาน ที่จะมีแนวทางของส่วนกลางเป็นทฤษฎีภาพรวมเลย พอมาถึงพื้นที่ของเขา เบาหวาน ต้องใช้แบบนี้นะ หรือเรื่องคนไข้ MI ก็แล้วแต่ ในพื้นที่ของเขามี ตอนนี้กำลังออกมาเป็นแผ่นๆ ยังไม่มีเป็นปฏิทินให้เปิด แต่ว่าก็งวดเต็มที่แล้ว…”
บัวบุญ อุดมทรัพย์ สสจ.ขอนแก่น
2. การเรียนรู้ของผู้เข้าร่วมกระบวนการ ลปรร.
2.1 เปลี่ยนแปลงวิธีทำงานและหรือรูปแบบการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ หน่วยงาน/องค์กร ตัวอย่างเช่น นำกระบวนการ ลปรร. เป็นส่วนหนึ่งของการประชุมประจำเดือน เจ้าหน้าที่ตื่นตัว สนใจ และเข้าร่วมเพิ่มขึ้นและสม่ำเสมอ
2.2 เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปในทิศทางส่งเสริมพัฒนางาน
2.3 วิธีคิด มุมมองเปลี่ยนไป คือ เข้าใจปัญหาเหตุการณ์ วิธีทำงานเพื่อนร่วมกัน ผู้ป่วย ที่เกิดขึ้นกับสิ่งรอบตัว
2.4 เห็นคุณค่างาน เห็นคุณค่าตนเอง
“… เกิดการประชุมประจำเดือนเพื่อพัฒนางานในรูปแบบใหม่ด้วยการประยุกต์ใช้กระบวนการ ลปรร. และการจัด ลปรร. แบบสัญจรในแต่ละ รพ.สต. ติดต่อกันเป็นประจำในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเพิ่มทักษะในงาน…”
เสาวดี สังข์ทอง สสอ.ท้ายเหมือง จ.พังงา
“… ก็เลยรู้สึกว่าวิธีการเล่าเรื่องเราก็ได้วิธีการทำงานที่ดีในพื้นที่เราอีกเยอะ ในส่วนตัวที่ได้ หลังจากนั้นก็เอาไปลองทำเอง เราประทับใจว่าเราทำได้ ก็ลองไปทำเอง น้องๆ ที่ทำก็รู้สึกดี เราทำเรื่องเจาะเลือดเบาหวาน น้องๆ ที่ทำก็ได้ประโยชน์ว่าเอาไปใช้ได้ดีนะพี่ จากเมื่อก่อนเราเจาะเลือดเราต้องตีคนไข้ นวด เราได้เทคนิคใหม่ ทุกคนก็แชร์กัน เราก็เอาไปในพื้นที่ 3-4 ที่ ร่วมกับทีมผู้บริหาร จากผู้บริหารไม่เคยไปพื้นที่ก็ได้ไปพื้นที่กับเรา เกิดเครือข่ายการทำงานกับ รพ.สต. ในพื้นที่ หมอที่ไม่ค่อยมีส่วนร่วมก็เริ่มเข้ามา ชวนก็ง่ายขึ้น เข้าใจคนไข้ เข้าใจเจ้าหน้าที่ รพ.สต. มากขึ้น…”
สถิต สายแก้ว รพ.ราษีไศล จ. ศรีสะเกษ
“ … ตั้งประเด็นว่า ทำไมเขาถึงติดยาเสพติด ทำไมถึงเป็นอย่างนี้ ให้เขาเล่า แรกๆ เขาก็ไม่เล่า หลังจากพี่ติ๊บได้คุยกัน ก็สนิทสนมพยายามใกล้ชิด ให้ความเห็นอกเห็นใจเขา เขาก็กล้าเล่าให้ฟัง ว่าเป็นอย่างไร คือเขาติดยาเพราะตามเพื่อน บางครั้งก็อยากลอง บางครั้งก็ขาดความอบอุ่นในครอบครัว หลายๆ อย่าง เขากล้าเล่าให้เราฟัง จนเกิดความสนิทกันขึ้น จนกระทั่งอบรมเสร็จ เข้าค่าย10 วัน เสร็จแล้ว เขาก็โทรศัพท์ มาหาเรา บอกว่าเขาอบอุ่นขึ้น ทำให้เขามีค่าขึ้น เพราะไม่มีใครรังเกียจเขา เขาจะไม่หันไปติดยาอีก… ”
ศจี ชูศรี สสอ. เมือง จ. ระนอง
“… สิ่งที่เราได้ในการทำวงเล็ก 26 คน คือ วิธีคิด เขาปรับเปลี่ยนไปเลย หลังจากการประเมินตรงนั้น เขาบอกว่าต่อไปนี้การทำงานของเขา เขาจะไม่ทำแค่ว่ามาประชุม แต่จะเอาวิธีนี้ไปถ่ายทอดใน สสอ.เขาว่า ต่อไปนี้ไม่ใช่ว่าสสอ.เรียกมาประชุม ก็แค่มาประชุมและรับฟังการชี้แจงและก็กลับไป แต่จะต้องมีการแลกเปลี่ยนในพื้นที่ของเขา และก็สิ่งที่เราได้ก็คือ เราได้ระบบงานที่เกิดขึ้น เราได้สิ่งที่เราจะต้องลงไปติดตามประเมินผลกลุ่มเหล่านี้ ที่ไม่ต้อง KPI อย่างที่พี่หน่อยบอก เราไปโดยไม่ต้องมี KPI เขารับเราแน่นอน อันนี้เป็นภาพแรก แต่จริงๆ อีกหลายภาพ…”
บัวบุญ อุดมทรัพย์ สสจ.ขอนแก่น
“… เรื่องความสัมพันธ์ของเจ้าหน้าที่ พอเกิดการตั้งวง ความสัมพันธ์ระหว่าง CUP กับพื้นที่ รพ.สต. ดีขึ้น ระหว่าง รพ.สต. ด้วยกัน พอได้มาพูดคุยกัน เห็นแนวทางการทำงาน ได้แลกเปลี่ยนตรงนี้ด้วยและอีกอย่างหนึ่งเหมือนเข้าอกเข้าใจ เห็นอกเห็นใจกัน เกิดการทำงานเป็นทีมขึ้น เกิดการทำงานที่เป็นเครือข่าย เช่น ตรงนี้มีปัญหาก็จะช่วยเหลือกัน เกิดการช่วยเหลือกันระหว่างการทำงาน ถ้าไม่มีวงตรงนี้ก็ต่างคนต่างทำงาน อันนี้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง…”
นุชนภางค์ ภูวสันติ สสจ.สระบุรี