การขับเคลื่อนกระบวนการแลกเปลี่ยนรเรียนรู้ (15)

สรุป ส่งเล่มให้กระทรวงฯ…”

นุชนภางค์ ภูวสันติ สสจ.สระบุรี

“… ถ้าในภาพของการเขียนแผน หมายถึงแผนของ CUP ของหนองบัวระเหว จะทำแผนเป็นภาพของ CUP ทำแผนร่วมกันหมด ระหว่างโรงพยาบาลกับ รพ.สต. ทั้ง 6 แห่ง แผนเราจะมียุทธศาสตร์ประมาณ 5-6 ยุทธศาสตร์ และเรื่อง KM ก็อยู่ในงานพัฒนาคุณภาพ เจ้าหน้าที่เราจะใช้คำว่าเครือข่ายสุขภาพหนองบัวระเหว เวลาเราเขียนหมายถึง ลปรร. หรือเปล่า เราไม่เคยสื่ออันนี้ แต่ทุกอย่างที่เราทำ ก็อยู่ในเนื้องาน เช่นนโยบายที่เราพัฒนาระบบปฐมภูมิ ปีนี้คือเราจะเน้นระบบการดูแลต่อเนื่อง แต่ทุกครั้ง ที่เวลาเราประชุมระบบการดูแลต่อเนื่อง เราจะใช้ ลปรร. ทุกครั้ง เราเลยไม่ได้บรรจุในแผนว่าเป็น ลปรร. แต่ในยุทธศาสตร์ การพัฒนาคุณภาพของเราจะมี KM การจัดการความรู้ ซึ่งอย่างเวลาที่ตัวเองรับผิดชอบงาน วิชาการ รพ.สต. ทุกครั้ง ที่การพูดคุยแม้แต่ประชุม รพ.สต. จะมีการให้ทุกแห่งเสนอความคิดเห็นของตัวเองก่อน จะไม่ฟันธง เพราะฉะนั้นอีกอย่างหนึ่งที่เราทำอย่างนี้เพราะว่าทุกครั้ง ที่เราทำจะมีศัพท์ใหม่มา รพ.สต.ก็จะบอกว่ามีงานมาให้เฮ็ดอีกแล้วพี่ ทุกอย่างไม่ต่างกันเราเลยไม่พูด เพราะนั่นแหละคือ ลปรร. ของเรา เพราะเราจะมียุทธศาสตร์ในเรื่องพัฒนาบุคลากร…”

ลักขณาภรณ์ เสนชัย รพ.หนองบัวระเหว จ.ชัยภูมิ

“… กำหนดหัวปลากำหนดไปเลย มีแผนปลายปี พอปี 55 เราจะแบ่งเป็น 2 ช่วง ต้นปีงบเราจะทำเรื่องคนไข้เรื้อรัง ระบุโรคไปเลย เบาหวาน ความดันไปก่อน กลุ่มเป้าหมายที่มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในวง คือน้องๆ เวชปฏิบัติ ทุกที่มีพยาบาลเวช มี 10 CUP เวลาตัวเองประชุมประจำเดือนพยาบาล พยาบาลใน PCU ในโรงพยาบาลก็เข้าร่วมประชุมด้วย เป็นลูกพยาบาลด้วย เขาเป็นคนปฐมภูมิ การที่จะประชุมฝ่ายกลางก็เป็นเรื่องปกติ แต่เขาจะมาประชุมกับเราด้วยทุกเดือน…”

เสาวดี สังข์ทอง สสอ.ท้ายเหมือง จ.พังงา

 

จ. การติดตามประเมินการบริหารให้เกิดวง ลปรร.

เมื่อดำเนินตามแผนหรือโครงการในการขับเคลื่อนกระบวนการ ลปรร. สาธารณสุขจังหวัดและ CUP ซึ่งมีบทบาทในการวางแผน กำหนดเป้าหมาย ออกแบบ และประสานกับผู้เกี่ยวข้องการขับเคลื่อนในภาพรวม มีวิธีติดตามผลของการขับเคลื่อนวง ลปรร. คือ

• ลงพื้นที่เป็นผู้สังเกตการณ์ในขณะที่มีการจัดวง ลปรร. บทบาทคือให้กำลังใจ ให้คำชื่นชม บางครั้งมีผู้บริหารร่วมลงพื้นที่ด้วย

• จัดหรือเปิดพื้นที่ให้มาเล่าและนำเสนอผลงานในเวทีวิชาการ หรือการประกวดระดับจังหวัด

• จัดเวทีให้มาพูดคุยกันเพื่อติดตามความก้าวหน้าและทราบถึงปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงาน

• รวบรวมผลงานหลังจากจัดวง ลปรร. ทั้งเรื่องเล่าและการถอดบทเรียน โดยส่วนมากพื้นที่ส่งขึ้นมายังส่วนกลางที่ระดับ CUP หรือ

“…. เป็นผู้ประสานระดับจังหวัด พอเขาจัดระดับอำเภอเขาก็จะเชิญเราไปด้วย เราก็ไปช่วยเอื้อให้เขาเกิดการทำวง ตอนแรกจิ๋มก็แจ้งไปยังสาธารณสุขอำเภอและทางผู้อำนวยการทุกแห่งได้ทราบว่า เราจะต้องทำอะไรอย่างน้อยก็ต้องมีการจัดวงในระดับอำเภอในระดับ CUP ที่คุณจะต้องเอาไปต่อยอด ทางอำเภอเวียนแจ้งทางสาธารณสุขอำเภอว่าเขาจะจัด เขาก็แจ้งขอเชิญจังหวัดให้ไปร่วมเราก็เลยจัด พอวันไปท่านสาธารณสุขอำเภอมันน่าจะขึ้นกับผู้ประสานและการดูลูกน้องด้วย เพราะว่าอย่างที่เราตั้งวงมันจะมีสามวงวันนั้นจะมีไข้เลือดออก มี pap smear เรื่องเจ เป็นสามแห่ง ท่านสาธารณสุขอำเภอก็อยู่และถามว่าทำอะไรบ้าง ตอนแรกก็ประชุมว่าจะทำอะไรและก็บอกว่าจะแบ่งกลุ่มท่านก็มา observe ทานข้าวเที่ยงจนเสร็จ ก็จะให้แต่ละกลุ่มมาเสนอ ท่านก็มานั่งฟังก็เลยมองว่าการประสานงานมาที่ระดับ CUP มันก็มีส่วนที่ทำให้เขาได้ดำเนินการต่อ…”

จิราพรรณ โพธิ์กำเนิด สสจ. ศรีสะเกษ

“… ก็หาเวทีให้เขา ให้เขาได้เผยแพร่ในสิ่งที่เขาได้จากกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรามีเวทีวิชาการสาธารณสุขของจังหวัด บางแห่ง บางวง เขาจะมีโอกาสนำเสนอ เป็นโปสเตอร์ presentation บางวงมีโอกาสได้นำแสดงเป็นนิทรรศการอย่างมีชีวิต บางวงก็จะเอาไปเป็น R2R ก็นำเสนอผลงานของ R2R และเขาก็มีการประกวดกันของระดับจังหวัด ในหลายๆ วงที่อาจจะไม่มีโอกาสเข้ามาสู่เวทีนี้ เพราะว่าจังหวัดจะต้องกรองมาก่อน และถูกบันทึกลงในหนังสือ ผลงาน part ของเรื่องเล่า ก็จะเป็นอีก part หนึ่ง เป็นเรื่องเล่าของปฐมภูมิ จะอยู่ข้างหลังไป อยู่ในหนังสือประกอบการประชุมจังหวัดประจำปี บางคนอาจจะถูก UP ขึ้น Web บอกของเราว่า เพื่อจะให้คนอื่นๆ ได้อ่านเรื่องราวของเขา…”

บัวบุญ อุดมทรัพย์ สสจ.ขอนแก่น

“… ของสระบุรี จะมีอยู่ 12 CUP พอเราพัฒนาศักยภาพ ทีมนำไปแล้ว แต่ละ CUP เราจะมีแผนร่วมกันว่า ในปีนี้เราจะแลกเปลี่ยน ว่าแต่ละ CUP จะทำเรื่องอะไร ตัวจังหวัดเอง ก็จะเอาตัวเองลงไป เหมือนว่าอาจจะเป็นพี่เลี้ยงไปชื่นชมการทำงานของเขา บางครั้งเราก็ไปเป็น fa. ช่วยเขา คนที่เราพัฒนาให้การเรียนรู้ก็ไม่ได้ 100% เราก็ไปช่วย เอาตัวเองลงไปทำด้วย อย่างเขาตั้ง 3 วง เราก็ไปช่วยเขาสัก 1 วง พอหลังจากเสร็จเราก็มาคุยกันว่าอย่างไร เราจะมีเวทีในการเอาทีมนำ เพราะทีมนำเราจะไม่เยอะมาก อย่าง CUP เรามี 3 คน เราก็จะเอามาสัก CUP ละ 1 หรือ 2 แล้วแต่เขาจะว่าง ก็มาคุยกันติดตามกันว่าเขามีปัญหาอะไร และจะให้จังหวัดช่วยเหลืออะไร เราจะทำทุก 2 เดือน ที่เราสร้างความก้าวหน้าร่วมกัน…”

นุชนภางค์ ภูวสันติ สสจ.สระบุรี