เรื่องอะไรบ้าง หลังจากที่เราให้ประเด็นไป ก็มีทีมงาน 9 คน เอาเนื้อหาเรื่องทั้งหมดมาจับว่ามันเข้าประเด็นอยู่ในหัวปลาที่ตั้งไว้ เข้าวงก็จัดคนลงวง เราก็จะจัดวงแลกเปลี่ยนในจังหวัด โดยใช้ทีม fa. ทีม note…”
บุษกร อุ่ยเต็กเค่ง สสจ.ระนอง
“… ฝ่ายต่างๆ ก็รู้เราแบ่งเป็น 3 ประเภท เตียง 3 เป็นเตียงที่โรงพยาบาลต้องดูแลร่วมกับ รพ.สต.นะ เตียง 2 NP ดูแลนะ เตียง 1 เจ้าหน้าที่สุขภาพดูแล เราก็ออกไปตามโซน เราให้ ผอ.รพ.แม่โซน กล่าวเปิดประชุม เขาบอกว่าวันนี้พี่หน่อยให้ผมมาพูด ลปรร. ผมก็ไม่รู้ว่า ลปรร. คือเรื่องอะไร ตั้งวงคุยกัน เตียง 3 มีแต่วิชาชีพ เราก็จะมีแพทย์ มีนักกาย มีใครเข้ามาร่วมคุยกัน เราก็ตั้งตามโซน ยังไงเขาก็ต้องมาเป็นประธานเปิดให้ฉัน คือพูดไปเรื่อยๆ ในส่วนนี้ จะตั้งวงจะได้อะไรก็แล้วแต่ แต่ให้คนที่ทำงานจริงมาเล่ากัน แล้วเราไปครึ่งวัน เตียง 3 คนจะเล็กลงแล้ว เพราะจังหวัดอุดรมี 20 อำเภอ 17 รพ.ชุมชน 1 รพ.ศูนย์ มี 4 วง แต่เราเหนื่อยนะ เช้าไป 1โซน บ่ายไป 1 โซน แต่ว่าผู้บริหารก็เริ่มเห็นแล้ว …”
รตญ.อมรพรรณ พิมพ์ใจพงศ์ สสจ.อุดรธานี
“…เราจะเป็นพื้นที่ใหญ่ การเอา ลปรร.ลงไป ได้ครึ่งหนึ่งก็หรูแล้วค่ะของศีรสะเกษได้ 13 อำเภอ คิดออกมาก็ 60 % ที่เราติดตามดูก็ดีใจที่อย่างน้อยเราก็มีทีม ทีมที่ยั่งยืนก็คือพี่สถิต ระดับอำเภอ และมีพี่อีกหลายคน ตอนนี้มีทีมอยู่ 5 คน ที่มาจาก รพ.สต. รพช. และ สสจ. ในจังหวัดเรา ตอนแรกที่เราเอาไปลง คือทีมนำของจังหวัดก่อน 20 คน พอเสร็จแล้วก็ไปเป็นทีมของ CUP 40 คน ตามด้วย รพ.สต. 20 คน ที่เราไปจัด ปรากฏว่าตอนที่เราติดตามมาก็เหมือนกับทุกจังหวัด คือเราต้องมีการจัดวงแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทุกอำเภอ รพ.สต. ละ 1 เรื่อง ตอนนี้ได้มาครึ่งหนึ่ง รวมกับพี่ที่ศูนย์อนามัยมีทำมา 13 อำเภอ ก็สรุปให้นายว่า แต่ละอำเภอเขาทำเรื่องอะไรมาเขาก็จะส่ง เรื่องเล่าสกัดบทเรียนมา….”
จิราพรรณ โพธิ์กำเนิด สสจ. ศรีสะเกษ
“…เรื่องของทีม เริ่มแรก สสจ. ส่วนใหญ่พัฒนาบุคลากรจะเป็นคนรับผิดชอบ ในแต่ละบริบทของพื้นที่ราชบุรีเป็นบุคลากรของปฐมภูมิหรือ รพ.สต. มีน้อย เขาก็เลยไปคัดเลือกคนที่เดิมเคยเป็น QRT ของจังหวัด QRT คือตัวแทนของแต่ละอำเภอที่คัดเลือกมาช่วยในการดูเรื่องคุณภาพ รพ.สต. สาเหตุที่เลือกก็คือ QRT เป็นคนที่เคยลงไปในพื้นที่รพ.สต. รพ.สต.ส่วนใหญ่ให้การยอมรับ ที่ผ่านมาไปเป็นลักษณะทีมพี่เลี้ยง ดูแลให้เขาผ่านคุณภาพ HCA มาก่อน พอมาเปลี่ยนเป็น PCA ทีมนี้ ก็ยังดูแลต่อเนื่อง ก็ได้รับคัดเลือกมาเป็นทีมวิทยากรจังหวัดด้วย ที่สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ ตัวจินตนาก็อยู่สาธารณสุขทั่วไป พอได้ทีมมา เราก็นัดประชุมพูดคุยกัน…”
จินตนา นาคงาม รพ.โพธาราม จ.ราชบุรี
“…จากที่เราทำแล้วเกิดการเปลี่ยนแปลง เมื่อก่อนเราก็ใช้ ลปรร. ที่หนองบัวระเหวมี รพ.สต. 6 แห่ง ตัวเองอยู่กลุ่มงานเวชปฏิบัติครอบครัวและชุมชน มีหน้าที่ในการดูแลเหมือนรับผิดชอบการดูแลคุณภาพของ รพ.สต. ทั้ง 6 แห่ง จากที่เราทำงานร่วมกันมาและใช้ลปรร. เมื่อก่อนเราให้ รพ.สต. มาพูดเรื่อง best practice, good practice เราทำมาตลอด แต่หลังจากที่เรามาเข้ากระบวนการนี้และไปทำครั้งล่าสุด ก็เชิญผู้รับผิดชอบมาพูดคุยเรื่องการดูแลผู้สูงอายุ ที่หนองบัวระเหวมีผู้สูงอายุจาก 7 % จนถึงปัจจุบัน 13% ผู้สูงอายุของเรามีทั้งโรคเรื้อรัง และหลายๆโรค เราเริ่มดำเนินการโดยคัดกรองผู้สูงอายุของเวชศาสตร์ครอบครัวให้ทาง รพ.สต. ไปคัดกรอง หากเจอสมองเสื่อม เจอสุขภาพจิต ก็เชิญเข้ามา จากการดำเนินงานที่ผ่านมาก็มีบางแห่งที่ทำได้ดี แต่บางแห่งก็ทำอยู่ เราก็เลยพูดคุยและเชิญเขามาพูดคุยเรื่องการดูแลผู้สูงอายุ…”
ลักขณาภรณ์ เสนชัย รพ.หนองบัวระเหว จ.ชัยภูมิ
4. ทำความเข้าใจบทบาทหน้าที่ที่มีผลต่อเป้าหมายกระบวนการ ลปรร.
กระบวนการนี้เป็นวิธีสื่อสารสร้างความเข้าใจกันในทีมงานถึงเป้าหมายการจัดกระบวนการ ลปรร. ของจังหวัดและบทบาทแต่ละคน
• สื่อสารกับหัวหน้างานเพื่ออำนวยความสะดวก อนุญาตให้เป็นหนึ่งในทีมขับเคลื่อน โดยการโทรศัพท์พูดคุย ทำหนังสือแต่งตั้ง
• พูดคุยกับทีมงานชักชวน ถามความสมัครใจ ความสะดวกที่จะเข้าร่วมเป็นทีมงาน รวมถึงบอกบทบาทความรับผิดชอบ
“…ศรีสะเกษมี QRT ประมาณ 20 คน ใช้วิธีคุยกับเจ้าตัวเขาก่อน และเรียนหัวหน้าเขาให้รับทราบด้วย สสจ.จะเป็นหัวหน้าฝ่าย ทีมอำเภอจะมาจากโรงพยาบาลชุมชน และผู้รับผิดชอบงานโดยตรงเช่นเภสัชกร เพราะเมื่อเราคุยกับเจ้าตัวแล้วไปคุยกับผู้บริหาร เขาอนุญาต ก็จะทำเป็นคำสั่งแต่งตั้งส่งไปให้เขามาช่วยงาน โดยต้องอาศัยความรู้จักและทำความคุ้นเคยพอสมควร…”
คุณจิราพรรณ โพธิ์กำเนิด สสจ.ศรีสะเกษ
“… เมื่อได้ประเด็นหัวปลาแล้ว ทำการประสานไปทางสาธารณสุขอำเภอ เพื่อขอเชิญเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานมาร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ โดยทำหนังสือถึง สสอ.ก่อน และโทรศัพท์ไปเรียนให้ทราบว่าจะเชิญ รพ.สต.มาเล่า ท่านสาธารณสุขอำเภอก็ให้ความร่วมมือ และโทรศัพท์ไปหาคนที่จะเชิญเข้ามาเป็นการส่วนตัว เพื่อแจ้งและสอบถามความสะดวกในการเข้าร่วมให้ หากมีการติดประชุม ก็เลื่อนจนทุกคนสามารถเข้ามาร่วมได้…”
ลักขณาภรณ์ เสนชัย รพ. หนองบัวระเหว จ.ชัยภูมิ
“…มีการประสานชี้แจงบอกบทบาทก่อน เพื่อทราบว่าเขาอยากทำหรือไม่ และชักชวนมาร่วมงาน สร้างเป็นทีมนำในทุก CUP เพื่อให้เข้าใจและเห็นกระบวนการลปรร.ก่อนว่าเป็นอย่างไร จะจัดวง ลปรร.จะต้องทำอย่างไร พอมีทีมนำแล้ว จึงเป็นการตั้งวง ลปรร.ซึ่งต้องมีคุณกิจ ทำความเข้าใจวิธีการหาคุณกิจอ ย่างไร การเป็น fa. ต้องทำหน้าที่อย่างไร และให้ไปขับเคลื่อนให้เกิดการลปรร.ในพื้นที่ของทุกๆ CUP เกิดการแลกเปลี่ยนและเกิดการปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานของแต่ละพื้นที่ขึ้น มีการนำ ลปรร.ไปพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่ใน รพ.สต. ด้วยการนำพื้นที่ที่ทำได้ดีมานั่งคุยแลกเปลี่ยน และให้เห็นความสำเร็จ…”
นุชนภางค์ ภูวสันติ สสจ.สระบุรี
“… ตอนแรกทดลองเรียนไปทำกับครู ข. ครู ก. โดยมีการกำหนดหัวปลาในการไปทำ หลังจากนั้นก็ทำเนียนไปกับงานประจำ จากที่ได้เรียนแจ้งผู้บริหารในการที่จะพัฒนาเจ้าหน้าที่ รพ.สต. ไปด้วยกัน เวลาไปเยี่ยมพื้นที่เดือนละครั้งนั้นก่อนไปจะให้พื้นที่ส่งข้อมูลมาก่อนว่า รพ.สต. ที่จะไปนั้นเด่นเรื่องอะไร และไปร่วมกันแชร์ ซึ่งปกติจะมีกำหนดการทำงานว่าเดือนไหนจะไปที่ไหนและแจ้งพื้นที่ล่วงหน้า โดยมีการลงตารางรายละเอียดกำหนดวันที่จะไปอีกครั้งหนึ่ง…”
สถิต สายแก้ว รพ. ราษีไศล จ.ศรีสะเกษ