สสจ. core team จาก CUP สสอ. รพช. รพ.สต. และกลุ่ม QRT
“…ต้องมีเวลา บุคลิก เวลาด้วยกัน ไม่ต้องเวลาราชการ พระอาทิตย์ตกดินต้องคิดถึงกันตลอดเวลา มีอะไรปรึกษาหากันได้ ต้องเป็นอย่างนั้นก่อน ปรึกษาได้ทุกเรื่องก่อน ก่อนจะเจาะเป็นเรื่องๆไป เราจะดูน้องกันแบบนั้น ดูจากที่เราพาน้องมาเรียนรู้เรื่องใหม่ ๆ และเขาสามารถที่จะไปต่อได้ และก็ค่อยๆ น่าจะเป็นนายอุทิศ นางอุทิศ เอาใจมาก่อน ความรู้ไม่ต้อง เราจะมาต่อเติมให้ พาไปไหนก็เอาไปด้วย เหน็บไปด้วย และดูน้องคนนี้เขาชอบเรื่องอะไร แบบไหน เพราะว่าจังหวัดมีหลายเรื่อง น้องคนนี้ชอบเรื่องอะไร เราต้องดูบุคลิกเขาด้วย และความเป็นส่วนตัวเขาด้วย…”
รตญ.อมรพรรณ พิมพ์ใจพงศ์ สสจ.อุดรธานี
“… ที่ระนอง นอกจากมีใจที่เสียสละ มีใจรักแล้ว ยังมองถึงคนๆ นั้นที่จะมาเป็น QRT ได้ มีความมั่นใจแค่ไหน รู้จักแบ่งปันให้ไหม เพราะว่าถ้าเกิดไปดูงานของน้อง มีแต่ติ แสดงว่าใช้ไม่ได้แล้ว มีการแบ่งปันกัน ไม่ใช่ ไปเพื่อการจับผิด และสิ่งสำคัญที่สุดต้องยอมรับได้ด้วยว่า มันจะ feedback จากข้างล่างหรือข้างบนเราต้องรับได้… ”
ศจี ชูศรี สสอ.เมือง จ.ระนอง
“…ขอนแก่นจะดูที่เขาเป็นคนชอบประสานงานและบริหารจัดการ มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ถ้าเขามีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับเจ้านายเขา หรืออะไรด้วย ถ้าเขามีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี กับเจ้านายเขา เช่น กับ ผอ.หรือ สสอ. ถ้าเขาได้ทำอะไรจะได้รับการสนับสนุน ก็จะเลือกประมาณนี้ ขอนแก่นมีประมาณ 15-16 คน…”
บัวบุญ อุดมทรัพย์ สสจ.ขอนแก่น
“…สาเหตุที่เลือกก็คือ QRT เป็นคนที่เคยลงไปในพื้นที่รพ.สต. รพ.สต.ส่วนใหญ่ให้การยอมรับ ที่ผ่านมาไปเป็นลักษณะทีมพี่เลี้ยง ดูแลให้เขาผ่านคุณภาพ HCA มาก่อน พอมาเปลี่ยนเป็น PCA ทีมนี้ ก็ยังดูแลต่อเนื่อง ก็ได้รับคัดเลือกมาเป็นทีมวิทยากรจังหวัดด้วย ที่สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ ตัวจินตนาก็อยู่สาธารณสุขทั่วไป พอได้ทีมมา เราก็นัดประชุมพูดคุยกัน…”
จินตนา นาคงาม รพ.โพธาราม จ.ราชบุรี
2. พัฒนาทีม
เมื่อมีทีมงานเพิ่มขึ้น ได้พัฒนาทีมงานสร้างความเข้าใจถึงหลักการ แนวคิดกระบวนการ ลปรร. จนสามารถประยุกต์ใช้ได้เมื่อจัดวงจริงในพื้นที่ โดย
2.1 จัดอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้เพิ่มเติมโดยเป็นผู้ฝึกเอง มีการทำวง ลปรร. เป็นตัวอย่างให้ดู จากนั้นให้ฝึกปฏิบัติการเป็นกระบวนกร นักบันทึก ถอดบทเรียน
2.2 ลงมือฝึกปฏิบัติทำวง ลปรร. จริง โดยมีพี่เลี้ยงให้คำแนะนำ ปรึกษา (coaching feedback) ตั้งแต่เริ่มต้นออกแบบวง ลปรร. การทำหน้าที่การเป็นกระบวนกร ผู้บันทึก ฯลฯ ด้วยกระบวนการ BAR DAR AAR
2.3 เชิญวิทยากรจากภายนอกมาถ่ายทอดความรู้ทั้งทีมงานและกลุ่มผู้เข้าร่วมกระบวนการ ลปรร.
“… สืบเนื่องมาจากปฐมภูมิ ที่ มสช. ดร.วณี มีการคัดเลือก CUP ละ 1 ล้านบาท ของระนองจะคัด core team จาก 2 อำเภอ ที่อยู่ภายใต้เงื่อนไข อำเภอกะเปอร์ กับ กระบุรี มีทีมจังหวัดและทีม สสอ. และเรามี core team 5 คน เหมือนจังหวัดราชบุรี พอ 5 คนนี้ไปผ่านกระบวนการของมูลนิธิฯ มสช. เสร็จ ก็จะมีมูลนิธิฯ มสส. มา ให้คัดเลือกบุคลากรที่จะทำ ลปรร. ใน รพ.สต. ก็เอาจังหวัด เอาอำเภอ คน รพ.สต. เอา CUP ที่นี้ core team จะมา ไม่เหมือนกัน กระบวนการมารับรู้ไม่เหมือนกัน ของ มสช. จะอ่อนๆ ทาง มสส.จะเข้มข้น แบบได้กระบวนการที่ชัดเจน ตัวเองเป็น core team ของเขาทั้งสอง คืออยู่ตรงกลางจะรู้เลยว่าอันไหนดีไม่ดี ก็จับทีมชุดโน้นกับทีมชุดนี้มารวมกัน ก็จะมี core team 9 คน ที่ทำลปรร. มาสอนกระบวนการโดยมีอาจารย์อ้วน trainer และ 5 คนที่เหลือก็ไปเป็นเนื้อเดียวกัน ต้องมา concept นี้ และเอาเอกสาร ถ่ายทอดกระบวนการ พอเสร็จแล้วเขาก็จะรู้ว่า ต้องทำกระบวนการตามนี้ พอดีมีงบของ มสส.ให้ไปทำ พอให้งบไปทำ ตัวเองรับผิดชอบปฐมภูมิ มีงบของ สปสช. ที่ให้งบมาพัฒนาระบบบริการสุขภาพระบบปฐมภูมิ ก็เลยได้ที ได้ทั้งคน และมีเม็ดเงิน บริหารจัดการ เราก็จัดสรรเงินให้กับ รพ.สต. ในพื้นที่ มี 45 แห่ง เราก็ให้แห่งละ 2,000 บาท ทำอย่างไรก็ได้ให้คุณไปจัดกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยเอาผลงานก็คือให้มีเรื่องเล่าออกมา core team เป็นพี่เลี้ยง ถ่ายทอด 9 คน train เรียบร้อย เราก็เอาตัวแทน รพ.สต. ทั้ง 49 แห่งมาเข้ากลุ่ม คุณสมหญิงก็ลงจังหวัดระนองไป observe อีกที เราก็แบ่งกลุ่มเสร็จแล้วเราก็ train เจ้าหน้าที่ รพ.สต. การเป็น fa.. การเป็น note การเป็นคุณกิจ ทุกคนต้องฝึก ทุกคนต้องฝึกกระบวนการนี้หมด พอเสร็จแล้วคนที่เป็นเหมือนครู ข. ต่อจากเรา ครู ก. ก็ไปถ่ายทอดใน รพ.สต. ก็มีเนื้องานออกมาว่ามีเรื่องเล่าของ รพ.สต. ออกมา อำเภอเป็นคนรวบรวมเรื่องเล่าทั้งหมด…”
บุษกร อุ่ยเต็กเค่ง สสจ.ระนอง
“…. อำเภอจะส่งรายละเอียดมาให้ว่าจะจัดวันไหน ช่วงไหน และจังหวัดจะไปร่วมสังเกตการณ์ อำเภอเมืองที่ได้รับอบรมจากจังหวัดไปมีทั้งหมด 10 คนเป็นครู ก. ไปขยายต่อใน รพ.สต.ทุกแห่ง ก็ดึงเจ้าหน้าที่ รพ.สต. มาประมาณ 30 คน เพื่อทำวง 3 วง จังหวัดไปเป็น coacher แบ่งครูก.ทำหน้าที่เป็น fa., note taker, coach มีผู้เข้าร่วมจาก รพ.สต. ก็ได้ผลที่ดี รพ.สต.อยากจะทำกระบวนการลักษณะนี้ต่อไป และอยากฝึกให้สามารถทำได้ในทุกบทบาท โดยตั้งใจจะทำกับ อสม.ในพื้นที่ พร้อมกับให้จังหวัดช่วยไปดู…”
จิราพรรณ โพธิ์กำเนิด สสจ.ศรีสะเกษ
“… จัดวงให้เขาดูและศึกษาเรื่องการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เป็นอย่างไร ให้เขาเรียนรู้โดยมาแลกเปลี่ยนกระบวนการดูแลผู้สูงอายุ น้องเจ้าหน้าที่จาก สสอ.เป็นผู้จดบันทึก (note taker) มีพยาบาลจากโรงพยาบาลกุมกามเป็นผู้สังเกตการณ์ ภายหลังการจัดวง มีการถอดบทเรียน แนะนำเสริมในเรื่องกระบวนการและวิธีการ โดยวงที่ลงไปช่วยเป็นกรณีผู้สูงอายุสมองเสื่อมที่ถูกขัง จากที่เจ้าหน้าที่ รพ.สต.มาปรึกษาในการนำเรื่องนี้มาทำ CBL ด้วยการลปรร. จึงแนะนำให้ลองทำดู เพราะถ้าทำครั้งนี้สำเร็จ เรื่องอื่นๆก็น่าจะทำได้ ทาง อบต.ก็มาให้ความร่วมมือ นัดกันเป็นตอนเย็นเพื่อทำวง ได้พาพยาบาลจิตเวชไปร่วมด้วย ทำหน้าที่อยู่ข้างหลังสนับสนุนงานวิชาการ เพราะเรื่องสมองเสื่อมนั้น ทาง รพ.สต.อาจยังไม่แม่นในวิชาการ พยาบาลจิตเวชจะสามารถช่วยตอบเวลามีญาติคนไข้ถาม และบางครั้งเมื่อหลุดประเด็นขณะทำวง จะช่วยแนะนำเพิ่มเติม ทำให้วงลปรร.วันนั้นประสบผลสำเร็จได้ ด้วยการก็ทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงให้ตอนมีปัญหา ลงมาอยู่ในเวทีเป็นขวัญกำลังใจ เป็นหลักให้น้องๆเจ้าหน้าที่รพ.สต. มีการร่วมตั้งแต่เตรียมงาน ให้ข้อมูล และคำปรึกษาจนจบกระบวนการ ทำ BAR DAR AAR โดยภายใต้ความเชี่ยวชาญในหน้างานก็จะเป็นแหล่งข้อมูลให้กับเขาได้…”
ลักขณาภรณ์ เสนชัย รพ.หนองบัวระเหว จ.ชัยภูมิ
“…ในฐานะเป็น project manager ด้วย กระบวนการพัฒนาทีมเกิดจากทุกคนเมื่อเป็น QRT แล้ว จะมีโอกาสที่จะได้เข้าวงแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทั้งจังหวัด อำเภอ มาในฐานะช่วยเป็น fa. เป็น co-fa. หรือฐานะของผู้สังเกตการณ์ เมื่อมาหลายครั้งก็จะเกิดทักษะในการทำวงแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และรู้สึกว่าสิ่งที่ได้รับเหมือนได้บุญ ก็เอาบุญไปถ่ายทอดต่อและบอกเล่า ทำให้ได้พัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง…”
บัวบุญ อุดมทรัพย์ สสจ.ขอนแก่น
“…อบรมให้ครอบคลุมทั้ง 3 CUP โดยชวนผู้ที่มีทักษะการถ่ายทอดความรู้ การพูดคุย การจัดวงเสวนามาร่วม มีตนเองทำหน้าที่วิทยากรกระบวนการ…”
จุฑามาส มาฆะลักษณ์ สสจ.สมุทรสงคราม
“…ที่ผ่านมาเป็นลักษณะของทีมพี่เลี้ยง ทำหน้าที่ดูแลมาตั้งแต่เรื่องให้ผ่านคุณภาพ PCA จนดูแลต่อเนื่อง ทีมมี 5 คน มีการถ่ายทอดประสบการณ์ตอนเป็นครูก. ต่อให้ครู ข. เนื่องจากมี 5 คนอาจไม่สามารถทำได้ ต้องไปหาเครือข่าย คือ จังหวัดที่อยู่ในเขตมาช่วยกันจัดอบรม เวทีที่ไปอบรมก็มีคนที่มาจากหน่วยงานต่างกัน และมีการ AAR ในแต่ละช่วง พอกลับไปทำในพื้นที่ตนเองก็สามารถนำความรู้ไปใช้ได้มาก ถือเป็นกระบวนการร่วมทำให้เกิดการเรียนรู้ของ core team ที่เรียนรู้ร่วมกันโดย AAR ทำให้การเรียนรู้ไปได้เร็ว ชัดขึ้น…”
จินตนา นาคงาม รพ.โพธาราม จ.ราชบุรี
“… มีวิธีการไปเรียนรู้สิ่งที่เกิดขึ้นจริงหน้างานใน CUP ทั้ง 12 CUP ของสระบุรี หลังสร้างทีมนำแล้ว ก็มีแผนในปีนี้ให้แต่ละ CUP มาแลกเปลี่ยนว่าจะทำเรื่องอะไร จังหวัดลงไปเป็นพี่เลี้ยง ไปชื่นชมการทำงานของเขา บางครั้งก็ไปเป็น fa. ช่วยเขา ลงไปทำกับเขา ในการช่วยให้คำแนะนำ การ mapping ทำ BAR วางแผนการทำวง โดยเป็นการไปเรียนรู้ร่วมไปพร้อมกัน…”
นุชนภางค์ ภูวสันติ สสจ.สระบุรี
“… เริ่มจากยุทธศาสตร์จังหวัดที่เกิดจากงานพัฒนาบุคลากรมาบูรณาการให้เกิดเวที ผู้บริหารรับทราบ สนับสนุน ประเด็นความสำเร็จจึงมาจาก 2 เรื่อง คือ การบูรณาการงานและการเตรียมการอบรมทักษะให้กับเจ้าหน้าที่โดยการฝึกปฏิบัติและเขียนออกมาได้ เป็นภาพของการจัดการที่มี core team และต้องมีเครือข่ายอยู่แต่ละจุดที่ถือเป็น KM man ที่ต้องมีทักษะในเรื่องการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ คอยสื่อสารทำความเข้าใจ เชื่อมต่อกับ core team จังหวัดพิจิตรมีรพ.สต. 100 แห่ง จึงบูรณาการเรื่องถอดบทเรียนให้เป็นเรื่องเดียวกันกับการพัฒนาบุคลากรในรพ.สต. จัดอบรมไป 2 รุ่น มีการเชิญวิทยากรมาอบรม รพ.สต. ได้แลกเปลี่ยนร่วมกับพื้นที่จังหวัดและอำเภอ..”
พิทักษ์ เอมสวัสดิ์ สสจ.พิจิตร