เช่น เอาความรู้ที่ได้ไปบอกน้องๆก่อน จากแต่ก่อนไม่ค่อยไม่สนใจการประชุม มาประชุมธรรมดา ก็กลับไปทำงาน พอมีเครื่องมือนี้ไปก็เหมือนกับว่าเขาต้องมีการเตรียมตัว มีการวางแผนว่ามาประชุมต้องมีประเด็นอะไรมาแลกเปลี่ยน ก็รู้สึกว่าครึ่งปีแรกน้องๆ จะมีความกระตือรือร้น จะไม่ขาดการประชุมเลย หัวหน้าหรือ ผอ.รพ.สต. ก็โทรมาถามว่าทำไมขาดไม่ได้ น้องต้องอยู่สอ.เพราะว่า CPG ของ CUP คือพยาบาลต้องอยู่ stand by ตลอดเวลา พอเรานัดประชุมน้องทั้งวันก็จะขาดไป จะมี ผอ. กับนักวิชาการจะอยู่ แรกๆ เขาไม่เข้าใจว่าให้ไปทั้งสอง เว้นไว้คนได้ไหม
ประชุมกลุ่มพยาบาลประชุมทุกเดือน แต่ไม่ได้มาทั้ง รพ.สต. พอมีเรื่องนี้เข้ามาคนที่ไม่เคยคุย ก็คุยมากขึ้น กล้าแลกเปลี่ยนมากขึ้น สิ่งดีๆ ที่เขาเจอในรอบเดือน ก็จะมีมาพูด เป็นการถ่ายถอดในรูปของวง ช่วงหลังก็จะไม่ขาด แต่กระทบต่องาน routine ของเขา ผอ.ก็จะโทรมาถาม ก็เลยบอกว่าประเด็นที่คุยไม่ได้เกี่ยวกับเรื่องประชุมแล้ว แต่คุยการแลกเปลี่ยนปัญหาอุปสรรคในการทำงานของเวชปฏิบัติมากกว่า บางคนก็อยากมาบอกมาเล่า เราก็เป็นเลขา CUP เป็นคนตรงกลาง จะฉวยโอกาสตรงนี้ เก็บรวบรวมข้อมูล น้องเขาเปลี่ยนแปลงในสิ่งที่ดีขึ้นให้ความร่วมมือ การประชุมประจำเดือนเจ้าหน้าที่จะมีทุกเดือน…”
เสาวดี สังข์ทอง สสอ.ท้ายเหมือง จ.พังงา
“… มีอันหนึ่งที่เรายังทำไม่ได้คือการคลี่ ที่เขา how to ก็เลยไม่สนุก ปีนี้เรารู้ว่าจุดอ่อนของจังหวัด ผู้ที่จะไปต่อให้เราคือที่เราช้อนกันมาแล้ว เราใช้หัวใจช้อนหากัน ถ้าไม่มีใจเขาไม่มาแน่นอน ความต่อเนื่องของงานตรงนี้คือใจ เรามีเครือข่ายสายใยเรียบร้อยแล้ว วันนี้ไม่สบายก็ยังมา ฉะนั้นเราใช้ใจหากัน แต่ก็ยังขาดองค์ความรู้ว่าทำอย่างไรไปเรียกแล้วสนุก ได้ความรู้ในส่วนนี้ เราก็ตั้งโจทย์ว่าเป็นการดูแลต่อเนื่อง เรารู้สึกว่าถ้าจะพัฒนา รพ.สต. นั้น ถ้าโรงพยาบาลไม่เอื้อมแขนออกไปหาเขาก็พัฒนาไม่ได้ คุณภาพบริการไม่มีแน่นอน เราเลยใช้โครงการดูแลต่อเนื่อง COC ส่วนใหญ่เป็นพยาบาล เราก็บอกเขาเลยว่าเราตั้งวงคณะทำงานขึ้นมาคณะหนึ่ง ตั้งเป็นแนวแถวจังหวัดว่า แบ่งเป็น 3 เตียง เตียง 3 เตียง 2 เตียง 1…”
รตญ. อมรพรรณ พิมพ์ใจพงษ์ สสจ.อุดรธานี
“… ตอนนี้จากการทำใหญ่และเราคิดว่าความสำเร็จที่ได้ มันไม่ไปถึงเป้าที่เราวางไว้ เราก็เลยหันกลับมาทำเล็ก โดยใช้วิธีการเชิงนโยบายเข้าไปด้วย เราก็ใช้เรื่องกระบวนการของการวิเคราะห์งาน การวิเคราะห์งานเราก็จะวิเคราะห์งานกับคนที่เป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมดในงานปฐมภูมิว่าจุดสำคัญของงานมันเกิดอะไรขึ้นเราอาจจะไม่มองที่ผลสำเร็จของงานหรือตัว KPI แต่เราจะพูดให้เห็นว่าสิ่งที่เป็นผลสำเร็จของงานต่อ KPI 100% 80 % ผ่านหมดเลย แล้วคุณภาพคืออะไร จะเป็นลักษณะแบบนี้ ของขอนแก่นจะหายไปช่วงรอยต่อระหว่าง รพ.สต.กับจังหวัด ซึ่งจริงๆ แล้ว รพ.สต. กับจังหวัดอาจจะมองว่าไม่มีความจำเป็น เพราะว่ารอยต่อจริงๆ น่าจะอยู่ที่ สสอ. จะเป็นคนเชื่อมให้ แต่พอเราทำวง ลปรร. ในเรื่องของการวิเคราะห์งานเราจะเห็นได้ว่า จริงๆแล้ว ระหว่างจัวหวัดกับ รพ.สต. ยังมีความสำคัญค่อนข้างมาก ที่จะใช้ในการที่จะทำให้ประสิทธิภาพของการทำงานในหน้างานดีขึ้น จังหวัดขอนแก่นก็เลยมาจัดวง ลปรร….”
บัวบุญ อุดมทรัพย์ สสจ.ขอนแก่น
“…ไม่รู้จะเริ่มจากใครก็เริ่มจาก อสม. เพราะมีหน้าที่ประชุม อสม. การประชุมของผมก็คือเขียนไว้ประมาณ 8 ข้อ ว่าคืออะไร และผมก็บอกๆ ออกไป รู้ไม่รู้กลับบ้านไป เดี๋ยวนี้ผมเอาใหม่และไม่ใช่ผมขี้เกียจพูดนะ วันนี้เรามาคุยกันมีกัน 8 หมู่บ้าน เอาตัวเด็ดๆ มา 2-3 คน ทำไม 3 หมู่บ้านนี้ไม่มีไข้เลือดออกเลย แต่อีก 5 หมู่บ้านมีไม่เว้นแต่ละวัน ก็เอา 3 หมู่บ้านเล่า อีก 5 คนไม่รู้จะให้ทำอะไรก็ฟัง แล้วเราก็กระตุ้นว่า ที่ได้ฟังจะทำอะไรต่อไหม เขาก็บอกว่าจะทำเหมือนคนนี้…ๆ”
พิทักษ์ เอมสวัสดิ์ สสจ.พิจิตร
“…ของผมจัดไป 4 กลุ่ม ทำงานคุ้มครองผู้บริโภค คือกลุ่มนักจัดการ ประกอบด้วย นายก อบต. เจ้าหน้าที่รพ.สต. 2 แห่ง รับผิดชอบงาน และแกนนำอาสาสมัคร และคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค 10 คนไปดูงานที่น่าน กลับมาก็มาจัดวง ไป 12 คน แต่มาจัดแค่ 10 คน เพราะอีก 2 คน ติดภารกิจ จัด 1 ครั้ง วงที่ 2 คือวงนักเฝ้าระวัง อสม. ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับงานคุ้มครองผู้บริโภคออกตรวจร้าน เอาคนที่มีประสบการณ์ดี ๆ มา 10 คน วงที่ 3 ก็เป็นผู้ประกอบการ ก็มีเจ้าของร้านค้ารถเร่ และร้านขายของในตลาดนัดเข้ามาพูดคุยกัน 1 วง วงสุดท้ายคือผู้บริโภคต้นแบบ ก็จะเป็นพวกสูงอายุ กลุ่มอาชีพถนอมอาหาร ภายใต้หัวปลาเดียวกัน ว่าห่วงใย ใส่ใจ คุ้มครองผู้บริโภค..”
วัลลพ ฤทธิ์บำรุง รพ.สต.สายลำโพงใต้ อ.ท่าตะโก จ.นครสวรรค์
“…จัดใน 2 โซน โซนแรกก็คือตัวเองเป็น coacher ของจังหวัด ก็ไปจัดในเขตความรับผิดชอบ 3 CUP จัดกับเจ้าหน้าที่ มีทั้งนักวิชาการ ผอ.รพ.สต. และก็พยาบาลเข้าร่วมในเรื่องหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เรื่อง อสม. การคัดกรองโรคเรื้อรัง และก็ในส่วนของผู้ป่วย การดูแลสุขภาพกันเอง และในผู้สูงอายุ คือผู้สูงอายุต้นแบบ ในพยาบาลก็จัดทุกเดือน ใช้กระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ตอนแรกไม่ได้ใช้กระบวนการนี้ พอตอนหลังมาใช้ทุกคนก็กล้าที่จะแสดงความคิดเห็นมากขึ้น…”
ศิรินทิพย์ ธรรมสกุล รพ.สต.ท่าสะท้อน อ.พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานี
“…ตัวเองก็เป็นตัวแทนของ CUP ที่เข้าไปร่วมอบรม และกลับมาจัดวงแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในระดับ CUP เรื่องของแกนนำดูแลสุขภาพจิตของผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคเรื้อรัง ลดปัญหาการฆ่าตัวตายของเด็ก ซึ่งคนที่เข้าร่วมจะมีทั้งเจ้าหน้าที่ รพ.สต. อสม. ที่เป็นจิตอาสา เข้ามาร่วมแลกเปลี่ยนกัน…”
สุมาลี คุ้มสุวรรณ รพ.สต.คลองเรือ อ.วิหารแดง จ.สระบุรี
“…การจัดวงแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในผู้ป่วยเบาหวาน สาเหตุที่ได้ทำก็คือเราเป็นคนจัดคลินิก เวลาคนไข้มา อย่างเช่นน้ำตาลในเลือดสูง ก็บอกว่าสูงแล้วนะ เราไม่ได้ด่าเขานะ พอเวลาคนไข้สะท้อนมา หมอต้องด่าแน่เลย เราก็ไม่ได้ด่า แค่บอกว่าน้ำตาลในเลือดสูงจะมีผลอะไร คือในจุดตรงนี้เราก็คิดว่าเราน่าจะมีวิธีการคุยอย่างไร เหมือนไม่ไปซ้ำเติมเขา หรือไม่ทำให้เขารู้สึกกดดัน เครียด น้ำตาลขึ้นมา 180 เอง ฉันก็อยู่ของฉันได้ แต่ทำไมหมอวุ่นวาย ก็เลยมาคิดรูปแบบที่จะแนะนำแทนการมานั่งคุยและเราก็สอนเอง คนไข้บางทีก็มีง่วงเหงาหาวนอน เราก็คิดว่าน่าจะมีการคุย คุยอย่างไรเพื่อให้คนไข้สนใจมากขึ้น เราเอาประสบการณ์ที่เราไปอบรมครู ก. ครู ข. เราก็รู้สึกว่าตอนที่เราเข้าวงเรารู้สึกว่า เวลาเพื่อนพูดเราสนใจมาก โดยเฉพาะในเรื่องที่เราสนใจมาก เราจะมีการฟัง บันทึก และก็จะจดจำ บางเรื่องที่เราไม่บันทึก เข้าในสมองเราจะจำได้ เวลาคนอื่นพูดเราก็จะปิ๊งขึ้นมา เราทำแบบนี้กับคนไข้ก็น่าจะดี…”
รุ่งตะวัน โคตรวงศ์ รพ.สต.หนองบัว อ.กันทรารมย์ จ.ศรีสะเกษ
“….ได้ทำเรื่องของตามหารอยยิ้มผู้พิการ ก็เลยมาจัดวงแลกเปลี่ยนเรียนรู้ คุณกิจก็เอามาแบบหลากหลาย คนแรกคือคนที่ดูแลผู้พิการ คนที่สองคือคนที่ดูแลศาสนา คนที่สามก็คือกลุ่มผู้นำชุมชน กลุ่มนี้คือเขามีการช่วยดูแลเรื่องผู้พิการได้เป็นอย่างดี เอาวิธีการดีๆที่เค้าทำมาแลกเปลี่ยน อย่างคนดูแลผู้พิการเค้าก็มาเล่าเรื่องการทำทางเดินไม้ไผ่ให้แม่เค้าเดิน ผู้นำศาสนาเค้าก็จะมีแนวคิดในการปรับบทบาทของทุกคน ต้องมีหน้าที่รับผิดชอบ เขาไปแสวงหาความรู้จากฮาดิสและอัลกุรอ่าน ถ้ามุสลิมจะให้ความนับถือ เขาก็เอาตัวนี้มาบอกเล่าให้กับวง…”
รูสลาม สาร๊ะ รพ.สต.ตะโล๊ะหะลอ อ.รามัน จ.ยะลา