ข้อคำถาม 10 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นแบบความสอดคล้องภายใน .93 และความเชื่อมั่นแบบวัดซ้ำ 3 สัปดาห์ มีค่า .87
5.วัดความสุขทางจิตวิญญาณ (spiritual well-being) ได้แก่
5.1 Spiritual Well-Being Scale (Kathleen & Lawler-Row.2010:9 ;citing Ellison & Smith.1991) มีแบบวัดย่อย ประกอบด้วย ความสุขด้านศาสนา และความสุขด้านประสบการณ์ชีวิต(existential well-being) ทั้งสองแบบวัดมีค่าความเชื่อมั่นแบบวัดซ้ำ .96 และ .86 และค่าความเชื่อมั่นแบบความสอดคล้องภายในที่ประมาณ .78
5.2 Spiritual well-being scale พัฒนาโดย Paloutzian and Ellison (King & Crowther.2004 : 90-91 ;citing Paloutzian & Ellison. 1978) เป็นการวัดการรับรู้ความสุขด้านศาสนาและจิตวิญญาณ แบ่งเป็น 2 ส่วนคือ ด้านศาสนา และด้านปรากฏการณ์ในชีวิตได้แก่ การมีความหมายในชีวิต ความพึงพอใจในชีวิต การวัดให้ผู้ตอบประเมินโดยใช้มาตรประเมินค่า 6 ระดับ ตั้งแต่ ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง- เห็นด้วยอย่างยิ่ง ตัวอย่างเช่น ฉันไม่รู้สึกพึงพอใจที่ได้สวดมนต์ ฉันรู้สึกว่าอนาคตของฉันไม่มั่นคง
6. วัดความใกล้ชิดผูกพัน ( Closeness to God) เป็นแบบวัดที่มีพื้นฐานแนวคิดและทฤษฏี ที่อธิบายว่า
การที่บุคคลสามารถมีความศรัทธาในพระเจ้า สิ่งศักดิ์สิทธิ์ (high power) และมีความรู้สึกว่าตนเองใกล้ชิด หรือเชื่อมโยงกับความศรัทธานั้นได้ เป็นการแสดงถึงการมีจิตวิญญาณ แบบวัดในกลุ่มนี้วัดในเนื้อหาเกี่ยวกับ การตระหนัก ความรู้สึกว่ามีความใกล้ชิดกับสิ่งที่ศรัทธา ตัวอย่างของข้อคำถามได้แก่ ฉันมีประสบการณ์ที่ฉันรู้สึกใกล้ชิดกับสิ่งศักดิ์สิทธิ เมื่อฉันมีคำถาม ฉันขอคำตอบจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ฉันรู้ว่าสิ่งศักดิ์สิทธ์จะช่วยฉันเมื่อฉันขอร้องท่าน ตัวอย่างของแบบวัดในกลุ่มนี้ได้แก่ Spiritual Support Scale (Maton, 1989b) , Religious Problem Solving Scale (Pargament et al.,1988), Spiritual Assessment Inventory (Hall & Edwards, 1996), Index of Core Spiritual Experiences (Kass et al., 1991) (Hill & Pargament.2008 : 6-8)
7. แบบวัดการต่อสู้ทางจิตวิญญาณ ( Religious and spiritual struggle) แบบวัดกลุ่มนี้มีพื้นฐานมา
จากการอธิบายความต่อเนื่องของการมีจิตวิญญาณที่อาจมีความขัดแย้งเกิดขึ้น ระหว่างตนเองกับผู้อื่น และความขัดแย้งภายในตนเอง ความสงสัยในศรัทธาที่ตนเองมีอยู่ ตัวอย่างของแบบวัดได้แก่ Religious strain (Exline et al., 2000) , Intrapersonal religious conflict (Trenholm et al., 1998) , Negative Religious Coping Scale (Pargament, Zinnbauer, et al., 1998), Spiritual History Scale (Hays et al., 2001) , Quest Scale (Batson et al., 1993) ตัวอย่างข้อคำถามได้แก่ ฉันขัดแย้งกับคนในครอบครัวเกี่ยวกับความศรัทธาของฉัน ฉันรู้สึกผิดที่ความศรัทธาต่อศาสนาของฉันสั่นคลอนไป ฉันคิดว่าสิ่งศักดิ์สิทธิ์ไม่ยุติธรรมต่อฉัน บางครั้งที่ฉันคิดว่าความศรัทธาของฉันทำให้ฉันรู้สึกกดดัน(Hill & Pargament.2008 : 10-11)
8. แบบวัดการแก้ปัญหาอย่างมีจิตวิญญาณ (religious problem solving scale) พัฒนาโดย Pargament et al. ( King & Crowther2004:93; citing Pargament et al.1988) เป็นการวัดปริมาณความรับผิดชอบที่บุคคลมีต่อการแก้ปัญหาของตนเองว่าควรเป็นของใคร ระหว่าง พระเจ้าหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และตัวเอง แบ่งเป็นแบบวัดย่อย 3 แบบ ได้แก่ self-directed เป็นการแก้ปัญหาที่ตนเองเป็นผู้รับผิดชอบ collaboration เป็นการแก้ปัญหาที่ต้องอาศัยการร่วมมือของตัวเองและพระเจ้าหรือสิ่งศักดิ์สิทธ์ และ deferring เป็นการที่บุคคลจะอยู่เฉยๆ และขอวิงวอนให้พระเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์แก้ปัญหาให้
เครื่องมือวัดหลายมิติ
เครื่องมือวัดหลายมิติเป็นเครื่องมือที่ผู้สร้างออกแบบให้ครอบคลุมจิตวิญญาณหลายมิติพร้อมกัน มีการตรวจสอบความเกี่ยวข้องของมิติต่างๆโดยใช้สถิติได้แก่การวิเคราะห์องค์ประกอบ มี 3 เครื่องมือดังนี้
1. The Fetzer Brief Multidimensional Measure of Religiousness/Spirituality (Fetzer
Institute/National Institute on Aging Working Group, 1999) มีการวัดหลายมิติต่อไปนี้ 1)ประสบการณ์ด้านจิตวิญญาณ แบ่งเป็นประสบการณ์ทางบวก เป็นการสอบถามเกี่ยวกับอารมณ์ที่มีต่อสิ่งที่ตนเองศรัทธาสูงสุด(higher power) เช่น ฉันรู้สึกว่ามีสิ่งศักดิ์สิทธิ์อยู่กับฉัน ฉันมีความสงบอย่างล่ำลึก เป็นต้น แบบวัดชุดนี้มีค่าความเชื่อมั่น .85 มีข้อคำถาม 6 ข้อ ผู้ตอบใช้การประเมินบนมาตรประเมินค่า 5 ระดับจาก ไม่เคย-วันละหลายครั้ง และประสบการณ์ทางลบ เป็นการสอบถามเป็นการสอบถามเกี่ยวกับอารมณ์ทางลบที่มีต่อสิ่งที่ตนเองศรัทธาสูงสุด(higher power) ประกอบด้วยประกอบด้วยข้อคำถาม 2 ข้อ ได้แก่ ฉันรู้สึกว่าถูกสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทอดทิ้ง ฉันถูกลงโทษที่ฉันทำบาป 2) การจัดการด้านจิตวิญญาณ(spiritual coping scale) ใช้มาตรประเมินค่าเหมือนกับแบบวัดประสบการณ์ มีค่าความเชื่อมั่นแบบความสอดคล้องภายใน ประมาณ .89 3) สอบถามเกี่ยวกับการปฏิบัติทางศาสนา จำนวน 7 ข้อ ใช้ถือศาสนาว่าผู้ตอบนับถือศาสนาใด สอบถามเกี่ยวกับความถี่ของการปฏิบัติทางศาสนา เช่น การไปวัด การไปฟังเทศน์ ฯ ใช้ มาตรประเมินค่า 5 ระดับจากไม่เคย-วันละหลายครั้ง มีค่าความสอดคล้องภายใน ประมาณ .71 (Johnstone & Yoon.2009:425-426 ;Kathleen & Lawler-Row.2010:4-5)
2. Spiritual Transcendence Scale โดย Piedmont (King & Crowther2004:92 ;citing Piedmont.
1999a) ประกอบด้วยข้อคำถาม 24 ข้อ มีด้านย่อย 3 ด้าน คือ 1) universality คือ ด้านที่วัดเกี่ยวกับความเชื่อในการมีเป้าหมายของชีวิตและดำเนินชีวิตอย่างมีความหมาย 2) Prayer fulfillment คือ การวัดที่ดูว่ามีประสบการณ์ของความรู้สึกถึงความสงบและความสุข จากการปฏิบัติทางศาสนาได้แก่การสวดภาวนา และการฝึกสติ 3) connectedness เป็นการวัดเกี่ยวกับความรับผิดชอบ และความสัมพันธ์กับผู้อื่น ใช้มาตรประเมินค่าแบบ Likert scale 5 ระดับ ตั้งแต่ ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง-เห็นด้วยอย่างยิ่ง ค่าความเชื่อมั่นแบบความสอดคล้องภายในมีค่า .83 .87 .64 ตามลำดับ และมีการทดลองใช้หลายวัฒนธรรมแล้ว
เครื่องมือ Religion coping activities scale เป็นการวัดเกี่ยวกับปริมาณที่บุคคลหันไปพึ่งศาสนา หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์เมื่อต้องประสบปัญหาในชีวิต ประกอบด้วย แบบวัดย่อย 6 ด้าน คือ Spiritual based act เป็นการวัดปริมาณของกิจกรรมที่เกี่ยวข้องสิ่งที่ศรัทธา และการพึ่งพิงพระเจ้า หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ Good deeds measure เป็นการวัดความพยายามที่จะจัดการกับความเครียดโดยการปฏิบัติตามคำสอน เชื่อในแนวทางของศาสนา Discontent และ Interpersonal religions support เป็นการวัดการได้รับการสนับสนุนจากบุคคลในเครือข่ายทางศาสนา หรือความศรัทธาของเขา Plead เป็นการวัดแนวโน้มในการต่อรองและขอสิ่งให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์แสดงปาฏิหาริย์เพื่อช่วยตนเองแก้ปัญหา และ Religion avoidance เป็นการวัด การพยายามใช้ศาสนาในการหลีกหนีปัญหาที่ตนเองกำลังประสบ รวมจำนวนทั้งหมด 26 ข้อ ใช้มาตรประเมินค่า แบบ Likert scale 6 ระดับตั้งแต่ ไม่เคยมี-เคยมีมาก (King & Crowther.2004)
3. the Spirituality Scale พัฒนาโดย Delaney, C.( Grady & Richards .2010 ; citing
Delaney .2005) ประกอบด้วยแบบวัดย่อย 3 แบบคือ self discovery เป็นการวัดถึงปริมาณที่บุคคลที่ค้นพบตนเองได้จากการมีประสบการณ์ในชีวิต เป็นคนที่พึงพอใจกับสิ่งที่ตนเองเป็น เข้าใจในวัตถุประสงค์ในชีวิตของตน Relationship เป็นการวัดความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับคนอื่น กับธรรมชาติ ให้ความรัก ความเคารพแก่ผู้อื่น และ Eco-awareness เป็นการวัดความตระหนักใน ความจริง สิ่งที่อยู่เหนือธรรมชาติ ได้แก่พระเจ้า สิ่งศักดิ์สิทธิ์จักรวาล ประกอบด้วยคำถาม 38 ข้อ ที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพตามขั้นตอนของการสร้างเครื่องมือ พบว่ามีค่าความเชื่อมั่นแบบความสอดคล้องภายในระหว่าง .81-.94 ความเชื่อมั่นแบบวัดซ้ำ .84 และการตรวจสอบองค์ประกอบโดยการวิเคราะห์องค์ประกอบอธิบายความแปรปรวนได้ 57%
เครื่องมือวัด Transformative experience Questionnaire สร้างโดย Mansager, and Eckstein (Greyson.2010; citing Mansager & Eckstein 2002) เพื่อใช้สำหรับคู่สมรสในการเข้าใจจิตวิญญาณของกันและกัน ประกอบด้วย แบบวัดย่อย 4 ด้าน คือ striving เป็นการวัดความพยายามในการที่จะบรรลุเป้าหมายของชีวิต integration เป็นการวัดการรู้สึกเป็นหนึ่งเดียวของสิ่งต่างๆตัวเรากับผู้อื่นกับโลกกับจักรวาล self transcendence เป็นการวัดการเข้าใจความรู้สึกความต้องการของผู้อื่น ความเชื่อมโยงที่ผู้อื่นมีกับสิ่งที่เขาให้ความสำคัญ และสามารถนำตัวเองเข้าไปช่วยเขาได้ และ ultimate value เป็นการวัดการมีเป้าหมายของชีวิตที่ตนเองให้ความสำคัญสูงสุด ประกอบด้วยข้อคำถาม 20 ข้อตอบโดยใช้มาตรประมาณค่า 5 ระดับ จาก ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง-เห็นด้วยอย่างยิ่ง แบบวัดนี้ได้มีการทดลองใช้กับตัวอย่างที่เป็นคู่สมรสเพื่อการให้การช่วยเหลือมาแล้ว