หากฝืนปฏิบัติไปแล้ว จะนำมาซึ่งผลตรงข้าม เช่น หากแม่ต้องการให้ผู้คนยกย่องลูกตนเอง จึงใช้วิธีคดโกงเพื่อให้ลูกประสบความสำเร็จต่างๆ ในกรณีนี้หากรู้ภายหลังว่าความสำเร็จนั้นได้จากการคดโกง ไม่เพียงแต่บุคคลต่างๆ เท่านั้น แต่ตัวของลูกเองก็จะหมดสิ้นซึ่งความภาคภูมิใจ ความยกย่องจะกลับกลายเป็นความเหยียดหยาม แม้แต่ตัวลูกก็จะรู้สึกหมดคุณค่าในตนเอง
อย่างไรก็ตาม แม้ความสำเร็จของปัจเจกบุคคลจะทำให้เกิดขึ้นไม่ได้ แต่สามารถส่งเสริมปัจเจกบุคคลโดยให้เงื่อนไขปัจจัยต่างๆ เพื่อให้เขาได้พัฒนาฝึกฝน โดยท้ายที่สุดแล้ว จะสำเร็จหรือไม่ก็ขึ้นกับปัจเจกบุคคลนั้นเอง นอกจากนี้ แม้ไม่ประสบผลสำเร็จ แต่คุณค่าของปัจเจกบุคคลก็อาจได้มาจากความพยายาม ดังนั้น จึงสามารถส่งเสริมปัจเจกบุคคลโดยให้เงื่อนไขปัจจัยต่างๆ ในความพยายามนั้นเช่นกัน และเช่นเดียวกัน ท้ายที่สุดแล้วก็ขึ้นกับปัจเจกบุคคลนั้นเองว่าจะลงมือพยายามหรือไม่
มาตรฐานข้อกำหนดกรุงเทพฯ มีเป้าหมายเพื่อประกันความเคารพคุณค่าความเป็นมนุษย์ของผู้ต้องขัง ในตัวมาตรฐานเองจะปรากฏคำสำคัญที่สะท้อนถึงเป้าหมายนี้ ได้แก่ คำว่า “เคารพ” และ “ศักดิ์ศรี” แม้ความเคารพคุณค่าความเป็นมนุษย์ของผู้ต้องขังจะมิได้รับประกันว่าผู้ต้องขังจะได้มาซึ่งคุณค่าของปัจเจกบุคคล แต่ก็เป็นเงื่อนไขปัจจัยที่อำนวยให้ผู้ต้องขังสามารถพัฒนาคุณค่าของตนเองได้
ข้อมูลจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้สะท้อนภาพของการสร้างคุณค่าของปัจเจกบุคคลอย่างชัดเจน เงื่อนไขส่วนหนึ่งที่ทำให้การสร้างคุณค่าดังกล่าวเป็นไปได้จัดอยู่ในด้านความเคารพคุณค่าความเป็นมนุษย์ของผู้ต้องขัง จุดนี้เองจึงเป็นที่ๆ มาตรฐานข้อกำหนดกรุงเทพฯ สามารถมีบทบาทได้ ข้อมูลเกี่ยวกับเงื่อนไขปัจจัยที่นำสู่การพัฒนาคุณค่าของปัจเจกบุคคลที่ปรากฏว่าสอดคล้องกับมาตรฐานข้อกำหนดกรุงเทพฯ มีดังนั้น
1. เงื่อนไขปัจจัยด้านความสัมพันธ์กับผู้อื่นที่มีความสำคัญกับอัตลักษณ์ดั้งเดิม (เช่น พ่อแม่ บุตร คู่ครอง หรือญาติมิตร) ซึ่งเป็นสิ่งที่หลงเหลืออยู่จากอัตลักษณ์ดั้งเดิม และกลายเป็นความหวังระหว่างอยู่ในที่คุมขัง เงื่อนไขปัจจัยนี้สัมพันธ์กับมาตรฐานข้อกำหนดกรุงเทพฯ ดังนี้
o ข้อกำหนดที่ 2: ในส่วนที่ระบุว่าผู้ต้องขังหญิงที่เพิ่งเข้ามาสู่เรือนจำต้องได้รับการอำนวยความสะดวกให้ติดต่อกับญาติ นอกจากนี้ สำหรับผู้ต้องขังที่มีภาระความรับผิดชอบต้องดูแลบุตร จะต้องได้รับโอกาสการพบกับบุตร
o ข้อกำหนดที่ 4: ผู้ต้องขังหญิงควรได้รับโอกาสอยู่ในเรือนจำใกล้ภูมิลำเนา
o ข้อกำหนดที่ 26: ในส่วนที่ระบุว่าเรือนจำควรส่งเสริมและอำนวยความสะดวกด้วยวิธีการต่างๆ อย่างเหมาะสมเพื่อให้ผู้ต้องขังหญิงได้พบปะกับญาติและบุตร
o ข้อกำหนดที่ 28: ควรสนับสนุนให้มีการพบปะบุตร โดยให้มีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมเพื่อให้ประสบการณ์การพบปะเป็นไปด้วยดี ข้อนี้หมายรวมถึงท่าทีเชิงบวกของเจ้าหน้าที่เรือนจำด้วย และเมื่อใดที่เป็นไปได้ ควรขยายระยะเวลาการได้พบปะระหว่างกัน
o ข้อกำหนดที่ 58: ผู้ต้องขังหญิงจะไม่ถูกแยกจากครอบครัวและชุมชน หากไม่มีการพิจารณาภูมิหลังและความผูกพันกับครอบครัว