หากพิจารณาว่าผู้ต้องขังได้เผชิญภาวะการสูญเสียอัตลักษณ์มา การได้รับคำแนะนำเกี่ยวกับการปฏิบัติตนในเรือนจำ รวมถึงความเป็นมิตร นับว่าเป็นสิ่งสำคัญ ไม่เพียงแต่การเปลี่ยนสภาพแวดล้อมจะทำให้ขาดความรู้สึกถึงทิศทางเท่านั้น แต่การสูญเสียอัตลักษณ์ยังกระทบต่อความรู้สึกดังกล่าวในระดับที่ลึกกว่า เนื่องจากสูญเสียอัตลักษณ์เป็นการสูญเสียความหมายในชีวิต ช่วงแห่งการรับเข้านี้จึงมีบทบาทสำคัญที่จะช่วยให้เข็มทิศสำหรับการตั้งต้นเพื่อก้าวเดินต่อไป การให้เข็มทิศเบื้องต้นที่สำคัญอยู่ในรูปของคำแนะนำเกี่ยวกับการปฏิบัติตนที่ดูจะเป็นเรื่องเล็กน้อยหรือเป็นเรื่องกฎที่ซ้ำซาก ตัวอย่างเช่น
ก็เจ้าหน้าที่ก็สอนเรื่องงาน แล้วก็จะคอยสอนหลายอย่าง เช่นอย่างนี้ไม่ถูก อย่างถูกนะ พี่YYY2แกเป็นหัวหน้าห้อง ก็จะสั่งว่า YYY2ดูแลลูกน้อง อย่าให้ลูกน้องทำผิด คอยแนะคอยสอนอย่าทำอย่างนี้นะ นอนอย่างนี้ จะได้เหมือนว่า 120 คน เมื่อก่อน นอนกัน 4 แถว แต่พอคนเพิ่มมากขึ้น มากกว่า 120 ก็ใช้ช่องกลางเป็น 5 แถว แกก็จะคอยแนะว่า 4 แถว มันไม่ได้ ต้องเป็น 5 แถว แกจะคอยแนะทุกๆ เรื่องเหมือนเรื่องงานก็เหมือนแกก็จะคอยบอกว่าอย่าทำผิดกฎนะ… (ลปรร.ผู้ต้องขังหญิง ครั้งที่ 3)