ซึ่งไม่เคยส่งการบ้านเลย มันเปลี่ยนหลายๆ คน หลายๆ อย่าง หลายๆ เหตุการณ์ ที่คุณครูเขาพูดนะครับ เขา ‘ได้รางวัลไปตั้งแต่เด็กเขาเปลี่ยนแล้ว’ แล้วมาเล่าสู่วงให้กันฟัง
ที่เราไม่ได้คาดคิดแต่มันเกิดก็คือตัวจิตวิญญาณ คือครูมาเล่าเรื่องบางเรื่องของเด็กที่เขาทำ บางคนเล่าด้วยร้องไห้ไปด้วย คือมันอิน มีเด็กคนหนึ่งที่อ่านหนังสือไม่ออกเลย แล้วครูพาเขาอ่าน อ่านไปอ่านมาเด็กสามารถที่จะไปอ่านให้อีกห้องหนึ่งฟังได้ ซึ่งครูจะรู้สึกอิ่ม ดีใจ ภูมิใจในตัวเอง อันนี้มันเหมือนกับว่าเราไม่ได้คาดหวังให้ครูมันจะปลุกจิตวิญญาณได้ขนาดนี้…”
สังคม อินทร์ขาว ร.ร.บ้านนาขนวน จ.ศรีสะเกษ
“…เริ่มให้ครูแต่ละคนเล่า แต่ก่อนเริ่ม เราจะบอกเขาว่า ขอความร่วมมือ ไม่มีการบอกนะว่าของเขาดีไม่ดี ไม่ใส่ความคิดเห็นนะว่า ฉันทำดีกว่าอย่างนี้ แล้วก็จะบอกครูว่า เดี๋ยวเราเล่าจบแล้วเราค่อยถามกัน ขอให้คุณครูทุกท่านปิดมือถือ ซึ่งมันดึงดูดความสนใจเวลาฟังค่ะ ก็จะเริ่มให้ครูแต่ละคนเล่า ให้หัวข้อรูปแบบการจัด ALที่เรามีต่อชุมชนค่ะ ก็มีเล่านอกประเด็นไปบ้าง หนูยอมรับตรงๆ ว่ายังไม่ได้มีประสบการณ์ในการถามมากนัก แต่พยายามดึงกลับเข้ามาในประเด็น มันมีอยู่สองอย่าง คือ ครูบางคนเล่าจนเพลิน กับครูบางคนที่ถามคำตอบคำ ไม่รู้จะเล่าอะไร เล่าเรื่องไม่เป็น ก็พยายามปลอบเขาว่าไม่เป็นไร ถ้าให้เล่า เราก็เป็นเหมือนกันช่วงแรกๆ บางทีเรากระตุ้นด้วยคำ ถามเขาก็จะอ๋อๆ นึกออกแล้ว ก็จะเล่าไปอย่างเนี้ยค่ะ อันนี้จะเป็นครูอนุบาลสอง กับครูอนุบาลหนึ่งก็จะแตกต่างกันเลย คือเล่าเห็นภาพ เล่าเห็นความรู้สึกแล้วเราอยากจะถามเยอะๆ…”
“… เราไปทำ PLC กับโรงเรียนเครือข่าย อันดับแรกคือทำความเข้าใจกับเค้าก่อนว่า เรามาทำอะไรกัน แต่ทีนี้ปัญหาก็คือว่าโรงเรียนนั้นน่ะยังไม่เคยทำ PBLเลย พอมาเข้าวงคุณครูจะห่วงแผนPBL ทีนี้มีครูคนหนึ่งเคยอยู่ที่โรงเรียนอื่นมาก่อน แล้วเขาทำPBL แบบ ๖ ขั้นตอนของม.บูรพามา เค้าย้ายมาอยู่โรงเรียนนี้ มันก็ไม่ได้ง่าย เพราะว่าเค้ายังติดภาพของPBL ๖ ขั้นตอนของแต่ละวิชา แต่ของท่าเสาเราจะบูรณาการด้วย แล้วก็ PBL ด้วย ครูเค้าก็เลยมองว่ามันเป็นเรื่องใหญ่ที่เค้าทำไม่ได้ บางคนก็พยายามขอแผนของเราไป ไปสอนตามแผนตามตัวอักษรทุกตัว แต่ถามว่าที่มามันคืออะไรเค้าไม่รู้ เท่าที่ PLC กันคือคุณครูจะห่วงเรื่องนี้มาก เราก็บอกว่าไม่ต้องไปกังวลเรื่องนั้นเราแค่มาแลกเปลี่ยนรู้กระบวนการในการสอน การสอนแบบเดิมกับแบบนี้มันเป็นยังไง ครูเปลี่ยนแปลงไหม เด็กเปลี่ยนแปลงไหม ผู้ปกครองเห็นความเปลี่ยนแปลงของลูกไหมว่า ตั้งแต่เรียนแบบนี้แล้วเป็นยังไง…”
ชิสากัญญ์ พลายด้วง ร.ร.บ้านท่าเสา จ.ระยอง
“… ทำวง PLC ที่ทำคือให้ครูถ่ายทอดสิ่งที่อยากจะเล่าทั้งในชีวิตประจำวัน ทั้งการเรียนการสอน มันก็ได้ผลหลายอย่าง การทำวง PLC บางครั้งครูร้องไห้ ร้องไห้จากสิ่งที่อยู่ข้างใน ไม่ได้พูด ไม่ได้คุยกับคนอื่น พอได้มาพูด มาคุย เปิดใจ ทำให้เรารู้สึกว่า การทำตรงนี้ไม่ใช่เฉพาะวิชาการที่เราทำในโรงเรียนอย่างเดียว แต่เรากำลังเปิดใจ พร้อมรับฟังคนอื่นด้วย…”
สุกัญญา ช่างหล่อ ร.ร.เทศบาลท่าพระ จ.ขอนแก่น
“…การเรียนรู้ด้วยกระบวนการวิจัย ๑๐ ขั้นตอน เป็นของใหม่ เป็นหลักสูตรมาตรฐานสากล พอเราได้กระบวนการมาแล้ว เราไม่รู้อะไรเลย ครูทุกคนลองทำ และเอากลับมาคุยกัน ปีแรกๆ ครูอ้อยก็ไม่ได้คิดว่าเป็น PLC แต่เราเรียกว่าวงถอดบทเรียนเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ก้าวเดินตอนไป ขั้นตอนที่ ๑ ที่เรากำหนดว่าเป็นเรื่องใกล้ตัว ครูแต่ละชั้น ไปทำกันในบริบทไหน วงแรกมาโดยธรรมชาติ พอมีโจทย์นี้เข้ามา เราสุมหัวคุย คุยกันข้างๆ ห้องก่อน ใช้ระบบสายชั้นด้วย อย่าง ป. ๑ มีครูประมาณ ๑๐ คน เรามีปฏิทินกำหนดออกมา ทำไปสัก ๑-๒ สัปดาห์ ถึงเวลาก็มาถอดบทเรียนกันว่า ที่ได้ทำไปแล้วเป็นอย่างไรบ้าง ต่อด้วยระดับโรงเรียน และจะมาสรุปรวมกันว่าในขั้นที่ ๑ ว่า ควรจะเป็นบริบทประมาณไหน เราได้ข้อสรุปว่า ควรจะเป็นเรื่องตัวเองก่อน และต่อด้วยโรงเรียน ครอบครัว ชุมชน และสรุปออกมาขอบเขตของเราน่าจะไปในทิศทางไหน ใครอยากให้ช่วยเหลือในเรื่องใด เราก็จะเติมเต็มกัน ของครูอ้อยกระบวนการมันจะทั้งปี กว่าจะได้เรื่อง กว่าจะเกิดโจทย์ นำเสนอโครงงาน เขียนรายงานออกมา เราก็ถอดกันมาเป็นระยะๆ ช่วงปีแรกจนจบ เอามาสรุปกันว่าตรงนี้ดีหรือยัง…”
ขนิษฐา อาษาชำนาญ ร.ร.อนุบาลสตูล จ.สตูล
“… ตอนทำวงครั้งแรก เวลาทำกิจกรรมให้เขาสบายๆ ไม่เครียด เป็นกันเอง ครูอุก็จะให้เขาเล่าเรื่อง แต่เวลาสะท้อนเรื่องเล่า เราจะให้ทุกคนฝึกสะท้อนสิ่งที่เรียนรู้จากเรื่องเล่าของเพื่อนออกมา วงครั้งที่ ๒ พอเล่าเรื่องเสร็จ จะให้คนฟังช่วยกันชี้ว่ากระบวนการของครูอุ้ง ทักษะการเรียนรู้อยู่ตรงนี้ ทักษะชีวิตอยู่ตรงนี้ ทักษะ IT ได้นิดเดียว ในขณะเดียวกันเขาก็จะเรียนรู้ไปด้วยว่า เขาจะสอนอย่างไร แล้วกระบวนการสอนของเขาได้ครบ ๓ ทักษะไหม …”
“… ที่ครูอุเห็นชัดคือหัวหน้าสายชื่อครูวา วันนั้นครูวาเล่าเรื่องโครงงานดอกไม้เปลี่ยนสีที่ใช้มะนาว แล้วให้เด็กหาว่าจะใช้ดอกไม้อะไร เอามาจากไหน ครูวาไม่บอกแต่ให้เด็กหาเอง เด็กเขาก็จะหา บางคนก็หาดอกไม้ บางคนก็ไม่ใช่ดอกไม้ เป็นเปลือกมังคุด เด็กเขาก็จะคิดออกมาเอง นำเสนอเอง เขาจะหาอุปกรณ์มาเยอะแยะเพื่อทดลอง แล้วพอบอกว่าถ้าไม่ใช้มะนาวล่ะ จะใช้อะไรแทน เด็กเขาก็จะคิดต่อไปอีกว่ามะนาวมันเปรี้ยว เขาก็จะหาส้มจี๊ด น้ำส้มสายชู หาสิ่งที่เปรี้ยวมาทดแทน ฟังจากครูวาคือจะไม่บอกอะไรเด็กเลย แต่จะใช้คำถาม ถามไปเรื่อยๆ ถามแล้วก็ให้เด็กทำ เด็กก็จะปฏิบัติ ครูวาจะถามไปเรื่อยๆ ถามจนกระทั่งสรุปจบ ที่คุยกับครูวาว่าทำไมทำแบบนี้ ครูวาบอกว่าเขาต้องการให้เด็กคิดเอง แล้วก็เรียนรู้ด้วยตัวเอง สามารถที่จะคิดวิเคราะห์ได้ ถ้าเราไปบอก เด็กรู้ก็จะจบ เพราะฉะนั้นเขาต้องการให้เด็กสามารถที่จะเรียนรู้ด้วยตัวเองไปเรื่อยๆ คือหาวิธีการของเขาเอง แก้ปัญหาเองอะไรเองหมดเลย ครูจะไม่บอกอะไรเลย เพราะต้องการให้เด็กได้พูด ได้แสดงความคิดออกมา เราจะได้รู้ว่าเด็กเข้าใจแค่ไหน ตอนที่เราตั้งวงเราไม่ได้เน้นอะไร เราอยากให้เขาเล่าอย่างมีความสุขก่อน คือบอกเขาไว้ว่าให้หากิจกรรมที่สอนเด็กแล้วตัวเองความสุข มีความรู้สึกว่าเด็กมันได้ ให้เอามาเล่ากันคนละเรื่อง แต่พอเขาเล่าจบเราถึงให้ดูเอกสารทักษะ ๓ ทักษะ แล้วพอเขาดูปุ๊บ เขาบอกเลย ของฉันมีครบเลย ยกเว้น IT เพราะยังไม่ให้เด็กไปถึงขั้นสืบค้นข้อมูล เราก็เลยสรุปให้เขาว่าตอนนี้ถ้าเวลาจะสอนให้มองตรงนี้นิดหนึ่ง…”
อุทัยวรรณ ภัททกวงศ์ ร.ร.วัดสวนส้ม จ.สมุทรปราการ
“…พอเราไปเปิดวงครูเสร็จแล้ว เราก็ร่วมกันวางแผน ได้ประเด็นมาว่า จะเปิดวงผู้ปกครอง เปิดวงนักเรียน ผอ.ก็บอกให้คุณครูเกดกับครูแหม่มออกแบบ เราจะจัด PLC ร่วมกับผู้ปกครองและนักเรียน วันไหน อย่างไร เราก็เลยได้ทำวงแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับนักเรียนชั้น ป.๖ วันนั้นคุณครูแหม่มเป็นคนรับผิดชอบเปิดประเด็นชวนนักเรียนคุย ป.6 ซึ่งใกล้จะเรียนจบแล้ว เขาประทับใจอะไรบ้าง เรียนรู้อะไร จะเอาไปต่อยอดอย่างไรค่ะ แต่ละคนเขาก็เล่าประสบการณ์ที่เรียนรู้จาก project ที่ประทับใจ ที่ได้มีส่วนร่วม แล้วก็พัฒนาตัวเขา เด็กสามารถเล่าให้เราฟังได้ว่าเขาทำอะไร ประทับใจอย่างไร แล้วเขาพัฒนาตัวเขาเกี่ยวกับอะไรบ้าง เขาก็จะเล่าให้ฟังได้ว่า จากเมื่อก่อนเขาไม่ ไม่ค่อยช่วยเพื่อนทำงาน แต่เขาสามารถที่จะทำงานได้ดีขึ้นอะไรที่เขาประทับใจในตัวเขา…”
เกดแก้ว สุระชาติ ร.ร.บ้านนาขนวน จ.ศรีสะเกษ