ระหว่างกล้วยต้มกับกล้วยบวชชี ทีนี้คะแนนมันเท่ากัน คือ ๑๒ ต่อ ๑๒ ครูเลยบอกถ้าอย่างนั้นเด็กๆ เริ่มวางแผนว่าจะทำอะไร ระหว่างกล้วยต้มกับกล้วยบวชชี เพราะคะแนนเท่ากัน เด็กบอกว่าอยากทำทั้ง ๒ อย่าง ถ้าอย่างนั้นเราทำ ๒ อย่างเลยดีไหม เด็กๆ ดีใจ วันทำกิจกรรมเด็กมาเรียนกันครบ เราก็ถือโอกาสว่าก็กล้วยเหมือนกัน คงทำไม่ยากหรอก ก็เลยทำ
ทีนี้ครูชมพู่ให้เด็กลองคิดว่า กล้วยต้มน่าจะมีวัตถุดิบอะไรบ้าง ก็ให้เด็กช่วยกันตอบ แล้วเขียนไว้บนกระดานว่ามีอะไรบ้าง กล้วยบวชชีมีอะไรบ้าง ให้เด็กลองพูดมา ครูก็เขียนชื่อไว้ เสร็จแล้วถามว่าแล้วจะเตรียมอะไรมาดี แต่ละคนบอกว่า เตรียมน้ำตาล เตรียมกะทิ ครูบอกว่าไม่ต้องเอามาเยอะนะคะ เอามาแค่นิดเดียวก็พอ เพราะว่าเพื่อนเราในห้องเยอะมาก ถ้าสมมติว่าหนูมีกะทิแล้ว หนูซื้อมาแค่กล่องเดียว หนูไม่ต้องเอามาเยอะ มีอีกคนบอกว่าบ้านหนู คุณยายปลูกต้นกล้วยเหมือนที่คุณครูเอามาเลย หนูเอามา ๒ อย่างได้ไหมคะ เลยบอกตามใจแล้วกัน จะไม่บังคับว่าต้องเอามา ตามความสมัครใจ ทีนี้นัดเด็กเลยว่า พรุ่งนี้เราจะทำอาหารกัน ครูเป็นคนเตรียมกระทะ เราจะใช้กระทะไฟฟ้า ไม่ใช้หม้อ เพราะไม่มีเตาแก๊ส
วันต่อมาอุปกรณ์ก็ยังไม่ได้ครบ เด็กบอกว่าหนูลืมเอามา แล้วก็มีบางส่วนที่ผู้ปกครองโทรมาถามว่าคุณครู จะพาเด็กทำอะไร เพราะว่าผู้ปกครองบางท่าน เขาส่งลูกที่หน้าประตูแล้วก็ไป บางครั้งให้ญาติมารับ จึงไม่ค่อยได้สื่อสารกัน ใช่ไหมที่บอกให้เขาเตรียมกล้วย เตรียมอะไร อธิบายให้ผู้ปกครองฟัง ส่วนมากผู้ปกครองให้ความร่วมมือ วันที่นัดบอกว่าวันพรุ่งนี้ เราจะทำ แต่ก็ไม่ได้ทำ เพราะว่าอุปกรณ์ไม่ครบ ก็ยืดหยุ่นให้เด็ก บอกว่าพรุ่งนี้เราค่อยทำ ให้เด็กเขียนในสมุด ให้วาดรูปว่าสิ่งที่ต้องเตรียมมา อย่างเช่น กล้วย บางคนเตรียมกล้วยมา ก็ให้เขาวาดรูป แล้วก็เอาไปให้ผู้ปกครองดูว่า วันนี้หนูจะทำกล้วยมานะคะ คุณครูบอกว่าเอามาแค่ครึ่งหวีหรือ ๕ ลูกก็พอ
พอวันที่ ๒ ก็ได้ทำจริงๆ อุปกรณ์ทุกอย่างครบ เพราะว่าเตรียมตัวมา ๒ วันแล้ว ทีนี้ก็มาสร้างข้อตกลงกับเด็กก่อน พอได้ชื่ออาหาร ครูชมพูก็ให้เด็กจับกลุ่มเอง ให้จับตามชื่อผลไม้ วันนั้นแค่ ๔ กลุ่ม ครูก็เขียนชื่อไว้ ใครอยากจะอยู่กลุ่มอะไร ให้เด็กจัดการกันเอง เผอิญว่ามีเด็กอยู่ ๕ คน เพื่อนไม่เลือก เรามี ๔ กลุ่ม ครูเลยถามไปว่าเด็กๆ คิดว่าเพื่อน ๕ คน เขาจะไปอยู่ที่ไหนกันดี ก็เริ่มมีอาสาสมัคร แต่ละกลุ่ม มีลักษณะเพื่อนช่วยเพื่อนเริ่มเข้ามาแล้ว ทักษะสังคมเด็กเริ่มได้แล้ว ครูก็เลยบอกเด็กว่าทุกคนเป็นเพื่อนกันต้องรักกัน ต้องให้ความช่วยเหลือเพื่อน ไม่ใช่ว่าคนนั้น คนนี้ไม่เก่ง ไม่ใช่เราเก่งอยู่คนเดียวต้องช่วยเพื่อนด้วย เขาจะฟังคำเราพูด แล้วเด็กจะพูดขึ้นมาว่า ทำไมไม่เอาเพื่อนไปอยู่ด้วย คือเขาจะพูดคุยกันเอง แต่ในระหว่างนี้ครูก็ฟังเขาพูด
วันที่สามได้ทำ เพราะมีอุปกรณ์ครบ ใช้อุปกรณ์จริง ครูชมพู่ก็วางอุปกรณ์ไว้ทุกอย่าง ถามเด็กว่า เด็กๆ คะ ลองดูสิว่าอุปกรณ์เรามีอะไรบ้าง เด็กเขาก็จะบอกว่ามีกะทะไฟฟ้า มีหม้อ มีมีด มีอะไรหลายอย่างที่เขาเห็น ถามต่อว่า ลองดูสิว่ามีอะไรบ้างที่เป็นอันตราย เด็กเขาก็จะบอกว่ามีมีด มีกระทะไฟฟ้า มันเกี่ยวอะไรคะ สมมติว่าคุณครูเสียบปลั๊กไฟ จะเกิดอะไรขึ้น เด็กบอกว่า ถ้าสมมติว่าเราไม่ใส่รองเท้ามันก็ซ๊อตเรา เราก็เลย เอ๊ะ..เขาคิดได้ ที่นี้จะมีเด็กบางคนมาโรงเรียน ชอบถอดถุงเท้า ครูก็ใช้กลเม็ดบอกว่า ใครถอดถุงเท้า ครูจะเก็บเงินข้างละ ๑๐ บาท ตั้งแต่นั้นมา ไม่มีใครกล้าถอดถุงเท้าเลย จะใส่ให้เห็นถึงตอนกลับบ้าน มีเด็กคนหนึ่งค่อนข้างซน เขาก็ไปจับมีด คุณครูก็บอกว่าระวังหน่อยสิ ระวังมันจะบาดมือหนูนะ เราก็เลยแทรกเข้าไป เรื่องการส่งมีดทำอย่างไร ถ้าส่งไปแบบนี้เป็นอย่างไร ถ้าส่งอีกแบบเป็นอย่างไร พยายามชวนคุยให้เขาซึมซับไป จะไม่บอกไปตรงๆ และพอพูดจบ เด็กจะเอาอุปกรณ์มา เอากระต่ายขูดมะพร้าวมา ที่ขูดก็เป็นอันตรายอยู่จึงสอนวิธีใช้ พอครูชี้แจงสร้างข้อตกลงอะไรกับเด็กเรียบร้อยแล้ว ครูก็สาธิตให้เด็กดู คือแบ่งกลุ่มไว้ แล้วแต่ละกลุ่มช่วยกัน ตอนสาธิตก็มาดูคุณครูก่อนว่าวิธีการทำอย่างไร กว่าจะมาเป็นกล้วยต้ม เด็กๆ ช่วยกันเอากล้วยออกจากหวี ยังไม่ปลอกเปลือก สอนวิธีการปลอกเปลือกกล้วย เด็กจะช่วยกัน มันจะมีกลุ่มหนึ่งที่เถียงกัน หนูไม่ได้ทำเลย อิงทำก่อนหนูอีก ก็มาฟ้องครู ครูก็เลยว่าไหนลองทำใหม่ซิ หนูมีกล้วยอยู่ ๑ หวี ใช่ไหม หนูจะทำยังไง เพื่อนมี ๔ คนเอง กล้วยมี ๑๐ กว่าลูก จะทำอย่างไรให้ได้ทำทุกคน
ที่นี้แต่ละกลุ่มก็มีการจัดการ จัดระบบของตัวเอง เกิดผู้นำ ผู้ตามโดยอัตโนมัติ พอได้กล้วยเสร็จก็จะบอกให้มาดูวิธีการต้มกล้วยเป็นอย่างไร ครูก็อธิบายเชิงเปรียบเทียบ สมมติว่ามือเราเปียก เราไปเสียบปลั๊กไฟได้ไหม เด็กบอกไม่ได้หรอกครูต้องเช็ดมือก่อน เพราะครูให้เตรียมผ้าขี้ริ้วมาด้วย มาเช็ดมือ และถามต่ออีกว่าถ้าเกิดไฟรั่วบริเวณนั้น จะทำอย่างไร เพราะอุบัติเหตุเกิดได้ตลอดเวลา เป็นการสอนเรื่องของการตัดสินใจให้เด็กด้วย และเราก็ได้เรียนรู้กับเด็ก
ทีนี้ทุกอย่างขั้นตอน ครูก็อธิบายให้เด็กฟัง แต่สะดุดตรงที่ พอครูต้มกล้วยหม้อแรกผ่านไปประมาณ ๑๕ นาที เคยบอกเด็กว่าถ้าเปลือกกล้วยเป็นสีดำ แสดงว่าสุกแล้ว จริงๆ ครูเองก็ไม่รู้เหมือนกัน คิดเอาเอง สักพักเด็กบอกว่าเปลือกมันสีดำแล้วค่ะ สงสัยจะสุกแล้วค่ะ ครูก็หรี่ไฟลง เดี๋ยวเด็กๆ ปลอกเปลือกกล้วยดู แล้วชิมว่ารสชาติเป็นยังไง ถามไปว่า สมมติกล้วยต้มใหม่ๆ มันร้อนมาก เราทำยังไงมือเราถึงจะไม่พอง เด็กบอกว่าหรี่ไฟลง แล้วทิ้งไว้สักพัก มันก็จะหายร้อนเองค่ะ มีหลายคนที่บอกว่า คุณครูก็เอาไปใส่ในน้ำสิคะ จะได้ไม่ร้อน จริงๆ แล้วครูก็บอกว่าจะเอาไปน้ำ แต่เด็กตอบก่อน แสดงว่าเด็กมีความเข้าใจ และจากประสบการณ์เดิมด้วย ครูก็ให้เด็กไปตักน้ำใส่ถังมา และให้เด็กทุกคนมีส่วนร่วมในการเอากล้วยมาใส่ถัง และครูก็แบ่งกล้วยประมาณ ๑๐ ลูก ให้แต่ละกลุ่มได้มีโอกาสไปปอกเปลือกกล้วย ตอนนี้มาถึงขั้นตอนการฝานกล้วย มีบางกลุ่มที่ทำชิ้นใหญ่มาก เด็กถามว่าทำชิ้นใหญ่ได้ไหมคะ บอกได้ แต่ลองคิดดูนะคะ ถ้าสมมติเราเอามาผสมกับน้ำตาล และกะทิแล้วมันจะเป็นอย่างไร เด็กบอกมันก็ไม่เข้าถึงกล้วย ครูบอกว่าลองทำชิ้นเล็กๆ ดูสิว่าจะเป็นอย่างไร แต่ว่าแต่ละกลุ่มทำไม่เหมือนกัน บางกลุ่มชิ้นใหญ่ บางกลุ่มก็ชิ้นเล็ก ครูก็เลยบอกลองชิมดูซิว่ากล้วยหวานหรือเปล่า บางคนบอกทำไมมันฝาดล่ะครู ซึ่งครูก็ไม่ทราบว่ามันจะฝาด ครูก็ตกใจ เพราะมันฝาดทุกลูกเลย ก็เลยถามเด็กว่า แล้วเราจะทำยังไงให้กล้วยมันหวาน บางคนบอกว่าใส่น้ำตาลสิครู บางคนก็บอกว่าลองต้มใหม่ไหม ครูจึงให้นักเรียนลองต้มใหม่ คือครูคิดและเรียนรู้ไปกับเด็กด้วย และลองเผื่อใจด้วยว่า ถ้าใช้เวลานานแล้วกล้วยยังไม่หวานแล้วเราจะทำยังไงต่อ ครั้งนี้ลองต้มครึ่งชั่วโมง
ระหว่างที่รอหม้อที่สอง ครูชมพู่ก็ให้เด็กเอากล้วยหม้อแรกไปทำเป็นกล้วยบวชชี เมื่อเวลาผ่านไปครึ่งชั่วโมงผิวของกล้วยดำสนิท ทีนี้เด็กๆ มาช่วยครูปลอกเปลือกกล้วย แล้วฝานกล้วย ครูก็เลยชิมก่อน เผอิญว่ามันหวาน ให้เด็กลองชิม เด็กก็บอกว่าหม้อที่สองหวาน ครูลองชิมทั้ง ๔ กลุ่ม หวานและหอมใบเตยด้วย เด็กก็ยังจำได้ว่า ครูชมพู่ต้มกล้วยหม้อแรกฝาด พอเสร็จแล้วจะเห็นว่าเด็กได้มีโอกาสเตรียมอุปกรณ์ ได้ใช้กระต่ายขูดมะพร้าว ทำเองทุกอย่าง ให้เด็กช่วยกัน พอถึงช่วงสรุปขั้นตอนหลังทำเสร็จแล้ว ครูให้กระดาษเด็กไป ๑ แผ่น แล้วก็ทดลอง สมมติว่ากลุ่มนี้มี ๔ คน ก็ให้ทั้ง ๔ คน ยกผลงานไปให้คุณครูท่านอื่นชิม ท่านไหนก็ได้ ๓ ท่าน แล้วก็ให้ครูเขียนในกระดาษว่าเป็นอย่างไร แล้วจะมีคนมาบอกครูว่า เด็ก ๆ เข้าไปแบบไหน เขาก็บอกว่าเด็กเข้าไปแล้ว บอกว่าคุณครูช่วยชิมให้หน่อยว่าเป็นอย่างไร ทีนี้ครูเขาถามว่าแล้วหนูมีส่วนร่วมยังไง ในการทำขนมบ้าง เด็กก็จะเล่าให้ฟัง ซึ่งในจุดประสงค์ของครูก็ไม่ได้หวังว่ามันจะอร่อยยังไง แต่อยากให้เด็กเข้าไปแล้วลองใช้ทักษะตัวเองว่า เราจะมีวิธีการไปขอความคิดเห็นจากครูยังไงบ้าง
พอเสร็จตรงนั้นเที่ยงวันพอดี เลยยังไม่สรุปออกเป็น Mind Mapping ให้เด็กเอาผลงานของตัวเอง พวกกล้วยต้ม กล้วยบวชชี เป็นของหวานประจำวันไปเลย วันนั้นไม่มีของหวาน เลยได้ให้เพื่อนอีกห้องได้ชิม เด็กๆ เขาชื่นชมผลงานตัวเอง ว่าตัวเองได้มีส่วนร่วมในกิจกรรม และบอกได้ว่าตัวเองทำอะไรบ้าง เช่น ขูดมะพร้าว ฝานกล้วย เด็กก็มาขอเราว่าวันหลังทำอีกนะคะครู แล้วเด็กก็ได้ชื่นชมถึงแม้หม้อแรกมันจะฝาดหน่อย
หลังจากเด็กตื่นนอนกลางวัน ครูชมพู่ก็กลับมาทบทวน คือให้กระดาษคนละ ๑ แผ่น บอกให้ลองวาดรูป เมื่อเช้านี้ เรามีโอกาสได้ช่วยเหลือเพื่อนในการเตรียมอุปกรณ์อย่างไรบ้าง บางคนก็จะวาดตัวเองนั่งขูดมะพร้าว บางคนก็ปลอกเปลือกกล้วย เขาก็จะถ่ายทอดเป็นเรื่องราวรูปภาพออกมา เราก็ไม่ได้คิดว่าเขาจะวาดออกมาสวยหรือไม่สวย แต่ต้องการให้เราสื่อสารว่า เขาช่วยอะไรเพื่อนบ้างในกลุ่ม พอเสร็จเรียบร้อยแล้ว อีกหน้าหนึ่ง ให้เขาวาดวิธีขั้นตอนในการทำกล้วยต้ม และกล้วยบวชชี ให้เด็กพับครึ่ง ฝั่งนี้เป็นกล้วยต้ม ฝั่งนี้เป็นกล้วยบวชชี วิธีขั้นตอนของกลุ่มหนูทำแบบไหนบ้าง ช่วยวาดรูประบายสีให้ครูดูหน่อย เด็กก็วาดรูปและระบายสีภาพเรียบร้อย เท่านั้นไม่พอ คือเด็กในห้องจะมีบางคนที่ไม่กล้าพูด ไม่กล้าสื่อสาร เราต้องการให้เขาพูดสื่อสาร แค่สวัสดีแล้วยกมือไหว้ก็พอใจแล้ว
ทีนี้ก็เลยให้เด็กออกมาเล่าว่า ตนเองทำอะไรในกลุ่มบ้าง เด็กก็จะออกมาพูด แต่จะมีอยู่ ๑-๒ คน เขาไม่กล้าพูด ครูชมพู่เลยถามว่าทำไมหนูไม่พูด ทำไมไม่ออกไปคุยว่าตัวเองทำอะไร เขาบอกว่าเขาทำแค่ ๑ อย่างแค่ช่วยครูเอากล้วยออกจากหม้อเฉยๆ เขาก็เลยไม่กล้าพูด กลัวคุณครูว่า ครูเลยบอกว่าทำมากทำน้อย ก็ทำเหมือนกันใช่ไหม ก็เลยพูดในห้องให้เพื่อนคนอื่นได้ยินด้วย เพราะว่าถึงจะทำแค่หนึ่งอย่าง ก็มีส่วนร่วมในห้อง คือมันจะมีคละกันไป เด็กบางคนที่กล้าพูดและไม่กล้าพูด
จากกิจกรรมนี้ก็ทำให้ตัวครูรู้ว่า แค่ประเด็นเดียวเด็กก็กล้าที่จะพูด กล้าสื่อสารเขาทำอะไรได้บ้าง ถึงแม้เขาจะวาดรูปไม่สวย ครูก็บอกว่าครูก็วาดรูปไม่สวย หนูวาดสวยกว่าครูอีก มีขาด้วยถ้าหนูใส่เสื้อผ้าให้รูปภาพของหนู เขาจะน่ารักกว่านี้ เขาจะไม่โป๊ด้วยนะ เด็กก็เริ่มใส่เสื้อผ้าให้รูปตัวเอง จากเด็กบางคนที่ไม่กล้าพูด เพราะว่าตัวเองช่วยนิดเดียว แต่สามารถพูดสื่อสารกับเราได้ ว่าเขาทำอะไรบ้าง คือเราพอใจในสิ่งนี้แล้ว ไม่จำเป็นต้องทำ ๑๐ อย่าง ๕ อย่างเท่ากับเพื่อน แค่หนูทำได้แค่นี้ก็พอแล้ว ตามศักยภาพของหนูนั่นแหละ…”