แล้วแม่ก็จะดูแลแต่น้อง โดยที่ถูกทอดทิ้งแล้ว ถามว่าพ่อแม่รักมั้ย รัก แต่มันไม่ได้แสดงออกได้ตลอดเวลา แต่เด็กน่ะ ความรับรู้ได้มันไม่เท่ากันนะคะ ก็เลยบอกแม่เค้าว่า ถ้าคุณทำอะไรให้แต่น้อง ต่อไปน้องจะช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ แล้วน้องคนพี่ แล้วน้องก็เรียกนารีรัตน์ แม่จริงๆแล้วเค้ารักลูกทุกคนนั้นแหล่ะ แต่ในภาวะอาชีพ แม่ต้องทำงานคนเดียวเหนื่อยนะลูก แล้วการเรียนเธอก็คือไม่ใช่การเรียนเสีย แต่ถ้าลูกดูแลการเรียนให้ดี แล้วลูกก็ช่วยกิจกรรมตรงนี้แล้วลูกลองถามตัวเองว่า ลูกทำแล้วลูกมีความสุขมั้ย ลูกไม่ต้องบอกครู ลูกกลับไปบอกตัวเอง แล้ววันไหนที่ลูกสบายใจ แล้วลูกก็กลับมาบอกครู อันนี้คือเรื่องที่ 1 เรื่องที่ 2 มันเป็นเรื่องที่เหลือเชื่อเหมือนกัน คือ นักเรียนเป็นนักเรียนมัธยม คือตอนนี้เรียน ม.3 แล้ว ขโมยเงินที่บ้านไปเที่ยว เพราะพ่อแม่จะไปขายของกลางคืนตามงานวัด แล้วก็แต่งตัวแล้วก็เที่ยว แล้วครูก็เตือน เตือนเสร็จแล้วครูก็เตือนแม่ แม่เค้าก็ว่าไม่จริง ลูกเค้าไม่ได้เป็นแบบนั้น คุณครูก็หยุดพักแล้วในเมื่อเตือน อยู่ที่โรงเรียนเตือนอยู่ที่บ้านครูจะไม่เตือน พอตอนหลังแม่เค้าบอกว่า ลูกเริ่มไม่ไหวแล้วนะ มอบให้ครูที ครูก็เอามาคุยว่าครูเชื่อว่าลูกทำได้ ลูกไปตัดสินใจในสิ่งที่ลูกทำมันถูกหรือผิด ครูไม่ให้คำตอบ ลูกให้คำตอบลูกเอง แล้วสิ่งที่ลูกทำแล้วลูกปิดบังไว้น่ะ มีอะไรอยากจะบอกครูมั้ย เค้าก็คิดอยู่สักพัก ไม่มีการตี เพราะว่าครูบอกแล้วว่าถ้าการเปิดเผยไม่มีการตี เค้าบอกว่าเค้าเอาเงินแม่มา 3 พันบาท เพื่อที่จะไปเที่ยว ถามว่าลูกจะทำอย่างไร ลูกจะแก้ปัญหาอย่างไร เอาเงินกลับไปใส่กระเป๋า ลูกเงินไม่ได้งอกขึ้นมาเองได้นะ อยู่ดีๆมันหายแล้วอยู่ดีๆมันก็งอกขึ้นมา เพราะว่าในตู้มันมีไม่กี่คนที่มีกุญแจที่บ้าน ก็ลูกกลับไปแล้วลูกก็ไปบอกพ่อแม่ว่าลูกพลาดไปที่ลูกเอาเงินมาตรงนี้ ลูกก็รู้พ่อแม่เหนื่อยแล้วลูกจะเอาเงินมาคืน ครูเชื่อว่าแม่เธอไม่ตี แม่ต้องตีตายแน่ๆค่ะ ลูกยังไม่ลองแล้วลูกจะรู้เหรอ ครูให้เวลาลูก 1 สัปดาห์ แล้วก็กลับไปเสาร์อาทิตย์ วันจันทร์แม่ก็มาถึงแล้ว แม่เค้าก็มาขอกอดหน่อยได้มั้ยคะครูโอ๋ บอกกอดได้ อยากกอดก็กอดมา แต่อย่ากอดให้สึกนะก็ว่าครั้งนี้เค้าก็ยกมือไหว้ เค้าบอกว่าลูกเค้าเอาเงินมาคืน 3 พันบาท ถามเอามาคืนทำไม วันนั้นลูกมาช่วยขายของ แล้วเค้าก็สังเกตแล้วว่าลูกเค้ามีท่าทีปกติ แล้วเค้าก็เอาเงินมาคืน 3 พันบาท แล้วก็ถามว่า แล้วลูกบอกว่าไง ลูกบอกว่าลูกคุยกับครูโอ๋แล้ว ว่าลูกเอาเงินไป 3 พันบาท แล้วครูโอ๋ไม่ว่าอะไรสักคำ ก็ถามแล้วแม่ว่าไง ในเมื่อครูยังไม่ว่า แล้วฉันจะไปว่าได้อย่างไร ถ้าฉันว่าไปฉันก็เท่ากับครูโอ๋สอนมาแล้วก็ต้องขัดใจกับฉัน แล้วเค้าก็สังเกตว่าตั้งแต่นั้นลูกเค้าก็ เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปในทางที่ดี…
เห็นได้ชัดเจนว่ามีการส่งเสริมให้เด็กหัดคิดไตร่ตรอง นอกจากนี้ ยังมีการสร้างสภาพแวดล้อมแห่งความเชื่อใจด้วยการรักษาคำมั่น สิ่งที่พิเศษคือในกรณีนี้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการสร้างสภาพแวดล้อมดังกล่าวด้วย
กระนั้นก็ดี แม้จะมีวิธีการอื่นๆ ที่ดูจะไปได้ด้วยดีกับการเคารพอัตตาณัติ แต่คำถามยังคงอยู่ว่าการสาบานและประจานเป็นการส่งเสริมอัตตาณัติของเด็กหรือไม่ ในกรณีของผู้ใหญ่ การบีบคั้นทางอารมณ์เช่นนี้ โดยมากจะถือเป็นการละเมิดอัตตาณัติ ดังนั้น หาก “เอ็นจีโอ” บางกลุ่มได้อ่านข้อความดังกล่าว ก็อาจ “ลุกขึ้นมาเต้น” แล้ว แต่ทั้งนี้ความเห็นว่าเป็นการละเมิดอัตตาณัติ (หรือศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์) ก็มีที่มาจากสมมุติฐานว่าผู้ใหญ่มีวุฒิภาวะ สามารถควบคุมตนเองได้ แต่ในกรณีของเด็ก จะกล่าวเช่นเดียวกันได้หรือไม่ เหตุผลสำคัญก็เพราะว่าเด็กยังขาดความสามารถในการควบคุมตนเองด้วยความคิด การทำให้กลัวหรืออับอาย การหลอกให้เชื่อดูเหมือนเป็นวิธีในการกระตุ้นให้เกิดปัจจัยอันส่งเสริมอัตตาณัติ หากกล่าวในกรอบที่เคยสังเคราะห์ไว้แล้ว วิธีการเหล่านี้เป็นการสร้างสภาพแวดล้อมเพื่อให้เกิดความเหมาะเจาะระหว่างความคิดและความรู้สึก หรืออีกนัยหนึ่ง เพื่อให้เด็กสามารถรู้สึกถึงความคิด หรือทำให้ความหมายของสิ่งที่สอนมีความมีความหมายขึ้นมาได้ แต่ในมองอีกมุมหนึ่ง เห็นได้ว่าหากขาดความระมัดระวังแล้ว ก็ดูเหมือนเป็นการลดทอนเด็กให้เป็นเพียงเครื่องมือสู่เป้าหมายที่ครูกำหนด ไม่ใช่เป้าหมายที่เด็กเข้าใจและเลือกด้วยตนเอง
ประเด็นความเสี่ยงต่อการลดทอนเด็กลงเป็นเพียงเครื่องมือสู่เป้าหมายของครูที่กล่าวไว้ข้างต้น สามารถพบได้จากข้อมูลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เช่น
…เพราะฉะนั้นเราสอนเด็กก็เหมือนกัน นักเรียนของฉันนี่ดีเก่งอย่างนั้นอย่างนี้ แต่เวลาที่เค้ามีกิจกรรมทักษะให้แข่งขันทางวิชาการ เราไม่เคยส่งไปแข่งขันเลย เรารู้ได้ไงว่าเราดี งั้นครูก็ต้องกล้าส่งนักเรียนเข้าไปแข่งขัน ผมก็ให้ concept เค้าไปอย่างนี้ เราก็ต้องส่ง ถ้ามีแต่ฉันสอนดีฉันสอนรู้เรื่อง แต่ไม่กล้าแข่งกับเพื่อนผมก็บอกว่า ผมเชื่อว่าถ้า นักเรียนดี ผมเชื่อว่าถ้านักเรียนดีผมเชื่อว่าครูดี อันนี้คำพูดนี้คงได้ยินกันบ่อยนะครับ แต่ครูดีไม่แน่ว่านักเรียนดีจริงหรือเปล่า ว่าฉันเป็นครูทีดีแต่ นักเรียนทำอะไรไม่ถูกเนี่ยมันไม่เชื่อหรอก แต่ถ้า นักเรียนดีแข่งขันชนะ สอบได้คะแนนดีไม่ต้องถามว่าครูดีไม่ดี…(คำพูดของผู้บริหาร)