นอกเหนือจากคุณสมบัติทางจิตใจและร่างกายที่พร้อมที่จะตั้งครรภ์ได้แล้ว น่าจะเป็นเรื่องของผู้ที่เป็นเจ้าของไข่กับสเปิร์ม และผู้ที่จะรับตั้งครรภ์ ว่าเขามีความสัมพันธ์กับอย่างไร เขามีความพอใจกันและกันหรือไม่
ประเด็นต่อไป เป็นกรณี หญิงรักหญิง ชายรักชาย ที่อยากจะมีลูก เห็นว่าขณะนี้สังคมไทยไม่พร้อมเนื่องจากยังมีความเข้าใจผิดติดค้างในสังคมเยอะ ว่าการที่เป็นคนรักเพศเดียวกันนั้นเป็นโรค เพราะฉะนั้นโอกาสที่เด็กมีชีวิตอยู่ในสังคมแบบนี้จะได้รับการเลือกปฏิบัติ จึงยังไม่ควรต้องเสี่ยงให้เด็กต้องมาเจอกับการเลือกปฏิบัติ
อย่างไรก็ดีเสนอให้เราจะขับเคลื่อนต่อไปอย่างไรในภาพรวม คิดว่าเราไม่ควรจะคุยในเรื่องเทคโนโลยีเท่านั้น แต่ควรมีมิติทางสังคม วัฒนธรรมเข้ามาเกี่ยวข้องและยังไม่ไปพร้อม ถามว่าแล้วเราจะเคลื่อนต่อไปอย่างไร ก็คงต้องเอาสมอง เอาเวลา เอาเงินทุน สารพัดไปลงให้กับกิจกรรมด้านสังคมและวัฒนธรรม ให้มากกว่าเรื่องการทำงานด้านเทคโนโลยี
ประเด็นสุดท้าย คือในการที่จะพิจารณาการใช้ ART นี้ต่อไป ควรแยกพิจารณาในสองเรื่องใหญ่คือ ART เพื่อประโยชน์ของบุคคล กับ ART เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์
ความเห็นที่ 7
เกี่ยวกับเรื่องอุ้มบุญ ในประเทศอังกฤษ หลังจากคลอดแล้ว จะมีสูติบัตรใบใหม่ให้สำหรับพ่อแม่ทางพันธุกรรมให้ โดยไม่ต้องรับบุตรบุญธรรม
เกี่ยวกับการเลือกเพศบุตร เพิ่มเติมข้อมูล สืบเนื่องมาจากการจัดประชุมสถาบันที่ให้บริการ ART 30 แห่งทั่วประเทศ ได้พิจารณาเรื่องควรจะให้บริการเลือกเพศบุตรโดยสาเหตุทางสังคมหรือไม่ พอจะสรุปความได้ดังนี้
1. ถ้าการปล่อยให้เลือกเพศบุตรจะก่อให้เกิด sex discrimination หมายถึงผู้ชาย-ผู้หญิงไม่เท่าเทียมกันหรือไม่ มีความเห็นแย้งว่า ถ้ามีลูกชาย 1 คน ต้องการลูกสาว เราก็เลือกลูกสาวให้เขา คงไม่ใช่ sex discrimination แต่ว่าเขาต้องการ balance family เพราะยุคปัจจุบันคงไม่มีใครอยากมีลูก 7 คนไม่ได้เพศตามที่ต้องการ เพราะฉะนั้นถ้าเรามีเทคโนโลยีในมือที่จะเลือกเพศบุตรได้ แล้วทำไมเราถึงไม่ยอมให้เขาใช้เทคโนโลยีอันนั้น
2. ในประเด็นถ้าเลือกเพศแล้วทำให้สัดส่วนเพศ (sex ratio) ของประชากรเปลี่ยนไป ประเด็นนี้ก็ไม่จริง เพราะมีผลวิจัยโดยการคำนวณสถิติแล้วว่า ถ้าปล่อยให้มีการเลือกเพศเสรีด้วยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ สัดส่วนเพศก็จะไม่เปลี่ยน เพราะคนที่เข้าถึงเทคโนโลยีมีจำนวนน้อย และคนที่มาเลือกโดยเฉลี่ยก็จะมีเลือกชายกลุ่มหนึ่ง หญิงกลุ่มหนึ่ง ก็จะสมดุลไปในที่สุด
ถัดไปคือการทำลายตัวอ่อน ประเด็นคือถ้าเราเลือกเพศบุตรได้แล้ว ตัวอ่อนที่เหลืออยู่จะทำอย่างไร ไปทิ้งไว้ไหน ถ้าเป็นคนที่ดำเนินการในเรื่องนี้อยู่จะตอบทันทีว่า การทำลายตัวอ่อนนี้เกิดขึ้นเกือบทุกวันอยู่แล้วในห้องปฏิบัติการเลี้ยงตัวอ่อน ไม่สามารถแช่แข็งตัวอ่อนได้ตลอดไป ก็ต้องทำลายกันอยู่ดี เพราะว่าไม่มีใครสามารถเก็บตัวอ่อนไว้ได้ หรือในกระบวนการอย่างนี้ มันมีเกิดแก่เจ็บตาย
การทำลายตัวอ่อนเป็นเรื่องธรรมดาปกติใน ART อยู่แล้ว ถ้ายอมให้มีการแช่แข็งตัวอ่อนก็แน่นอนว่าต้องมีการทำลายตัวอ่อน แม้กระทั่งเป็นตัวอ่อนที่ปกติ ไม่ใช่ตัวอ่อนผิดปกติ เพราะฉะนั้นก็มีบางประเทศที่ห้ามแช่แข็งตัวอ่อนเลย คือไม่ยอมให้มีการฆ่าตัวอ่อน ถ้าพูดอย่างนั้นคือต่อไปต้องมีการออกกฎว่าห้ามแช่แข็งตัวอ่อน คือจะไม่มีฆ่าตัวอ่อนเลย แต่ว่าจะทำให้การทำงานยากขึ้น คนไข้เวลาทำกระตุ้นไข่ทำเด็กหลอดแก้ว เสียค่าใช้จ่ายมาก ถ้ามีตัวอ่อนเกินแล้วเราแช่แข็งได้ ก็จะทำให้โอกาสท้องเขาสูงขึ้น เสียค่าใช้จ่ายน้อยลง ถ้าเราไม่ยอมอย่างนั้นก็จะมีผลเสียมหาศาลเช่น
ประเด็นต่อไปเรื่องห้ามวิธีเลือกเพศบุตรโดยการทำเด็กหลอดแก้ว ทำไมจึงไม่ห้ามวิธีอื่นล่ะ ทำไมจึงไม่ห้ามแยกสเปิร์ม คือถ้าห้ามควรห้ามทุกวิธี ซึ่งทำได้ยาก นอกจากนี้เราไปห้ามวิธีที่ได้ผล เรารู้อยู่ว่าวิธีเดียวในปัจจุบันที่ได้ผลในการคัดเลือกเพศบุตร ถ้าเราไปห้ามวิธีที่ได้ผล แล้วยอมให้เขาทำวิธีไม่ได้ผล ก็จะทำให้เสียเศรษฐกิจ แล้วก็ถ้าเขาไม่ทำในเมืองไทย เขาก็ไปทำที่อื่น และสุดท้ายเหมือนกันการทำแท้งเราปฏิเสธว่า เราไม่มีการเลือกเพศบุตรและออกกฎหมายห้ามเลือกเพศบุตร คิดว่าเราห้ามกฎหมายแล้วคนเขาจะทำตาม สุดท้ายก็ยังคงมีการเลือกเพศบุตรอย่างนี้อยู่ แต่ถ้าเราเปิด น่าจะมีประโยชน์ เพราะเราสามารถควบคุมได้ ทำให้การบริการมีคุณภาพมากขึ้น