ระหว่าง ยายได้หลาน กับ ย่าได้หลาน ยายจะพูดได้ว่า “หลานยายซิหลานข้า หลานย่าไม่แน่ว่าหลานใคร” ซึ่งต้องเป็นอย่างนั้นอยู่แล้ว แต่ทุกวันนี้ทุกอย่างมันก็ไม่แน่ “หลานยายก็ไม่แน่ว่าหลานข้า หลานย่ายิ่งไม่รู้หลานใคร” แล้วในที่สุดก็เกิดข้อโต้เถียงว่าลูก
สำหรับประเด็นการคัดเลือกตัวอ่อนการคัดเลือกเพศจะทำได้หรือไม่ ผู้หญิง-ผู้ชาย นี่คือประเด็นหนึ่งที่โต้เถียง ถ้าจะตอบเร็วทำไม่ได้ก็จบ แต่ถ้าทำได้ต้องหาเหตุผล ส่วนที่ 2 ก็คือโรคทางพันธุกรรมบางอย่างซึ่งในอดีตตรงนี้ไม่ชัดเจน แต่ขณะนี้ชัดเจนมากขึ้นแล้ว สามารถจะรู้ได้ว่าจะเป็นอย่างไร ทำได้หรือไม่ จะ คัดเลือกโรคทางพันธุกรรมบางอย่าง และเลยไปถึงเรื่องคัดเลือกตัวอ่อนที่มีลักษณะเด่น ต้องการแบบนี้ทำได้หรือไม่ ประเด็นเรื่องคัดเลือกตัวอ่อนมีเรื่องนี้ที่สำคัญ อยากจะฟังความเห็นที่หลากหลายด้วย
รศ.ดาราพร ถิรวัฒน์
ในประเด็นการตั้งครรภ์แทนหรือการอุ้มบุญ เป็นปัญหาเพราะมีงานเขียนในเรื่องนี้มาก นับเป็นพันขึ้นไป ที่เป็นงานเขียนเรื่องการอุ้มบุญและมีปัญหาในทางกฎหมาย คือเรื่องนี้จะเป็นปัญหาที่กระทบกับ จริยธรรมและสถาบันครอบครัวค่อนข้างมากกว่า 3 เรื่องแรก เพราะ 3 เรื่องแรกเป็นเรื่องชาย-หญิง ปัญหาเรื่องสถาบันครอบครัวอาจจะไม่ถูกกระทบเท่าไร แต่กฎหมายเกิดช่องว่างว่าไม่มีการรองรับเท่านั้น
แต่ในเรื่องการตั้งครรภ์แทน สถาบันครอบครัวซึ่งเป็นสถาบันหลักจะถูกกระทบมากเพราะมีบุคคลที่จะมารับตั้งครรภ์แทนนั้น หญิงอื่นเข้ามาอีกส่วนหนึ่ง หรืออีกกรณีหนึ่งซึ่งหากผู้รับตั้งครรภ์แทนมีสามีก็จะเหมือนเป็น 2 คู่ ดังนั้นสิทธิซ้อนของในเรื่องการเป็นบิดามารดาก็จะเกิดปัญหาซ้ำซ้อนขึ้นมา ในกรณีจะเป็นใครจะเป็นบิดามารดาตามกฎหมาย เพราะในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของเรานั้น การรับรู้บิดามารดา เรารับรู้ในทางธรรมชาติ คือหญิงที่จะเป็นมารดานั้นจะต้องเป็นผู้ตั้งครรภ์เอง ดังนั้นการมีเทคโนโลยีเข้ามาในเรื่องความก้าวหน้านั้นการที่จะให้ผู้มีบุตรยากสามารถมีบุตรได้โดยการตั้งครรภ์แทนก็สามารถทำได้ ในทางเทคโนโลยีบอกได้ว่าสามารถทำได้ แต่เปอร์เซ็นต์ของการทำแล้ว จะสำเร็จได้เท่าไรเป็นอีกปัญหาหนึ่ง แต่ปัญหาว่าทำได้หรือไม่ในทางการแพทย์เราบอกได้ว่าเด็กที่เกิดมาเป็นลูกของใครทางพันธุ์กรรม แต่ในทางกฎหมายไปดูเรื่องการคลอดแบบปกติหรือตามธรรมชาติเป็นมารดาตามกฎหมาย ดังนั้นจึงเกิดการขัดกันในทางกฎหมายขึ้นมาว่ากฎหมายควรจะยอมรับความเป็นธรรมชาติในที่นี้คลุมไปถึงทางพันธุกรรมได้ด้วยหรือไม่ ซึ่งเป็นเรื่องการตีความว่าการเป็นบิดามารดาตามธรรมชาติที่กฎหมายแพ่งรองรับอยู่จะคลุมไปถึงการเป็นบิดามารดาทางพันธุกรรมได้หรือไม่ เพราะว่าถ้าได้ในกรณีนี้มันจะเกิดสิทธิซ้อนขึ้นมาเหมือนเด็กมีบิดามารดา 2 คู่ ซึ่งก็จะเกิดปัญหาการใช้อำนาจปกครองซึ่งในการใช้อำนาจปกครองบิดามารดาจะเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองร่วม มันก็เกิดปัญหาในบางกรณีเช่นกันว่าใช้อำนาจบอกให้เด็กที่อยู่ในอำนาจปกครองทำอะไรหรือให้อำนาจในกรณีนี้แก่บิดามารดา 2 คนจะทำด้วยกัน บางครั้งก็ตกลงกันไม่ได้ในบางเรื่องยิ่งให้มี 2 คู่ยิ่งไปกันใหญ่
ดังนั้นเรื่องนี้ก็เป็นเรื่องในทางข้อกฎหมาย ซึ่งกฎหมายในส่วนนี้ก็ต้องพิจารณาว่าประเทศของเราจะวางหลักในเรื่องนี้อย่างไร เพราะว่าในงานวิจัยมองเห็นว่าโลกของเรานี้นะบบกฎหมายแม้จะต่างกันแต่ก็มีแนวโน้มเรื่องของการรับบิดามารดาทางพันธุกรรมให้เป็นบิดามารดาโดยชอบด้วยกฎหมายได้เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับในสังคมหรือระบบกฎหมายหรือในประเทศนั้นจะมีการยอมรับในเรื่องนี้มากน้อยแค่ไหน ในส่วนของเอกสารที่เราค้นพบหรือสามารถจะนำมาเสนอในงานวิจัยอันนี้ได้
ปัญหาอีกอันหนึ่งคือเรื่องสิทธิของตัวเด็กที่เกิดขึ้นจากการอุ้มบุญจะโยงไปถึงว่า เด็กควรจะได้รับรู้หรือไม่ว่าในกรณีที่เขามีมารดาอุ้มบุญก็ดี หรือกรณีที่มีบิดาทางพันธุกรรมก็ดีว่าเป็นใคร อันนี้เป็นตัวเด็กเองที่ควรจะได้รับความคุ้มครองในด้านสิทธิตรงนี้หรือไม่ อันนี้จะเป็นเรื่องกระทบถึงข้อมูลข่าวสาวว่าในระยะไหนที่เด็กเขาควรจะรู้หรือจะต้องอยู่ในอายุแค่ไหนที่เขาควรจะได้รับทราบ ในเรื่องของจิตวิทยา ในเรื่องของการที่เขาจะต้องรับรู้ถึงต้นกำเนิดของเขาว่ามันเป็นเรื่องสำคัญหรือไม่ ในส่วนนี้ถ้าสภาพจิตใจเด็ก ถ้าเขาไม่ได้มีปัญหาอะไรทำไมเขาจะต้องรับรู้ เพราะฉะนั้นในบางเรื่องความจริงที่ไม่ควรบอกก็เป็นเรื่องที่ไม่ต้องบอกก็ได้ ไม่ใช่เรื่องความจริงทุกเรื่องจะต้องเปิดเผย ที่ในทางปรัชญาเขามีการพูดเหมือนกันว่าความจริงทุกเรื่องไม่จำเป็นต้องเปิดเผยหมดทุกเรื่อง
ในเรื่องของสิทธิของเด็กก็เป็นปัญหาอยู่ เหมือนกับว่าในกรณีดังกล่าวในเรื่องการตั้งครรภ์แทนจะก่อให้เกิดปัญหาหลายเรื่อง ซึ่งเรื่องใหญ่ๆนั้นคือผู้รับตั้งครรภ์แทนควรจะเป็นใคร ควรจำกัดหรือไม่ หรือจะเป็นใครก็ได้แล้วแต่การวินิจฉัยของแพทย์ว่ามีความเหมาะสมกับสภาพที่จะเป็นผู้ตั้งครรภ์ได้แล้วก็สามารถเข้ามา สมัครเข้ามาเป็นผู้ตั้งครรภ์แทนสำหรับคู่สมรสที่เขามีปัญหาการมีบุตร ซึ่งเรื่องนี้จะเปิดหรือไม่ หรือว่าจะจำกัดผู้ที่รับตั้งครรภ์ให้เป็นผู้ที่ใกล้ชิดกับตัวของคู่สมรสหรือไม่ เป็นเรื่องคุณสมบัติ ถ้าเรายอมรับให้ทำได้ ก็จะมีปัญหาต่อมาว่าคุณสมบัติของผู้รับตั้งครรภ์ควรจะเป็นอย่างไร ถ้าเรายอมรับตรงนี้ก็จะโยงไปอีกเรื่องหนึ่งคือความรับผิดชอบของตัวผู้รับตั้งครรภ์หรือความรับผิดชอบของคู่สมรสที่ต้องการมีบุตรก็ดีที่ทำเองไม่ได้นั้น ถ้าเด็กที่ออกมาเกิดมีความพิการ หรือมีสภาพที่ไม่ครบ หรือมีอะไรบางอย่างที่มันไม่ถูกต้องใจกัน หรือแม้เด็กออกมาแล้วจะปฏิเสธไม่เอาได้หรือไม่ ดังนั้นเด็กคนนี้ที่เกิดมาแล้วเป็นภาระของใคร อันนี้ก็จะเกิดปัญหาว่าถ้าเรายอมรับให้มีโอกาสการตั้งครรภ์แทนนั้น ก็จะมีปัญหาลูกโซ่ที่ตามมา เพราะฉะนั้นในบางประเทศเขาตัดตั้งแต่ต้นลมเลย คือห้ามไม่ให้ทำเพราะเขาเห็นว่ามีปัญหาเยอะ ในหลายประเทศนั้นได้มีการประชุมเหมือนกับเราที่ทำอย่างนี้ว่าในเรื่องนี้ที่ทางการแพทย์ทำได้แน่นอน ผลสำเร็จมีแต่ว่าเมื่อมากลั่นกรองกันแล้วในปางประเทศเห็นว่ามันเกิดปัญหาแล้วมันเป็นลูกโซ่มาก แล้วมันต้องมีข้อยกเว้น ยกเว้น ยกเว้นไปเรื่อย ๆ งั้นเขาเลยตัดตั้งแต่ต้นลมเลยว่าหากเกิดปัญหาเป็นลูกโซ่ไม่รู้จบอย่างนี้ตัดเลย อันนี้เราได้ศึกษาเน้นถึงในบางประเทศที่ตัดเลยไม่ให้ทำ อันนี้ไม่ได้หมายความถึงว่าประเทศนั้น ๆ วิทยาศาสตร์ไม่เจริญก้าวหน้า เป็นประเทศที่เจริญก้าวหน้ามากในวงการแพทย์เกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยี แต่ว่าโอกาสในการทำเรื่องนี้ ก็เป็นเรื่องหนึ่งที่งานวิจัยแบบนี้ก็จะช่วยให้เราเห็นว่าในโลกของเราในเรื่องนี้ไม่ได้มีไม้บรรทัดอันเดียว ขึ้นอยู่กับสังคมของประเทศนั้นว่าจะมีการยอมรับมากน้อยแค่ไหน