พ่อแม่ที่แท้จริงซึ่งเป็นเจ้าของพันธุกรรม มีต้องการจะเป็นพ่อแม่ตามสูติบัตรด้วย ซึ่งยังเป็นไปไม่ได้ตามกฎหมายไทย จึงใช้วิธีเมื่อเด็กคลอดแจ้งชื่อบิดา-มารดาเจ้าของพันธุกรรม แทนชื่อของบิดา-มารดารที่รับตั้งครรภ์แทน ทำให้มีปัญหาในแง่ของการแจ้งความเท็จ ซึ่งเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นบ่อย ๆ
6. การตรวจความผิดปกติของตัวอ่อนก่อนการฝังตัว – เป็นกระบวนการเพื่อดูว่าเด็กมีพันธุกรรมที่ผิดปกติหรือไม่ ในบางกรณีใช้เพื่อการเลือกเพศบุตร ซึ่งการคัดเลือกเพศของบุตรโดยการคัดเลือกทางพันธุกรรมก็เป็นสิ่งที่สามารถทำได้ในปัจจุบัน โดยเอาตัวอ่อนมาตรวจสอบว่ามีพันธุกรรมที่ผิดปกติหรือไม่ ซึ่งจะทำให้ทราบด้วยว่าตัวอ่อนนั้นเป็นเพศชายหรือเพศหญิง ถ้าคู่สมรสต้องการบุตรเพศชาย ก็ใส่เฉพาะตัวอ่อนของเพศชายกลับไปในมดลูก ซึ่งขณะนี้แพทยสภา และราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์ ได้ออกแนวปฏิบัติ (guideline) มาแล้ว ว่าโดยปกติถ้าเป็นความต้องการของคู่สมรสในการเลือกเพศ แพทย์ไม่สมควรทำ ยกเว้นจะเป็นมีปัญหาในเรื่องของโรคพันธุกรรมบางโรคที่สามารถถ่ายทอดไปเฉพาะเพศใดเพศหนึ่งเท่านั้น จึงจะสามารถทำได้ โดยคู่สมรสต้องขออนุญาตด้วยตนเอง ต่อราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทยซึ่งเป็นองค์กรซึ่งทำหน้าที่ควบคุมการดำเนินการของแพทย์ในด้านนี้ การคัดเลือกทางพันธุกรรมมีประโยชน์ในทางการแพทย์ เพื่อตรวจวินิจฉัยตัวอ่อนว่ามีความผิดปกติทางพันธุกรรมหรือไม่ ถ้ามีความผิดปกติจะผิดปกติในระดับใด แต่เทคโนโลยีดังกล่าวมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูงมาก
7. ในอนาคตอันใกล้อาจจะมีเทคโนโลยีเพิ่มขึ้นมาอีกในเรื่องของการผลิตไข่หรือผลิตเชื้ออสุจิ เนื่องจาก
มีคนไข้กลุ่มหนึ่งที่อายุเกินกว่าวัยเจริญพันธุ์แต่ยังต้องการมีบุตร เช่น หมดประจำเดือนแล้วแต่ไปเจอคู่ตอนที่อายุมาก แล้วต้องการมีบุตรสืบสกุล เทคโนโลยีทางการแพทย์สามารถช่วยได้ แต่การดำเนินการดังกล่าวในปัจจุบันยังคงต้องใช้ไข่บริจาค แต่ในอนาคตอันใกล้เราสามารถใช้เทคโนโลยีเรื่องโคลนนิ่งมาช่วย โดยนำเอานิวเคลียสของเซลล์ปกติในเซลล์ร่างกายซึ่งโครโมโซมเป็นครบคู่ใส่ลงในไข่ แล้วกระตุ้นด้วยไฟฟ้า เพื่อให้โครโมโซมแยกออกมาเป็นโครโมโซมเดียวให้พร้อมที่จะนำไปปฏิสนธิกับเซลล์สืบพันธุ์ของอีกฝ่ายหนึ่ง โดยหลักการนี้แพทย์สามารถใช้เซลล์ร่างกายของคนไข้เองเหมือนกับการทำโคลนนิ่ง ในประเทศไทยเริ่มที่จะดำเนินการบ้างแล้ว แต่ในเรื่องของจริยธรรมก็ยังมีปัญหาพอสมควร และยังมีเรื่องของงบประมาณงานวิจัย ซึ่งในประเทศไทยยังคงมีข้อจำกัด คาดว่าคงต้องใช้เวลาพัฒนาเทคโนโลยี ไม่น่าจะเกิน 1 – 2 ปีนี้ในห้องทดลอง แต่ในทางปฏิบัติยังคงต้องใช้เวลาสักระยะเวลาหนึ่ง เพื่อให้การดำเนินงานในลักษณะดังกล่าวมีความปลอดภัยเพียงพอ
8. การทำโคลนนิ่ง Somatic Cell Nuclear Transfer – ก็เป็นอีกเทคโนโลยีหนึ่งที่เกี่ยวกับเรื่องอนามัยเจริญพันธุ์ ซึ่งการโคลนนิ่งจะทำได้ 2 แบบ คือ แบบหนึ่งคือการทำโคลนนิ่งในรูปของ reproductive Cloning คือการสร้างตัวอ่อนแล้วปลูกถ่ายให้เป็นคนขึ้น ซึ่ง กระบวนการนี้ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย และแพทยสภา ได้มีมติแล้วว่าห้ามดำเนินการในลักษณะนี้ อย่างไรก็ดี การดำเนินการดังกล่าวมีประโยชน์ในทางการแพทย์ เพราะเราสามารถสร้างตัวอ่อนแล้วนำเซลล์ต้นตอ (Stem cell) ภายในตัวอ่อนนั้นไปศึกษาหรือทำยา หรือทำการศึกษาเกี่ยวกับเซลล์มะเร็ง หรือไปทดแทนในเรื่องของการเปลี่ยนถ่ายอวัยวะ (transplant) ซึ่งในต่างประเทศได้เริ่มดำเนินการแล้ว เช่น เปลี่ยนถ่ายกระดูกไขสันหลังเนื่องจากประสบอุบัติเหตุ หรือเป็นโรคหัวใจเนื่องจากกล้ามเนื้อหัวใจตาย ก็สามารถเอาเซลล์ต้นตอนี้เข้าไปปลูกถ่ายเพื่อรักษาได้ จะเห็นได้ว่าประโยชน์มีมหาศาลในวงการแพทย์ แต่ปัญหาคือ ผู้ใช้นำไปใช้อย่างถูกต้องหรือไม่ ถ้าใช้อย่างผิดๆ ก็จะมีปัญหามากพอสมควร
หากจะกล่าวเฉพาะในแง่ของโครงการศึกษาพันธุกรรมมนุษย์ (human genome project) ซึ่งหากเอามาต่อกันกับ somatic cell transfer นักวิทยาศาสตร์สามารถสร้าง สิ่งที่น่ากลัวขึ้นมาได้พอสมควร ซึ่งโดยเทคโนโลยี และโดยความรู้เป็นสิ่งที่มีทั้งคุณและโทษ ซึ่งต้องการกฎหมายดูแล เพราะเทคโนโลยีมีความก้าวหน้าไปกว่ากฎหมายพอสมควร