จะตอบรับตัวชี้วัดนี้ ก็เรียกมาคุยก็เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน ก็เกิดกระบวนการทำงานเชิงคุณภาพขึ้น พอเรื่องคนเรื่องงานเสร็จแล้วก็เรื่องพฤติกรรมที่มีการเปลี่ยนแปลงกระบวนการทำงานที่เน้นคุณภาพมากกว่าปริมาณ ก็จะแตกต่างจากที่อื่น…”
บุษกร อุ่ยเต็กเค่ง สสจ.ระนอง
“…ขอนแก่นทำ 3 ตัว ร่วมกัน PCA ,CBL ด้วยกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทั้งหมดก็คือใช้เครื่องมือตัวเดียวก็คือ ลปรร. ไม่ว่าจะเป็น PCA, CBL, KM เราจะใช้ตัวเดียวกัน เวลาลงไปทีมประเมินผลก็ไปชื่นชมสิ่งเหล่านี้เหมือนกันว่า CUP ไหนสามารถทำอย่างนี้ได้…”
บัวบุญ อุดมทรัพย์ สสจ.ขอนแก่น
“… จังหวัดสร้างพื้นที่หรือเวทีในการแลกเปลี่ยน หลังจากอบรมกับมูลนิธิฯ กลับมาจัดเวทีเกี่ยวกับเรื่องมหกรรมสุขภาพ 2 เรื่อง คือเรื่องวิชาการให้นำเสนอผลงานวิจัย กับเรื่องนวัตกรรมที่ให้มาแลกเปลี่ยนกัน เป็นเวทีที่น่าประทับใจ คนที่เล่ารู้สึกมีคุณค่า เขามีความสุขมาก และเราสนับสนุนเรื่องของวิชาการให้ ซึ่งเรื่อง CBL กำลังจะเกิดการประเมิน แต่ละพื้นที่ต้องส่ง 1 เรื่อง เพื่อประกวดระดับเขต ก็ทำการบูรณาการมาจัดเป็นวงแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้มาเล่าเรื่องแทนการนำเสนอ แต่มีลักษณะกระบวนการที่ให้ประเมินและออกเสียงเลือกในตอนสุดท้าย ให้ทำการประเมินกันเองจาก 9 แห่งเพื่อคัดเลือกไป ครั้งนั้นเป็นการใช้กระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อเสริมให้เกิดการเรียนรู้ระหว่างพื้นที่ด้วย ผลออกมาทุกคนเล่าแบบมีความสุข ตัวแทนเป็นผู้อำนวยการจากโรงพยาบาลสามง่ามที่เป็นเป้าหมายของงาน CBL เข้าร่วมตั้งแต่เช้าถึงเย็น และได้รับคำชี้แนะในการทำกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ต่อไป เสนอให้ทำเป็นประเด็นๆขึ้นมาจากที่เขาเห็นความสำคัญ และเห็นว่าหากจะต่อยอด จังหวัดต้องมีเวทีเรื่องการจัดการความรู้โดยเน้นเรื่องกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้มาใช้…”
พิทักษ์ เอมสวัสดิ์ สสจ.พิจิตร
3.นำไปใช้เป็นเทคนิคในขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งในการเสริมคุณภาพของงานเดิม
เพื่อเสริมคุณภาพงานประจำที่ทำอยู่ให้ดีขึ้น และมีผู้คนจากหลายฝ่ายมาร่วมกันทำงาน เช่น นำกระบวนการ ลปรร. ไปใช้ในการประชุมประจำเดือนแทนรูปแบบประชุมเดิมๆ ทำให้ผู้เข้าร่วมประชุมสนใจมากขึ้น นำไปเป็นเครื่องมือในการประเมินและนิเทศก์งาน
“… เนื่องจากมีตำแหน่งเป็นนักวิชาการและเป็นผู้ช่วยสาธารณสุขอำเภอ รับผิดชอบดูแลกลุ่มพยาบาล รพ.สต. เมื่อได้รับเครื่องมือ ลปรร. ก็มีการไปปรับใช้ในการประชุมประจำเดือน แทนการประชุมแบบเดิมๆ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง จากเมื่อก่อนมาเข้าร่วมประชุมกันตามปกติ ไม่ค่อยได้รับความสนใจ พอเปลี่ยนมาเป็นการ ลปรร. เขาต้องมีการเตรียมตัว มีการวางแผนในประเด็นที่จะมาแลกเปลี่ยน น้องๆเกิดความกระตือรือร้น ไม่ขาดการประชุม ให้ความร่วมมือดีขึ้น ในการประชุมกลุ่มพยาบาลทุกเดือน…”
เสาวดี สังข์ทอง สสอ.ท้ายเหมือง จ.พังงา
“… และเรามาคัดเลือก เรื่องที่เป็น best practice ในกลุ่ม ว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องดีเรื่องเด่น แต่ละคนมาร่วมเวทีเสร็จเล่าเสร็จ เราก็มาสรุปทีหลังว่าที่เราจัดเวทีนี้วัตถุประสงค์ คือสิ่งที่คุณอยากได้ คุณเล่าออกมาแบบไหนคุณก็เอาไปเขียน paper แบบนั้น อันนั้นก็คือเอาจากประเด็นปัญหาของพื้นที่ เราไปประเมินส่วนขาด ว่าเขายังขาดอะไร เขาอยากรู้เรื่องอะไร ก็มากำหนดเป็นประเด็นหัวปลา…”
จินตนา นาคงาม รพ.โพธาราม จ.ราชบุรี
“…ของเราจะมีการนิเทศก์ทั้ง 2 ส่วน ทั้งสุนทรียสนทนา เพราะเดี๋ยวนี้การนิเทศก์งานก็จะเน้น ในเรื่องของการจับผิด แต่ ranking จะไม่ถามว่าได้เท่าไหร่ แต่จะไปเก็บข้อมูลในหมู่บ้านเลย อย่างเช่นว่า รพ.สต. นี้ให้วัคซีนเท่าไหร่เขาก็จะไปสุ่มถามเด็ก เราก็เอาเป็นเปอร์เซ็นต์เลย จะไม่ไปดูจากรายงาน รพ.สต. เราจะใช้ทั้ง 2 ส่วน ส่วนตัวชี้วัดรายบุคคลของหนองบัวระเหว ของโรงพยาบาลเราจะมีพยาบาลเพิ่มเติมงานวิชาการ แต่เรื่องเล่าทุกคนจะมี CQI ถ้าคุณจะให้คะแนน คุณให้ 5 คะแนน CQI คุณก็ต้องมีเรื่องเล่า เจ้าหน้าที่ทุกคนน้อง aid ก็จะต้องมี CQI แนบไป…”
ลักขณาภรณ์ เสนชัย รพ.หนองบัวระเหว จ.ชัยภูมิ
“… ก็เลยรู้สึกว่าวิธีการเล่าเรื่องเราก็ได้วิธีการทำงานที่ดีในพื้นที่เราอีกเยอะ ในส่วนตัวที่ได้ หลังจากนั้นก็เอาไปลองทำเอง เราประทับใจว่าเราทำได้ ก็ลองไปทำเอง น้องๆ ที่ทำก็รู้สึกดี เราทำเรื่องเจาะเลือดเบาหวาน น้องๆ ที่ทำก็ได้ประโยชน์ว่าเอาไปใช้ได้ดีนะพี่ จากเมื่อก่อนเราเจาะเลือดเราต้องตีคนไข้ นวด เราได้เทคนิคใหม่ ทุกคนก็แชร์กัน เราก็เอาไปในพื้นที่ 3-4 ที่ ร่วมกับทีมผู้บริหาร จากผู้บริหารไม่เคยไปพื้นที่ก็ได้ไปพื้นที่กับเรา เกิดเครือข่ายการทำงานกับ รพ.สต. ในพื้นที่ หมอที่ไม่ค่อยมีส่วนร่วมก็เริ่มเข้ามา ชวนก็ง่ายขึ้น เข้าใจคนไข้ เข้าใจเจ้าหน้าที่ รพ.สต. มากขึ้น…”
สถิต สายแก้ว รพ.ราษีไศล จ. ศรีสะเกษ
“… ผมคิดว่ามาเห็นของศีรสะเกษ นราธิวาสที่เขาทำ โดยไม่ใช้งบประมาณ เราน่าจะกลับไปทำได้ คิดว่าเราจะประยุกต์เอาของเขามาใช้ เพราะเรามีการประชุมประจำเดือนอยู่แล้วที่ สสอ. ช่วงเช้าสละเวลานิดหนึ่งชวนเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องที่จะมาเรียนรู้มาคุยกันก่อน และช่วงบ่ายก็เอาเรื่องจากเวทีนี้ไปสรุปอีกทีหนึ่ง ถ้ามันเป็นประโยชน์แก่การทำงาน ก็ตกลงกันตั้งแต่เดือนมกราคม วงแรกที่จัดด้วยความคิดว่า การดูแลผู้ป่วยที่ผมเคยพูดว่าเยี่ยมบ้าน 100% ได้ผลงาน 100 แต่ทำไมคนไข้จิตเวชบางรายยังอาการไม่ดีขึ้น บังเอิญผมเป็นคนในพื้นที่ด้วย เขาดูแลกันอย่างไร และเยี่ยมกันอย่างไร คิดว่าน่าจะเอาประเด็นนี้มาคุย ถ้า case แบบนี้ ไม่ดีขึ้นและ case อื่นจะดีขึ้นได้อย่างไร ก็เลยเอาการดูแลผู้ป่วยจิตเวชเป็นตัวตั้ง ก็เลยเชิญพยาบาลเป็นหลัก คิดว่าพยาบาลเป็นหลักในการดูแลผู้ป่วย ใน รพ.สต.ก็เชิญมาอีก 1 คน เป็นนักวิชาการ หรือใครที่ว่าง เช้าต้องมีคนดูแลผู้ป่วยอยู่ใน รพ.สต. อย่างน้อย 2 คนที่มา ก็เชิญมาเล่า ตอนแรกก็ไม่ได้กำหนดอะไร คุณดูแลผู้ป่วยจิตเวช อย่างไรให้มีคุณภาพ กำหนดหัวปลาไปอย่างนั้น พอคำว่าคุณภาพทุกคนก็พูดไม่ค่อยออก ไม่รู้จะพูดอย่างไร ถ้างั้นตัดคำว่าคุณภาพออก เขาก็เล่ามาเท่าที่เขาทำ ก่อนจะออกไปเยี่ยมคุณทำอย่างไร เตรียมอะไรบ้าง ก็มีการศึกษาข้อมูลผู้ป่วยก่อน เตรียมแบบฟอร์ม เตรียมศึกษาผู้ป่วย บางคนเล่ามาก็ไม่ได้ทำอะไรนะ พอได้มาเรียนรู้ด้วยกันก็ได้แนวทางร่วมกัน …”
วิชิต ยศสงคราม สสอ.หนองแสง จ.อุดรธานี