การขับเคลื่อนกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (8)

จะต้องดูแลอย่างไร จะต้องทำอย่างไร เป็นลักษณะการเล่าการทำงานว่า ถ้าจะต้องดูแลผู้ป่วยเคสอย่างนี้ต้องทำอย่างไร…”

บุษกร อุ่ยเต็กเค่ง สสจ.ระนอง

“…หลังแลกเปลี่ยนเรียนรู้ก็มีการถอดบทเรียน ว่าทำหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างไรเริ่มตั้งแต่การตั้งคณะกรรมการจนทำเป็นอย่างไร แล้วทำเป็นเรื่องเล่าส่งไปให้ รพ.สต.แต่ละที่อ่าน…”

ศิรินทิพย์ ธรรมสกุล รพ.สต.ท่าสะท้อน อ.พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานี

“…ทำแลกเปลี่ยนเรียนรู้เสร็จก็มีการถอดบทเรียน ว่าคัดกรองให้ประสบผลสำเร็จทำยังไง เลือกกลุ่มเป้าหมาย ติดตามกลุ่มเป้าหมาย เอาใครมาช่วย แบ่งกลุ่มกี่กลุ่ม อสม.มาช่วยยังไง เป็นวิธีของแต่ละคน หลายคน โดยจัดหมวดหมู่ตามหัวปลาย่อย เช่น การแจ้งผล บ้านยางทำอย่างนี้ อาฮีทำอย่างนี้ บอกรายละเอียดแต่ละที่ว่าทำอย่างไร…”

น้ำค้าง สาระแสน รพ.สต.อาฮี อ.ท่าลี่ จ.เลย

“…หลังจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การลงโปรแกรม J-HCIS ก็มีการทำคู่มือ มีรายละเอียด เทคนิค วิธีการที่ละเอียดกว่าคู่มือที่ส่วนกลางส่งไปให้ มีรายละเอียดตั้งแต่วิธีการเก็บข้อมูล จะเอาข้อมูลจากแหล่งไหนไปใส่ในโปรแกรม…”

รุ่งตะวัน โคตรวงศ์ รพ.สต.หนองบัว อ.กันทรารมย์ จ.ศรีสะเกษ

“….หลังจากทำกระบวนการแล้ว ก็เอาเทคนิคการเจาะเลือดมาเป็นเอกสารเขียนเป็นแนวทางวิธีการเจาะเลือดคนไข้เบาหวาน ให้เอาไปใช้ เราถอดออกมาตั้งแต่วิธีเตรียมการเจาะ เตรียมสถานที่ การใช้เข็ม ทุกอย่างไม่เกินหนึ่งหน้ากระดาษ แต่ได้วิธีการเอาไปใช้จริง…”

สถิต สายแก้ว รพ.ราษีไศล จ.ศรีสะเกษ

หลายพื้นที่ นำถอดบทเรียนจากวง ลปรร. ออกเผยแพร่เพื่อใช้ประโยชน์ในวงกว้าง ผ่านทาง

1. การเผยแพร่อย่างไม่เป็นทางการ : โดยการพูดคุยเล่าเรื่องสิ่งที่ได้เรียนรู้ให้เพื่อนร่วมงาน หัวหน้างาน ผู้บริหารฟัง

2. การเผยแพร่อย่างเป็นทางการ : ผ่านช่องทางการสื่อสารของหน่วยงาน เช่น ทำรายงานเสนอผู้บริหาร จัดทำเป็นรูปเล่มหนังสือ ส่งเอกสารในรูป electronic file นำเสนอเรื่องราวในการประชุมประจำเดือน หรือนำเสนอในเวทีมหกรรมงานต่างๆ

3. นำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ในการอบรมให้กับกลุ่มอื่นต่อ

“…ของหนองบัวระเหว พอเราทำเสร็จแล้ว เราจะนำเสนอใน คปสอ. ทางผู้บริหาร ก็เห็นความสำคัญ เราไปทำมา เราจะไม่แยกเราจะรวมหมดทุกอย่าง เราจะเป็นคนประสาน ทุกครั้งที่มี คปสอ. เราจะเอาเรื่องดีๆ รพ.สต. ทุกแห่งมา เป็นเปิดเวทีว่าสิ่งที่เขาทำมี CUP รับรู้นะ และตัวเองได้ไปนำเสนอในระดับจังหวัดให้เขตฟัง เขาจะภูมิใจ…”

ลักขณาภรณ์ เสนชัย รพ.หนองบัวระเหว จ.ชัยภูมิ

“…มีปัญหาเรื่องตำบลหนึ่งมี case ไข้เลือดออกแล้วตาย ก็เลยจับกลุ่มชาวบ้านมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน ชาวบ้านก็วิเคราะห์ว่าชุมชนนี้มีปัญหาเรื่องเขาจะขายยาง ยางมือสอง ราชบุรีเป็นเมืองโอ่ง โอ่งเยอะมากและมีน้ำขัง เราก็จะใช้วิธีกาลักน้ำ สรุปไข้เลือดออกก็ลดลง ก็เป็น best practice ของตำบล พอจังหวัดมาถามว่าทำอย่างไร เขาก็เล่าว่าตรงนี้คือสิ่งที่เกิดเรื่องการแก้ปัญหาเรื่องยุง จังหวัดก็เลยเอาสิ่งที่ดีไปเป็นนโยบายจังหวัดว่า ถ้าจะอบรม อสม. ครั้งต่อไปในการฟื้นฟูความรู้ ในฐานความรู้เรื่องไข้เลือดออก ประเด็นของกาลักน้ำ ไปเผยแพร่ ซึ่งมันก็เป็นหลักสูตรที่เขาจัดเข้าไปใน อสม. ทั่วทุกจังหวัดราชบุรี เมื่อมีการอบรมฐานความรู้ของ อสม. จะมีฐานไข้เลือดออกเอาประเด็นนี้ไปโชว์ ให้ อสม. ได้รับรู้…”

จินตนา นาคงาม รพ.โพธาราม จ.ราชบุรี

“…เราได้ความรู้จากวง เป็นวิธีปฏิบัติในพื้นที่ อย่าง CUP หนองสองห้อง โครงการ CBL ที่เขาทำมันทำให้เขาได้ตัวเหล่านี้ออกมา ได้ 2-3 เรื่องไม่มาก และจะนำสู่การไปใช้ เขาจะทำในลักษณะปฏิทินตั้งโต๊ะ ทำให้เจ้าหน้าที่ของ รพ.สต. เอาไปใช้ได้ เช่น เรื่องของเบาหวาน ที่จะมีแนวทางของส่วนกลางเป็นทฤษฎีภาพรวมเลย พอมาถึงพื้นที่ของเขา เบาหวาน ต้องใช้แบบนี้นะ หรือเรื่องคนไข้ MI ก็แล้วแต่ในพื้นที่ว่ามีเรื่องหรือประเด็นอะไร…”

บัวบุญ อุดมทรัพย์ สสจ.ขอนแก่น

“…ทำกระบวนการเสร็จ ก็เอาไปเล่าให้ สสอ.ฟัง แล้วก็ส่ง mail ให้กับ รพ.สต.อื่น ว่าทำกระบวนการแล้วเป็นอย่างไร พร้อมกระตุ้นว่าอยากให้ทำบ้าง ถ้าทำไม่ได้จะไปช่วยทำ…”

ธัญลักษณ์ มุ่งเอื้อมกลาง รพ.สต.ท่าจาม อ.หนองใหญ่ จ.ชลบุรี

“…ทำกระบวนการแล้วก็ทำบันทึกส่ง สสอ. และ รพ. เพื่อทำเรื่องเบิก แล้วทำเป็น electronic file ใส่ในกล่อง mail ของ รพ.สต.แต่ละแห่งว่า ถอดบทเรียนมาแล้วใครอยากจะเพิ่มอะไรตรงไหนบ้าง แล้วก็ส่งไปยัง สสจ. เพื่อให้รับรู้ว่า ลปรร.คืออะไร…”

น้ำค้าง สาระแสน รพ.สต.อาฮี อ.ท่าลี่ จ.เลย

“…ทำเป็น paper ถอดบทเรียน แล้วก็เอาไปใส่ใน locker ของแต่ละ รพ.สต. เวลาเค้ามารับเอกสารก็จะได้เอากลับไปยัง รพ.สต.ไปอ่านกัน…”

ศิรินทิพย์ ธรรมสกุล รพ.สต.ท่าสะท้อน อ.พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานี

“…หลังจากการจัดกระบวนการกระแสตอบรับดี มี Facebook ของสำนักงานสาธารณสุขอำเภอกันทรารมย์ เค้าก็โชว์ข้อมูลว่าเค้าทำได้แล้ว ที่ไหนที่ยังทำไม่ได้ เค้าก็คลิกเข้าไปถาม แล้วก็มีการแต่งตั้งคนเก่งๆเป็นทีม IT ของอำเภอ คอย search ข้อมูลแล้วก็ส่งให้ทุกคนผ่านเว็บของ สาธารณสุขอำเภอ ใครสนใจเปิดเว็บนี้ ก็เป็นเครือข่ายกัน…”

รุ่งตะวัน โคตรวงศ์ รพ.สต.หนองบัว อ.กันทรารมย์ จ.ศรีสะเกษ

“…เราทำถอดบทเรียนเป็นเล่ม มีการส่งให้ สสจ. แล้วก็รองนายกฯ อบต. แล้วก็เผยแพร่ลงเว็บไซต์ของ อ.รามัน…”

รูสลาม สาร๊ะ รพ.สต.ตะโล๊ะหะลอ อ.รามัน จ.ยะลา

 

ช. กระบวนการประเมินผลจัดวง ลปรร.

เมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการ ลปรร. ทุกครั้ง มีการประเมินผลการจัดด้วยวิธีการจัดการความรู้ หรือ AAR (After Action Review : AAR) เน้นใช้คำถามที่สะท้อนถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการเข้าวง ลปรร. และการนำไปปรับใช้ต่อ ด้วย 3 คำถามหลัก คือ

1. สิ่งที่ได้เรียนรู้ หรือความรู้ที่ได้จากการเข้าวง

2. จะนำสิ่งที่ได้เรียนรู้อะไรไปใช้ต่อ และทำอะไร

3. ต้องการอะไรเพิ่มเติมหากมีการจัดวง ลปรร. ในครั้งต่อไป เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ให้มากขึ้น