ก็ไม่สามรถทำให้เกิด ลปรร.ได้ หาก CUP เขาไม่อยากทำ บังคับไม่ได้ เนื่องจากยังไม่ได้กำหนดเป็นนโยบายระดับจังหวัดว่าทุก CUP ต้องทำ แต่หากมีการติดตามอย่างต่อเนื่อง มีการกระตุ้นและสนับสนุนอย่างจริงจัง จากจังหวัด กิจกรรม ลปรร.ก็น่าจะเกิดขึ้นได้ในทุก CUP
แต่สิ่งที่คิดว่าเป็นส่วนสำคัญที่จะขับเคลื่อนทำให้เกิดการ ลปรร.ในพื้นที่ คือ การมีพี่เลี้ยงชวนและพาทำ พี่เลี้ยงต้องมีใจและเห็นว่า การ ลปรร.นี้มีประโยชน์และสามารถช่วยให้เราพัฒนาคุณภาพการทำงานได้เร็ว และง่ายขึ้น รวมทั้งช่วยสร้างให้เห็นคุณค่า สร้างกำลังใจ สร้างพลัง ให้กับคนทำงาน ซึ่งเราเห็นตรงนี้แล้ว เราต้องพยายามหาคน ที่เห็น และคิดเหมือนเรา มาเป็นทีม สร้างทีม จากนั้นก็ไปชวนและพาพื้นที่ทำ จัดวง ลปรร. ในเรื่องที่เขาสนใจ อยากพัฒนา หรือแก้ปัญหา ซึ่งขณะนี้จังหวัดสระบุรี มีทีมพี่เลี้ยงประมาณ 8-10 (จากที่อบรมไป 30 คน) ที่สามารถเป็นพี่เลี้ยงและเป็นทีมนำไปขับเคลื่อนให้เกิดการ ลปรร.ในพื้นที่ได้ และจังหวัดก็มีความสำคัญที่จะต้องคอยกระตุ้น สนับสนุน ติดตาม รวมทั้งไปร่วมทำด้วยในบางครั้ง สิ่งที่จังหวัดได้ทำและช่วยให้เกิดการขับเคลื่อนการจัด ลปรร.ในพื้นที่ คือ ประชุมทีมนำ/พี่เลี้ยง ติดตามการ ลปรร.ในพื้นที่โดยให้เล่าการขับเคลื่อนการจัด ลปรร.ในพื้นที่ของตัวเอง ลงไปช่วยออกแบบการจัด ลปรร.ในบางพื้นที่ที่อยากทำแต่ไม่มีพี่เลี้ยง รวมทั้งไปช่วยและร่วมทำด้วย แนะนำปรับวิธีการทำงาน /ชวนทำ ลปรร.ในการพัฒนา/แก้ไขปัญหางานในพื้นที่ รพ.สต.แทนการจัดประชุม อบรม สอน ให้ปรับวิธีการมาจัด ลปรร.แทน ในกลุ่ม ผู้ป่วย กลุ่ม อสม. อื่นๆ โดยจังหวัดต้องลงไปช่วยทำด้วย ทำให้ดู ปรับวิธีการทำงานในระดับจังหวัดในส่วนที่รับผิดชอบ ใช้จัดเวที ลปรร.แทนการประชุมอบรม จนท. ในเรื่องงานที่จะพัฒนา หรือการติดตามความก้าวหน้าของการดำเนินงานตามนโยบายอื่นๆ
การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการพัฒนางาน รพ.สต. อำเภอโพธาราม
จินตนา นาคงาม รพ.โพธาราม จ.ราชบุรี
มีนโยบายกระทรวงที่เร่งรัดเข้ามา เกี่ยวข้องเรื่องการพัฒนาคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน รพ.สต.คือ PCA (Primary care award) ใน รพ.สต.ทุกแห่งต้องพัฒนา ซึ่งปรับมาจากเกณฑ์เดิม คือ HCA (Health Center Accreditation) ทำให้รพ.สต.ยังหลงทิศทางในการรวบรวม สรุปผลงานตามเกณฑ์ที่วัดผล ทั้งๆ ที่เป็นการพัฒนาที่ผนวกในงานที่ทำอยู่เดิมแล้ว ข้าพเจ้าและทีมงานพัฒนา รพ.สต. มีความเห็นตรงกันว่า การจัดให้มีกระบวนการ ลปรร. ระหว่าง รพ.สต. โดยมีการกำหนดประเด็นชัดเจนคือ ”การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการพัฒนางาน รพ.สต. อำเภอโพธาราม” จึงเป็นแนวทางหนึ่งที่จะก่อให้เกิดผลสำเร็จตามมาตรฐาน PCA โดยเฉพาะหมวดที่ 6 เรื่องกระบวนการบริการ ซึ่งกำลังเป็นปัญหาของ รพ.สต.ในอำเภอโพธารามทุกแห่ง เพราะบอกว่า ทำไม่ถูก เขียนไม่เป็น ข้าพเจ้าจึงเข้าประสานงานกับ สสอ.โพธาราม เพื่อการตัดสินใจใช้งบประมาณในการจัด ก็ได้รับการเห็นชอบให้จัด แต่ไม่สามารถนำเจ้าหน้าที่มาได้ทุกคนเพราะต้องทำงานใน รพ.สต. จึงให้สิทธิ รพ.สต.คัดเลือกตัวแทนแห่งละ 1 คน เข้ามาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ คนที่เข้ามาส่วนใหญ่เป็นนักวิชาการสาธารณสุข และพยาบาลวิชาชีพที่รับผิดชอบงานคุณภาพของ รพ.สต.โดยตรงรวม 35 คน การจัดวง ลปรร. เริ่มแรกจะชี้แจงวัตถุประสงค์การจัดกิจกรรม ใช้หลักการที่ได้รับถ่ายทอดมา การพูดคุยกันภายใต้ประเด็นหลัก คือ ให้ทุกคนเล่าเรื่องงานใน รพ.สต.ที่ทำสำเร็จ และงานที่ไม่มีการวัดความสำเร็จตามตัวชี้วัดแต่ทำแล้วเกิดความภาคภูมิใจ
รายชื่อผู้เข้าร่วมกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อถอดบทเรียน
ภาคเหนือ
พิทักษ์ เอมสวัสดิ์ สสจ.พิจิตร
วัลลพ ฤทธิ์บำรุง รพ.สต. บ้านสายลำโพงใต้ จ.นครสวรรค์
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
จิราพรรณ โพธิ์กำเนิด สสจ. ศรีสะเกษ
สถิต สายแก้ว รพ.ราษีไศล จ.ศรีสะเกษ
รุ่งตะวัน โคตรวงศ์ รพ.สต. หนองบัว จ.ศรีสะเกษ
รตญ.อมรพรรณ พิมพ์ใจพงศ์ สสจ.อุดรธานี
วิชิต ยศสงคราม สสอ.หนองแสง จ.อุดรธานี
บัวบุญ อุดมทรัพย์ สสจ.ขอนแก่น
ลักขณาภรณ์ เสนชัย รพ.หนองบัวระเหว จ.ชัยภูมิ
น้ำค้าง สาระแสน รพ.สต.อาฮี จ. เลย
ภาคกลาง
นุชนภางค์ ภูวสันติ สสจ.สระบุรี
สุมาลี คุ้มสุวรรณ รพ.สต.คลองเรือ จ. สระบุรี
จุฑามาส มาฆะลักษณ์ สสจ. สมุทรสงคราม
สมเกียรติ โค้วไล้ สสจ.ราชบุรี
จินตนา นาคงาม รพ.โพธาราม จ.ราชบุรี
ธัญลักษณ์ มุ่งเอื้อมกลาง รพ.สต.ท่าจาม จ. ชลบุรี
ภาคใต้
บุษกร อุ่ยเต็กเค่ง สสจ.ระนอง
ศจี ชูศรี สสอ.เมือง จ.ระนอง
เสาวดี สังข์ทอง สสอ.ท้ายเหมือง จ.พังงา
รูสลาม สาร๊ะ รพ.สต.ตะโละหะลอ จ.ยะลา
ศิรินทิพย์ ธรรมสกุล รพ.สต.ท่าสะท้อน จ. สุราษฎร์ธานี
วิทยากรผู้นำกระบวนการถอดบทเรียน
สมพร อินทร์แก้ว กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข
ภัคนพิน กิตติรักษนนท์ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข