การสร้างเครื่องมือประเมินและตัวชี้วัดระดับการพัฒนาจิตวิญญาณ สำหรับบุคลากรด้านสาธารณสุข (19)

แผนชีวิต (life scheme) โดยออกแบบให้เป็นการวัดจิตวิญญาณในมิติเดียวที่เชื่อมโยงกับความผาสุกทางจิตวิญญาณในกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ป่วย

3 แบบวัดจิตวิญญาณ ที่พัฒนาโดย O’Connell & Skevington (2007) เป็นแบบวัดคุณภาพชีวิตใน

มิติสุขภาพซึ่งได้นำเสนอการวัดด้านจิตวิญญาณและ/หรือมิติทางศาสนาไว้

กลุ่มที่ 3 เครื่องมือวัดทางจิตวิญญาณในบริบทด้านองค์การ

เครื่องมือวัดทางจิตวิญญาณในกลุ่มนี้เป็นเครื่องมือวัดที่ได้มีการพัฒนาขึ้นเพื่อใช้กับบริบทด้านองค์การโดยตรง ซึ่งจากการทบทวนวรรณกรรมต่างๆพบแบบวัดที่น่าสนใจ ได้แก่

1. แบบวัดที่พัฒนาโดย Ashmos and Duchon (2000) ประกอบด้วยการวัด 3 ระดับได้แก่ ระดับ

บุคคล ทีมงานและองค์การ โดยระดับบุคคลมีองค์ประกอบอาทิ การให้ความหมายต่อการทำงาน ชีวิตที่อยู่ภายใน การปิดกั้นจิตวิญญาณ ความรับผิดชอบ การเชื่อมโยงทางบวกกับผู้อื่น ส่วนระดับทีมงานประกอบด้วยความเป็นทีม และค่านิยมของทีมงาน และระดับองค์การได้แก่ค่านิยมองค์การ บุคคลและองค์การ

2 แบบวัดที่พัฒนาโดย Milliman et al. (2003) ประกอบด้วยมิติการวัดจิตวิญญาณในองค์การ 3

มิติ ได้แก่ การทำงานที่เต็มไปด้วยความหมาย ความเป็นสังคมเดียวกัน การมีค่านิยมร่วม ซึ่งอธิบายเจตคติต่องาน 5 ด้านประกอบด้วย ความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การด้านความรู้สึก ความตั้งใจในการลาออก ความพึงพอใจภายในเกี่ยวกับการทำงาน ความเกี่ยวพันกับงานและความภาคภูมิใจในตนเอง

จากการประมวลเครื่องมือวัดทางจิตวิญญาณในทั้ง 3 กลุ่ม คณะผู้วิจัยได้มีการพิจารณาถึงองค์ประกอบสำคัญที่เครื่องมือวัดต่างๆได้มีการวัดกันไว้ดังนี้

องค์ประกอบ

แรงจูงใจ

ประเด็นการวัด

• ความใกล้ชิดกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ พระเจ้าทำให้ชีวิตมีเป้าหมาย

• การมีความหมายของชีวิตเป็นแรงจูงใจให้บุคคลต่อสู้เพื่อบรรลุเป้าหมาย

• แรงจูงใจภายในที่จะหาความหมายที่ยิ่งใหญ่กว่า

องค์ประกอบ

เข้าร่วมทางศาสนา

ประเด็นการวัด

• อ่านคำสอน

• อ่านข้อเขียน หนังสือ ทางศาสนา สวดภาวนา

• ไปร่วมปฏิบัติศาสนากิจทางศาสนา

องค์ประกอบ

ประสบการณ์ทางจิตวิญญาณ

ประเด็นการวัด

• ความรู้สึกที่มีต่อ พระเจ้า สิ่งศักดิ์สิทธิ์

• การมีความรู้สึกว่าได้รับการให้อภัย

• การได้รับการดูแลรักษา

• การมีผู้รับฟังเมื่อมีปัญหา

• การมีอยู่จริงของพระเจ้าหรือสิ่งศักดิ์สิทธ์

• อารมณ์ที่มีต่อสิ่งที่ตนเองศรัทธาสูงสุด

องค์ประกอบ

ยึดมั้นทางศาสนา

ประเด็นการวัด

• ความยึดมั่นทางศาสนา

องค์ประกอบ

ความสุขทางจิตวิญญาณ

ประเด็นการวัด

• ความสุขด้านศาสนา

• ความสุขด้านประสบการณ์ชีวิต

– การมีความหมายในชีวิต

–  ความเชื่อในการมีเป้าหมายของชีวิต

– ดำเนินชีวิตอย่างมีความหมาย

– เข้าใจในวัตถุประสงค์ในชีวิตของตน

• ความพึงพอใจในชีวิต

องค์ประกอบ

ความใกล้ชิดผูกพันต่อพระเจ้า สิ่งศักดิ์สิทธิ์

ประเด็นการวัด

• การตระหนัก ความรู้สึกว่ามีความใกล้ชิดกับสิ่งที่ศรัทธา

องค์ประกอบ

การต่อสู้ทางจิตวิญญาณ

ประเด็นการวัด

• ความต่อเนื่องของการมีจิตวิญญาณที่อาจมีความขัดแย้งเกิดขึ้นระหว่างตนเองกับผู้อื่น

• ความขัดแย้งภายในตนเอง

• ความสงสัยในศรัทธาที่ตนเองมีอยู่

องค์ประกอบ

การแก้ปัญหาอย่างมีจิตวิญญาณ

ประเด็นการวัด

• ปริมาณความรับผิดชอบที่บุคคลมีต่อการแก้ปัญหาของตนเองว่าควรเป็นของใคร ระหว่าง พระเจ้าหรือสิ่งศักดิ์สิทธ์ และตัวเอง

องค์ประกอบ

ปริมาณที่บุคคลหันไปพึ่งศาสนาหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์

ประเด็นการวัด

• ปริมาณของกิจกรรมที่เกี่ยวข้องสิ่งที่ศรัทธา

• การพึ่งพิงพระเจ้า หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์

• พยายามที่จะจัดการกับความเครียดโดยการปฏิบัติตามคำสอน

• เชื่อในแนวทางของศาสนา,

• ได้รับการสนับสนุนจากบุคคลในเครือข่ายทางศาสนา

• แนวโน้มในการต่อรองและขอสิ่งให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์แสดงปาฏิหาริย์เพื่อช่วยตนเองแก้ปัญหา

• การพยายามใช้ศาสนาในการหลีกหนีปัญหาที่ตนเองกำลังประสบ

องค์ประกอบ

ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับคนอื่น กับธรรมชาติให้ความรัก ความเคารพผู้อื่น

ประเด็นการวัด

• การรู้สึกเป็นหนึ่งเดียวของสิ่งต่างๆ ตัวเรากับผู้อื่นกับโลกกับจักรวาล

• การเข้าใจความรู้สึกความต้องการของผู้อื่น

• ความเชื่อมโยงที่ผู้อื่นมีกับสิ่งที่เขาให้ความสำคัญ

• สามารถนำตัวเองเข้าไปช่วยเขาได้

องค์ประกอบ

ตระหนักในความจริง สิ่งที่อยู่เหนือธรรมชาติ ได้แก่ พระเจ้า สิ่งศักดิ์สิทธิ์จักรวาล

ประเด็นการวัด

• ตระหนักใน ความจริง สิ่งที่อยู่เหนือธรรมชาติ ได้แก่พระเจ้า สิ่งศักดิ์สิทธิ์จักรวาล

องค์ประกอบ

จิตวิญญาณในองค์กร

ประเด็นการวัด

• การให้ความหมายต่อการทำงาน

• ชีวิตที่อยู่ภายใน

• การปิดกั้นจิตวิญญาณ

• ความรับผิดชอบ

• การเชื่อมโยงทางบวกกับผู้อื่น

• ความเป็นทีม

• ค่านิยมของทีม

• ค่านิยมองค์การ

• ค่านิยมบุคคล

• การมีค่านิยมร่วม

เมื่อพิจารณาประเด็นการวัดอาจสรุปได้ดังนี้

1. การวัดทางจิตวิญญาณมีความเกี่ยวข้องกับศาสนาหรือสิ่งเหนือธรรมชาติอยู่มากทั้งด้านจิตและพฤติกรรม

2. การวัดทางจิตวิญญาณเป็นการวัดที่มิได้วัดเฉพาะลักษณะทางจิตของบุคคลแต่ยังวัดในเรื่องของความสัมพันธ์หรือการเชื่อมโยงตนเองกับสิ่งอื่นรอบตัวเช่นบุคคลอื่น กลุ่ม องค์การ และสิ่งเหนือธรรมชาติ

3. การมีเป้าหมายและการให้ความหมายกับชีวิตเป็นประเด็นการวัดที่ถูกใช้ในบริบทต่างๆ

4. ความผาสุกทางจิตวิญญาณสามารถสื่อถึงผลลัพธ์ของการมีจิตวิญญาณในการดำเนินชีวิตได้

ดังนั้น จากข้อสรุปที่ได้จากการพิจารณาองค์ประกอบและประเด็นการวัดต่างๆ อาจจัดกลุ่ม

องค์ประกอบและประเด็นการวัดใหม่ได้เป็น 5 องค์ประกอบ ประกอบด้วย

1. ด้านการมีเป้าหมายในชีวิต

2. ด้านประสบการณ์ทางจิตวิญญาณ

3. ด้านความเชื่อพลังบางสิ่งเหนือธรรมชาติ

4. ความสัมพันธ์กับบุคคอื่น

5. ความสุขทางจิตวิญญาณ

ซึ่งมีประเด็นการวัดในแต่ละองค์ประกอบดังนี้

องค์ประกอบ

การมีเป้าหมายในชีวิต

ประเด็นการวัด

• การมีความหมายในชีวิต/การทำงาน

• ความเชื่อในการมีเป้าหมายของชีวิต

• การดำเนินชีวิตอย่างมีความหมาย

องค์ประกอบ

ประสบการณ์ทางจิตวิญญาณ

ประเด็นการวัด

• ความรู้สึกที่มีต่อพระเจ้า สิ่งศักดิ์สิทธิ์ สิ่งเหนือธรรมชาติ

• การมีความรู้สึกว่าได้รับการให้อภัย ดูแลรักษา แก้ไขปัญหาจากพระเจ้า สิ่งศักดิ์สิทธิ์ สื่งเหนือธรรมชาติ

• ประสบการณ์การเข้าร่วมทางศาสนา

องค์ประกอบ

ความเชื่อพลังบางสิ่งเหนือธรรมชาติ

ประเด็นการวัด

• ตระหนักใน ความจริง สิ่งที่อยู่เหนือธรรมชาติ ได้แก่พระเจ้า สิ่งศักดิ์สิทธิ์จักรวาล

• ความเชื่อในแนวทางของศาสนา

องค์ประกอบ

ความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น

ประเด็นการวัด

• การเชื่อมโยงทางบวกกับผู้อื่น

• การรู้สึกเป็นหนึ่งเดียวกับผู้อื่น กลุ่ม องค์การ

• การเข้าใจความรู้สึกความต้องการของผู้อื่น

• การช่วยเหลือผู้อื่น

• ค่านิยมกลุ่ม องค์การ

องค์ประกอบ

ความสุขทางจิตวิญญาณ

ประเด็นการวัด

• ความสุขด้านศาสนา

• ความพึงพอใจในชีวิต/การทำงาน