การสร้างเครื่องมือประเมินและตัวชี้วัดระดับการพัฒนาจิตวิญญาณ สำหรับบุคลากรด้านสาธารณสุข (14)

ผู้แต่ง

ชนิกา เจริญจิตต์กุล (2547)

นิยามความผาสุกทางจิตวิญญาณ

ความคิด ความรู้สึก และพฤติกรรม ที่แสดงให้เห็นว่าเกิดปัญญา การหยั่งรู้ เข้าใจความจริงของชีวิต ค้นพบเป้าหมายความหมายของชีวิต มีดุลยภาพในความสัมพันธ์ภายในตนเอง ความสัมพันธ์กับบุคคล สิ่งแวดล้อม และหรือพลังเหนือธรรมชาติ สงบ มีความสุข มีความเข้าใจในตนเอง เข้าใจในธรรมชาติและความเป็นจริงในชีวิต มีพลังใจที่เข้มแข็ง สร้างสรรค์ มีพลังภายใน (Inner strength) พลังอำนาจ (Power) ความศรัทธา ความหวัง ความกล้าหาญ เพิ่มความสามารถทำให้อยู่เหนือภาวะเหนือตนเองได้ และดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างเป็นสุข

ผู้แต่ง

Paloutzian & Ellison (1991)

นิยามความผาสุกทางจิตวิญญาณ

People’s perception of the quality of their spiritual life includes both a horizontal component (purpose and meaning in life) and a vertical component (a sense of a relationship with God or a spiritual being).

แนวคิดสำคัญของความผาสุกทางจิตวิญญาณที่ปรากฏให้เห็นจากนิยามข้างต้นประกอบไปด้วย

1. การหยั่งรู้และเข้าใจความจริงของชีวิต

2. เข้าใจในธรรมชาติ

3. เข้าใจในตนเอง

4. ค้นพบเป้าหมายความหมายของชีวิต

5. มีดุลยภาพในความสัมพันธ์ภายในตนเอง

6. ความสัมพันธ์กับบุคคล สิ่งแวดล้อม และหรือพลังเหนือธรรมชาติ

7. ความสงบ

8. มีพลังใจที่เข้มแข็ง สร้างสรรค์

9. มีพลังภายใน (Inner strength) พลังอำนาจ (Power)

10. ความศรัทธา

11. ความหวัง

12. ความกล้าหาญ

13. ดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างเป็นสุข

จากแนวคิดสำคัญทั้ง 13 ข้อ พิจารณาได้ว่าการนิยามความผาสุกทางจิตวิญญาณมีทั้งในส่วนที่

เกี่ยวข้องกับตัวบุคคลโดยตรงและสิ่งรอบข้างตัวบุคคลดังนี้

ส่วนที่เกี่ยวข้องกับตัวบุคคล

1. การหยั่งรู้และเข้าใจความจริงของชีวิต

2. การเข้าใจในตนเอง

3. การค้นพบเป้าหมายความหมายของชีวิต

4. การมีพลังใจที่เข้มแข็ง สร้างสรรค์

5. การมีพลังภายใน (Inner strength)

6. การมีพลังอำนาจ (Power)

7. ความศรัทธา

8. ความหวัง

9. ความกล้าหาญ

10. ความสงบ

11. การดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างเป็นสุข

ส่วนที่เกี่ยวข้องกับสิ่งรอบข้าง

1. การเข้าใจในธรรมชาติ

2. การมีดุลยภาพในความสัมพันธ์ภายในตนเอง ความสัมพันธ์กับบุคคล สิ่งแวดล้อม และหรือพลังเหนือธรรมชาติ

ดังนั้น ภาวะความผาสุกทางจิตวิญญาณจึงมิได้เป็นเพียงภาวะภายในตัวบุคคลเท่านั้นแต่ยังรวมถึงภาวะที่เชื่อมโยงกับสิ่งต่างๆรอบข้างทั้งบุคคลอื่นและสิ่งแวดล้อมภายนอกอีกด้วย นั่นคือ ความผาสุกทางจิตวิญญาณเป็นภาวะที่บุคคลมีการหยั่งรู้ เข้าใจความจริงของชีวิต เข้าใจในตนเอง มีเป้าหมายในชีวิต มีพลังใจที่เป็นพลังภายในที่มีอำนาจ สร้างสรรค์ และเข้มแข็ง มีความศรัทธา ความหวังในชีวิต กล้าหาญ นอกจากนี้ยังเป็นภาวะที่บุคคลมีความเข้าใจในธรรมชาติ และมีดุลยภาพในความสัมพันธ์ภายในตนเอง ความสัมพันธ์กับผู้อื่นสิ่งแวดล้อมหรือพลังเหนือธรรมชาติอีกด้วย ภาวะหล่านี้ทำให้บุคคลพบกับความสงบและดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างเป็นสุข