สำหรับรูปแบบ ๑ และรูปแบบ ๔ นั้น การกระทำด้านจิตวิญญาณมีสถานะพิเศษ นั่นคือ เป็นการกระทำที่ส่งผลอย่างสำคัญต่อภาวะด้านต่าง ๆ ถ้าจะกล่าวให้ชัด การกระทำด้านจิตวิญญาณ มีอิทธิพลต่อภาวะด้านจิตวิญญาณ และภาวะด้านนี้ก็มีอิทธิพลต่อภาวะด้านอื่น ๆ (และ/หรือ การกระทำด้านอื่น ๆ)
ตามความเข้าใจนี้ จะขอกลับไปพิจารณารูปแบบต่าง ๆ ข้างต้นอีกครั้ง
รูปแบบ ๑ : ตามรูปแบบนี้ “ปัญญา” (หรือ “จิตวิญญาณ” ) เป็นสมรรถนะที่กระทำการตามลักษณะเฉพาะของตน นั่นคือ รู้และเรียนรู้ ถ้าสมรรถนะด้านจิตวิญญาณนี้ทำงานดี ก็จะไม่ส่งผลให้มีภาวะดีด้านจิตวิญญาณเท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อภาวะ/สมรรถนะด้านอื่น ๆ ด้วย และภาวะ/สมรรถนะด้านอื่น ๆ
รูปแบบที่ ๓ : ภิรมย์ กมลรัตนกุล และวิโรจน์ เจียมจรัสรังสี เห็นว่า “ความสามารถในการจัดการควบคุมและพัฒนาสุขภาพ” เป็นสมรรถนะที่จะช่วยให้บุคคลมีภาวการณ์ดำรงอยู่ที่มีคุณสมบัติดีโดยภาวะการดำรงอยู่นี้ก็คือผลรวมของภาวะด้านต่าง ๆ มีข้อสังเกตว่าหากยึดถือตามนิยามของ ภิรมย์ กมลรัตนกุล และวิโรจน์ เจียมจรัสรังสี ความสามารถที่ว่านี้จัดอยู่ในด้านจิตใจ (นั่นคือ เป็น “สติปัญญา – intellectual” ซึ่งตามมาตรฐานทั่วไปถือเป็นมิติหนึ่งของจิตใจนอกเหนือจาก “อารมณ์ – emotional” เนื่องจากทั้งสองท่านเห็นว่าการพัฒนาความสามารถดังกล่าวนั้นอาศัยวิธีการให้ความรู้และสร้างความตระหนัก
รูปแบบที่ ๔ : ถ้าพิจารณาจากคำของ โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ ที่ว่า “if you know the why of your life, you can live with any what and hoe (2003:8).” จิตวิญญาณก็ดูจะเป็นสมรรถนะที่มีลักษณะพิเศษเป็นอย่างยิ่ง นั่นคือ ดูจะสามารถกำหนดคุณสมบัติของภาวะของตนเองได้อย่างไม่ถูกกำหนดโดยคุณสมบัติของภาวะด้านอื่น ๆ แบบเป็นเส้นตรง เช่น ถ้าภาวะด้านอื่น ๆ มีคุณสมบัติไม่ดี (เช่น ในผู้ป่วยเอดส์) ภาวะทางจิตวิญญาณของบุคคลก็อาจจะดีก็ได้ ทั้งนี้ก็เพราะสมรรถนะด้านจิตวิญญาณเป็นผู้ให้ความหมาย และภาวะเดียวกันก็อาจมีความหมายต่างกันไปได้ขึ้นกับ “the why” ที่สมรรถนะด้านจิตวิญญาณเป็นผู้เลือกและนำมาใช้
ในจุดนี้ทำให้มีข้อสงสัยเกี่ยวกับความหมายของ “จิตวิญญาณ” อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาแล้วพบว่า “จิตวิญญาณ” ที่ท่านเหล่านี้ใช้มีองค์ประกอบร่วมกันคือเป็นเรื่องของความหมายโดยรวมของชีวิตและสัมพันธ์กับการเลือกคุณค่าเป็นเป้าหมาย นั่นคือ ประเวศ วะสี เห็นว่าจิตวิญญาณด้านหนึ่งที่เรียกว่า “ปัญญารู้เท่าทัน” นั้นครอบคลุมถึงระดับโลกทัศน์และวิธีคิด ขณะที่ภิรมย์ กมลรัตนกุล และวิโรจน์ เจียมจรัสรังสี เห็นว่าจิตวิญญาณเป็นเรื่องของการค้นพบและเรียบเรียงความคิด ซึ่งเข้าใจว่าเป็นการเรียบเรียงเพื่อให้เห็นภาพรวม โดยภาพรวมนั้นสัมพันธ์กับเป้าหมายของชีวิต และโกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ เห็นว่าจิตวิญญาณก็คือเรื่องของ “the why” ดังกล่าวแล้ว
นอกจากนี้ยังมีข้อสงสัยเกี่ยวกับบทบาทของจิตวิญญาณ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเห็นว่าสำหรับภิรมย์ กมลรัตนกุล และวิโรจน์ เจียมจรัสรังสีแล้ว สติปัญญาดูจะเป็นสมรรถนะที่มีบทบาทที่ประเวศ วะสี และโกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ เห็นว่าเป็นบทบาทของจิตวิญญาณ นั่นคือ การจัดการกับภาวการณ์ดำรงอยู่ อย่างไรก็ตาม อาจอธิบายว่าจิตวิญญาณซึ่งเป็นการเห็นความหมายและเลือกคุณค่าเป็นเรื่องที่สูงไปกว่าการคิดระดับสติปัญญา แต่ตัวจิตวิญญาณเองก็ต้องอาศัยการคิดระดับนี้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้