ไม่กี่ปีที่ผ่านมาเมื่อผู้คนติดอยู่ในกำแพงของการกำหนดให้ส้นสูงและของเล่นสีชมพูเป็นของขวัญสำหรับเด็กผู้หญิง ส่วนเกมและของเล่นวิทยาศาสตร์เป็นของเล่นสำหรับเด็กผู้ชาย Olivia Dickinson ที่ปรึกษาทางด้านดิจิตอลในกรุงลอนดอนจึงตัดสินใจที่จะผลักดันการต่อต้านแบบแผนเหมารวมเหล่านี้ที่จำกัดเด็กๆ อยู่ จนกระทั่งปี 2012 เกิดเป็นแคมเปญ “Let Toys Be Toys” ที่ใช้สื่อทางสังคมชักชวนให้ร้านค้าขายสินค้าที่เปิดกว้าง โดยการยกเลิกการติดฉลาก “สำหรับเด็กผู้ชาย” หรือ “สำหรับเด็กผู้หญิง” ต่อมาในปี 2014 ทีมของ Dickinson พุ่งเป้าไปที่หนังสือ แคมเปญ Let Books Be Books ขอให้หนังสือยกเลิกป้ายกำกับ “ชาย” หรือ “หญิง” ออกจากปก ตามบรรทัดฐานเดิมๆ ที่มองว่าเรื่องราวของเจ้าหญิงเป็นของเด็กผู้หญิงและเรื่องราวการผจญภัยเป็นของเด็กผู้ชาย
การศึกษาของ Brigham Young University ในสหรัฐอเมริกา ปี 2016 พบว่า วัฒนธรรมเจ้าหญิง เป็นเครื่องมือหลักที่ช่วยเสริมการจำกัดรูปแบบเพศ ปัจจุบันทีมของ Dickinson กำลังผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในโรงเรียน “เราได้ยินเรื่องราวมากมายเกี่ยวกับวิธีที่เด็กๆ ได้รับการปฏิบัติจากครูและเพื่อนๆ”
เด็กผู้ชายคนหนึ่งพบว่าเขาไม่สามารถไปเล่นที่บ้านของ Wendy ได้หรือเด็กชายบางคนบอกเด็กผู้หญิงว่าหุ่นยนต์ไม่ใช่ของเล่นสำหรับเธอ แม้กระทั่งการสื่อสารที่แยบยลขึ้นในชั้นเรียนอย่างการยกตัวอย่างนักวิทยาศาสตร์เพศชาย การแยกของเล่นและกิจกรรม ตลอดจนการกำหนดงานตามเพศสภาพ เช่น เด็กผู้ชายไปซ้อนเก้าอี้ ส่วนเด็กผู้หญิงไปดูแลสัตว์หลังเลิกเรียน เธอไม่ตำหนิครูผู้สอนที่ได้เสริมสร้างทัศนคติแบบไม่ตั้งใจ เพราะบรรทัดฐานทางเพศฝังแน่นในสังคมของเรา มันต้องใช้เวลาและความพยายามในการตรวจจับและสร้างการตระหนักรู้ Dickinson สนับสนุนให้ครูทุกคนตรวจสอบตัวเองและภาษาของตนเองเป็นประจำ อีกทั้งรณรงค์ให้แสดงผลกระทบของการกำหนดรูปแบบเพศให้ชัดเจนขึ้นในหลักสูตร โดยเน้นเรื่องภาษาเกี่ยวกับเพศในหลักสูตรภาษาอังกฤษ นอกจากนี้ ยังมีบทเรียนสำหรับเด็กปฐมวัย เด็กในวัยเรียน และมองการสร้างบทเรียนสำหรับชุมชนต่อไปในอนาคตด้วย