การขับเคลื่อนกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (6)

เป็นผู้คัดเลือกคนเข้าวงได้เองทุกคน อย่างไรก็ตาม เห็นภาพการกำหนดลักษณะผู้เข้าร่วม (criteria) แบบกว้างๆในการจัดวง ลปรร.ระดับจังหวัด เช่น เป็นผู้ทำงานหรือรับผิดชอบงานภายใต้ประเด็นนั้นในรพ.สต. จาก CUP แต่ละแห่ง เป็นผู้มีผลงานหรือมีนวัตกรรมในประเด็นที่จะใช้ในการพูดคุย หรือแม้แต่กำหนดโควต้าผู้เข้าร่วม

• วิธีการค้นหา คัดเลือก และทำให้มั่นใจว่าเป็นผู้มีประสบการณ์ตรงในประเด็นพูดคุย

– ส่งจดหมายเป็นทางการไปยังหัวหน้างานตามโครงสร้างสายงานบังคับบัญชา คัดเลือกเจ้าหน้าที่ที่มีประสบการณ์ตามคุณสมบัติที่ระบุเพื่อเข้าร่วมวง

– ส่ง SMS ทางโทรศัพท์มือถือ ให้ อสม. ตัวหลักบอกต่อ อสม. คนอื่นๆ เข้าร่วมวง

– ลงพื้นที่เพื่อให้เห็นวิธีทำงานจริงด้วยตนเอง

– สอบถามผู้เกี่ยวข้องเพิ่มเติมถึงวิธีทำงานของเจ้าหน้าที่ผู้นั้น

“…ตัวเองเป็นคน mapping คือระดับอำเภอ พอพี่บุษตั้งวงแบบนี้ พี่ต้องเป็นผู้ที่คัดเลือกว่าจะเอาใครเข้ามาทำเรื่องต่างๆ เหล่านี้ ตามที่พี่บุษให้หัวปลาไว้ 5-6 เรื่อง พี่จะต้องคุยจีบกับหัวหน้า รพ.สต.ว่า ของรพ.สต.ของน้องมีใครที่เก่งที่สุด และเก่งในเรื่องอะไรบ้าง เขาก็มองภาพออกว่าใครเก่ง เขาก็ชี้นำมาเลยว่า คนนี้เก่งเรื่องเบาหวาน ตอนเที่ยงๆพี่ก็ขับรถจาก สสอ.ไปที่อนามัยนี้ ไปเข้าจีบน้องเขาเลยว่า น้องทำเบาหวานเป็นอย่างไร มีคนไข้เยอะไหม คุยกับเขา และก็ร่วมกินข้าวกับเขาด้วย ก็บอกเขาว่าพี่จะตั้งวงแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันนะ และก็น้องพอที่จะเล่าเรื่องราวที่น้องจะประสบความสำเร็จเป็นวิธีการให้พี่ฟังได้ไหม เล่าเป็น series ให้พี่ฟังได้ไหม เล่าว่าน้องทำงานอย่างไร มีวิธีการอย่างไร ตอนแรกๆ น้องเขาเขินๆ เล่าไม่ได้ เราก็บอกว่าน้องเก่งมากเก่งจริงๆ และน้องถนัดในเรื่องนี้ เขาก็จะเขียนมาให้เราเลย เราก็จะทำลักษณะแบบนี้ทุก รพ.สต. 17 รพ.สต. จนกระทั่งพี่ได้เรื่องทั้งหมด 17 เรื่อง แต่ละเรื่องอาจจะซ้ำกันบ้าง แล้วพี่ก็เอาเรื่องทั้งหมดที่เขาเขียนมา มานั่งอ่านก่อน และพี่ก็ทราบว่าเรื่องที่เขาเขียนแต่ละเรื่องมันควรจะอยู่ในหัวข้อไหนที่พี่บุษ ตั้งหัวปลาเอาไว้ หลังจากนั้นพี่ก็จะอ่านและพี่บุษก็ทำอย่างนี้แหละค่ะ ทุกแห่งก็ทำอย่างนี้ facilitator ทั้ง 9 คนก็มาคุยกันว่า เรื่องนี้น่าจะอยู่เรื่องนี้ บางทีเขาเขียนเรื่องเบาหวานแต่ว่าไม่ใช่เป็นเรื่องของการกินยา ไม่ใช่เรื่องการรักษา แต่เป็นเรื่องการทำแผลเบาหวาน เราก็ต้องจัดให้เข้ากลุ่มแต่ละกลุ่ม หลังจากนั้นก็จะได้ครบกลุ่มอย่างที่ตั้งไว้…”

ศจี ชูศรี สสอ.เมือง จ.ระนอง

“…เราเห็นคนไข้มารอพยาบาลคนนี้ให้เจาะเลือด เราก็คิดว่ามีอะไรดีๆในพยาบาลคนนี้พอสมควรเขาถึงรอ ก็คิดว่าเราคุยกันดีไหม ว่าทำไมเราจะเจาะเลือดได้ดีขึ้น ก็ไปคุยกับทีม facilitator ที่เราเคยทำเอาไว้ ว่าเราอยากทำเรื่องนี้ เริ่มต้น mapping คนเข้า เราก็เอามาจากหัวหน้า ER และพยาบาลในคลีนิคที่เจาะเลือดหน้าห้องแลป หากินด้วยการเจาะเลือดมาตลอด เอาคนที่เจาะดี เป็นมือหนึ่งของแต่ละที่ เราจะรู้กันเองเวลาเราไปเจาะเลือด…”

สถิต สายแก้ว รพ.ราษีไศล จ.ศรีสะเกษ

“…ได้ประเด็นแล้ว ก็กำหนดคนเล่าเรื่อง เอา ต.คลองเรือที่ประสบความสำเร็จมาเล่า มี อบต.ที่สนับสนุนงบประมาณ เราเจาะไปที่คนป่วยโรคเรื้อรัง คนที่เข้ามาเป็นนายกองค์การบริหารส่วนตำบล คนทำเรื่องสุขภาพจิต แล้วก็แกนนำที่ดำเนินการทำกิจกรรมในชุมชน มี 4 คนที่มาเล่าเรื่อง อบต. 1 เจ้าหน้าที่ 1 อสม.2 สำหรับคนเข้าร่วม เนื่องจากทุก รพ.สต. ต้องทำเรื่องสุขภาพจิต แล้วทุกที่มีปัญหาฆ่าตัวตาย เราก็กำหนดว่า คนเข้าเป็นเจ้าหน้าที่ รพ.สต.ที่ทำเรื่องสุขภาพจิต เลือก อสม.ที่มีแววเรื่องจิตอาสา เรากำหนดเกณฑ์ในการเข้าร่วม แต่ว่าให้แต่ละ รพ.สต.เลือกคนเข้ามาเอง…”

สุมาลี คุ้มสุวรรณ รพ.สต.คลองเรือ อ.วิหารแดง จ.สระบุรี

“…ได้ประเด็นแล้ว ตัวเองซึ่งทำหน้าที่เป็น KM PM แล้วก็เป็น fa. ด้วย ก็ไป mapping ว่าที่ไหนทำหมู่บ้านปรับเปลี่ยนได้อย่างดี ก็ไปเตรียมงาน พูดคุย ให้เป็นคนเล่าหลัก สำหรับคนเข้าร่วม ก็ขอให้สาธารณสุขอำเภอพูดในที่ประชุมว่า อยากให้ทุก รพ.สต.เข้าร่วมกระบวนการนี้ โดยให้ ผอ.รพ.สต.เลือกคนที่จะเข้าร่วมกระบวนการแห่งละ 2 คน และต้องเป็นคนที่มีประสบการณ์เกี่ยวกับการปรับพฤติกรรมสุขภาพ…”

ศิรินทิพย์ ธรรมสกุล รพ.สต.ท่าสะท้อน อ.พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานี

“…เราได้ชื่อแล้ว เราก็ส่ง SMS ไป บอกว่าขอเชิญพี่ๆ อสม. คนนี้ๆ นะ มาร่วมประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หัวข้อเรื่องการดูแลผู้ป่วยเบาหวานในชุมชน และก็ให้เตรียมเรื่องมา วันที่เท่าไหร่ เวลาไหน และช่วยส่งต่ออีก 8 คน ด้วย เราส่งไปที่ประธาน แล้วเค้าก็ไปประสานกันเอง ประธานหมู่ 2 พื้นที่ เขาจะเดินไปหา ขี่มอเตอร์ไซค์ไปหากัน บางคนก็บอกว่าหมอมีข้อความอันนี้มานะ จะไปประชุมนะ…”

ธัญลักษณ์ มุ่งเอื้อมกลาง รพ.สต.ท่าจาม อ.หนองใหญ่ จ.ชลบุรี

“…เนื่องจากคนที่เชิญมาเป็นพยาบาลมีความคุ้นเคยและพอรู้ว่าแต่ละคนเป็นอย่างไร ที่ตัวเองทำครั้งแรก เรียนท่านสาธารณสุขอำเภอ ท่านก็ไม่มีปัญหาท่านก็ให้ความร่วมมือ และโทรศัพท์ไปหาคนที่เราจะเชิญเข้ามาเป็นการส่วนตัว ทราบว่าคนนี้ดำเนินการเนื่องจากตัวเองดูแล รพ.สต. มานาน ก็ทราบว่าใครดำเนินการดูแลเรื่องนี้อยู่ ก็ถามว่าพี่ว่างไหม ทุกคนรู้ว่าเชิญมาวันนี้บอกอยากไปนะ แต่ติดประชุม ก็เลื่อนจะทุกคนพร้อมที่จะมา แต่ว่ามีพี่คนหนึ่งว่าพี่จะพูดได้ไหม มีพี่ รพ.สต.คนหนึ่งที่เขาทำอยู่ พี่กลัวพูดไม่ดีเท่าเขา คือตอนที่เขาบอกเรา เราก็บอกว่ามาเหอะ อยากให้พี่มาเล่าเรื่องการดูแลผู้สูงอายุให้ฟัง ทุกคนก็รับ และเราก็โทรไปบอก ทางรพ.สต. เนื่องจากด้วยความสนิทเป็นการส่วนตัว…”

ลักขณาภรณ์ เสนชัย รพ.หนองบัวระเหว จ.ชัยภูมิ